ทางรถไฟสายหนองคาย–เวียงจันทน์
ทางรถไฟสายหนองคาย–เวียงจันทน์[1] เป็นทางรถไฟระหว่างประเทศที่เชื่อมประเทศไทยและประเทศลาว มีระยะทางทั้งหมด 13.96 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นจากสถานีรถไฟหนองคายข้ามสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 จนถึงสถานีปลายทางคือคำสะหวาด เคยเป็นเส้นทางรถไฟเพียงสายเดียวของประเทศลาว ตั้งแต่ พ.ศ. 2552–2564 มีระยะทาง 3.5 กิโลเมตรในเขตแดนของลาว[2][3][4]
ทางรถไฟสายหนองคาย–เวียงจันทน์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ขบวนรถไฟระหว่างประเทศ ขณะออกจากสถานีรถไฟท่านาแล้งมุ่งไปยังสถานีรถไฟหนองคาย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | จังหวัดหนองคาย ประเทศไทย นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปลายทาง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จำนวนสถานี | 3 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประวัติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เปิดเมื่อ | 5 มีนาคม พ.ศ. 2552 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทางเทคนิค | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระยะทาง | 13.96 กม. (8.67 ไมล์) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รางกว้าง | 1,000 mm (3 ft 3 3⁄8 in) มีเตอร์เกจ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ประวัติ
แก้ทางรถไฟสายหนองคาย–ท่านาแล้งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟผ่านทวีปเอเชียขององค์การสหประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2543 รัฐบาลไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญของกิจการรถไฟ จึงสร้างรางรถไฟไว้บริเวณกลางสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 จากนั้นได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยก่อสร้างทางรถไฟจากกลางสะพานมิตรภาพเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟหนองคายใหม่[2] เป็นระยะทาง 2.657 กิโลเมตร[5]
ทว่ารัฐบาลลาวประสบปัญหาเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในปี พ.ศ. 2540 การก่อสร้างจึงหยุดชะงักไป ทางรัฐบาลไทยจึงให้ความช่วยเหลือโดยการให้การรถไฟแห่งประเทศไทยว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบโครงการในปี พ.ศ. 2543 และสำเร็จในปี พ.ศ. 2544 โดยจะเป็นการสร้างเส้นทางรถไฟจากสะพานมิตรภาพไปยังบ้านดงโพสี เมืองหาดทรายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์เป็นระยะทาง 3.5 กิโลเมตร[2][3][4] จากนั้นจึงลงนามในสัญญารับการช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยในจำนวนวงเงิน 197 ล้านบาท ในจำนวนนี้ร้อยละ 30 เป็นเงินให้เปล่า ส่วนอีกร้อยละ 70 เป็นเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำ[2][3][4][6] เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549[2] ระหว่างการก่อสร้าง รัฐบาลลาวต้องทำการบุกเบิกพื้นที่ป่า โยกย้ายสิ่งกีดขวางออกจากแนวทางรถไฟ รวมทั้งเวนคืนที่ดินราษฎรบ้านดงโพสีออกไปสามหลัง