สถานีรถไฟหนองคาย

(เปลี่ยนทางจาก สถานีรถไฟหนองคายใหม่)

สถานีรถไฟหนองคาย เป็นสถานีรถไฟปลายทางของขบวนรถไฟโดยสารภายในประเทศในเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และเป็นสถานีสุดท้ายก่อนออกจากเขตประเทศไทย

หนองคาย

Nong Khai
บริเวณชานชาลาสถานีรถไฟหนองคาย
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งตำบลมีชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สาย
ชานชาลา2
ทางวิ่ง6
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ที่จอดรถด้านหลังสถานีรถไฟ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี2209 (นค.)
ประเภท1
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ5 มีนาคม พ.ศ. 2552 (15 ปี)
ชื่อเดิมหนองคายใหม่
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
นาทา สายตะวันออกเฉียงเหนือ เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)
สถานีปลายทาง
ที่ตั้ง
แผนที่

เป็นสถานีรถไฟประจำจังหวัดหนองคาย ซึ่งใช้แทนสถานี (ที่หยุดรถไฟ) ตลาดหนองคาย ที่เป็นสถานีรถไฟประจำจังหวัดเดิม

สถานีรถไฟหนองคายเป็นสถานีรถไฟแห่งเดียวในจังหวัดหนองคายที่ระดับสถานีรถไฟ เป็นระดับ 1 มีจำนวนย่านทางรถไฟ 4 ทาง เป็นทางหลัก 1 ทาง ทางหลีก 3 ทาง ในทางหลีกมีทางตัน 2 ทาง ทางติดชานชาลา 2 ทาง ทางเหนือของสถานี มีสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1 ที่เป็นชายแดนประเทศไทยกับประเทศลาว มีความยาว 1,170 เมตร ระหว่างกิโลเมตรที่ 623.00 ถึง 756.00 อยู่ระหว่างสถานีรถไฟหนองคาย กับสถานีรถไฟท่านาแล้ง

สถานีรถไฟหนองคาย เป็นสถานีรถไฟในเส้นทางรถไฟสายหนองคาย–เวียงจันทน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟผ่านทวีปเอเชียขององค์การสหประชาชาติ

สถานีรถไฟหนองคายเป็นสถานีหนึ่งในโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย ช่วงสถานีรถไฟนครราชสีมา – หนองคาย ใช้ชื่อ สถานีหนองคาย รหัสสถานี HNE11 เปิดใช้งานประมาณปี พ.ศ. 2573

ประวัติ

ตำแหน่งที่ตั้งสถานีรถไฟหนองคาย
ครั้งที่ วันเดินรถในนามสถานีรถไฟหนองคาย ตำแหน่งที่ตั้งในปัจจุบัน หมายเหตุ
1 13 กันยายน พ.ศ. 2498 - 1 มกราคม พ.ศ. 2501[1] เป็นที่ตั้งสถานีรถไฟนาทา ในปัจจุบัน
2 1 มกราคม พ.ศ. 2501 - ช่วงปี พ.ศ. 2545-2549 เป็นที่ตั้งที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย ในปัจจุบัน
3 ช่วงปี พ.ศ. 2545-2549 - ปัจจุบัน สถานีรถไฟหนองคาย ในปัจจุบัน[2]

สถานีรถไฟหนองคาย เป็นสถานีรถไฟปลายทางในเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนแล้วยังเป็นเส้นทางรถไฟสายหนองคาย–ท่านาแล้ง(เวียงจันทน์) จึงสร้างรางรถไฟไว้บริเวณกลางสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 จากนั้นได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยก่อสร้างทางรถไฟจากกลางสะพานมิตรภาพเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟหนองคายแห่งใหม่(ปัจจุบัน)

การก่อสถานีรถไฟหนองคาย (ปัจจุบัน)

ในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟผ่านทวีปเอเชียขององค์การสหประชาชาติ รัฐบาลไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญของกิจการรถไฟ ได้ดำเนินการก่อทางรถไฟสายหนองคาย(ใหม่)ท่านาแล้ง ให้มีการเปิดการเดินรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนให้มาหยุดปลายทางที่สถานีนี้ ช่วงปี พ.ศ. 2545 - 2549 และในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 หลังจากย้ายเส้นทางรถไฟเบนไปทางสะพานมิตรภาพ และปิดเส้นทาง/การเดินรถไปยังที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย ซึ่งได้มีการทดลองเดินรถครั้งแรกจากสถานีรถไฟหนองคาย ไปยังสถานีรถไฟท่านาแล้ง แล้วได้มีพิธีเปิดเดินรถปฐมฤกษ์และเปิดสถานีรถไฟหนองคาย(ใหม่)อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552 การนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จประทับรถไฟพระที่นั่งจากสถานีรถไฟอุดรธานีถึงหนองคาย เพื่อเป็นองค์ประธานในพิธีดังกล่าว จากนั้นพระองค์ประทับรถไฟพระที่นั่งจากสถานีรถไฟหนองคายไปยังสถานีรถไฟท่านาแล้งในประเทศลาว ตามคำกราบทูลบังคมทูลของบุนยัง วอละจิด รองประธานาธิบดีลาว แล้วจึงเสด็จกลับพระนคร[3]

ผลการสร้างสถานีรถไฟแห่งใหม่

ซึ่งผลของการเดินรถเส้นทางใหม่ที่เบนเส้นทางไปหาสะพานมิตรภาพนี้ เป็นเหตุทำให้ต้องสร้างสถานีรถไฟหนองคายแห่งใหม่(ปัจจุบัน) ใช้แทนสถานีรถไฟหนองคาย(เดิม) โดยใช้ชื่อสถานีรถไฟหนองคาย แล้วลดระดับและเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟตลาดหนองคาย(เดิม)เพื่อป้องกันความสับสนกับสถานีรถไฟหนองคาย(ปัจจุบัน) เป็นที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย แล้วมีการเปิดเดินรถไฟระหว่าง หนองคาย-ตลาดหนองคาย ช่วงปี พ.ศ. 2545-2551 จนในที่สุดในปี พ.ศ. 2551 ก็ยกเลิกการเดินรถไฟมาที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยนำที่ดินของที่หยุดรถไฟตลาดหนองคายจำนวน 30 ไร่ไปทำประโยชน์อื่นเพื่อสร้างรายได้[4]

การเชื่อมต่อสถานีท่านาแล้ง

มีการเดินรถในเส้นทางหนองคาย–ท่านาแล้งตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 ดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย เพราะประเทศลาวยังไม่มีกิจการรถไฟเป็นของตนเอง มีรถไฟสองขบวนไป-กลับระหว่างสถานีรถไฟหนองคายกับท่านาแล้งทุกวัน ระยะเวลาเดินทางราว 15 นาที ก่อนเดินทางต้องทำหนังสือผ่านแดนก่อนเดินทางทุกครั้ง[5] และยังมีขบวนรถไฟอีสเทิร์นแอนด์โอเรียนทัลเอ็กซ์เพรสให้บริการในบางโอกาส

มีการเปิดให้บริการขบวนรถโดยสารระหว่างประเทศกรุงเทพ–เวียงจันทน์ เที่ยวแรกในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เชื่อมต่อระหว่างไปถึงสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด)

ตารางเวลาการเดินรถ

เที่ยวไป

ขบวนรถ ต้นทาง หนองคาย ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ดพ25 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.25 ปลายทาง หนองคาย 06.25
ร133 กรุงเทพอภิวัฒน์ 21.25 07.55 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) 09.05
ท415 นครราชสีมา 06.20 ปลายทาง หนองคาย 12.10
ร147 อุดรธานี 16.00 16.40 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) 17.55
ด75 กรุงเทพอภิวัฒน์ 08.45 ปลายทาง หนองคาย 17.30
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวกลับ

ขบวนรถ ต้นทาง หนองคาย ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ด76 หนองคาย 07.45 ต้นทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ 16.35
ร148 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) 09.35 10.05 อุดรธานี 11.25
ท418 หนองคาย 12.55 ต้นทาง นครราชสีมา 18.35
ร134 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) 18.25 18.55 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.30
ดพ26 หนองคาย 19.40 ต้นทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ 05.50
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า


อ้างอิง

  1. คำสั่งทั่วไป ที่ ก.๑๑๒/๗๕๙๙ การรถไฟแห่งประเทศไทย เรื่อง ตั้งชื่อสถานีที่ต่อจากสถานีหนองคายไปสู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงว่าสถานี "หนองคาย" และเปลี่ยนชื่อสถานีหนองคายเดิม เป็นสถานี "นาทา" สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2562.
  2. หนองคาย สถานีรถไฟขนาดใหญ่ปลายทางในเขตไทยของสายอีสานตอนบน สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2562.
  3. “สมเด็จพระเทพฯ” เสด็จเปิดรถไฟไทย-ลาวปฐมฤกษ์ - ชาวลาวภูมิใจรถไฟสายประวัติศาสตร์เส้นทางแรก[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561.
  4. สั่งรถไฟเร่งแผนที่ดิน หลายแปลงมีลุ้นประมูล-ต่อสัญญารอบใหม่[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561.
  5. “สมเด็จพระเทพฯ” เสด็จเปิดรถไฟไทย-ลาวปฐมฤกษ์ - ชาวลาวภูมิใจรถไฟสายประวัติศาสตร์เส้นทางแรก[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561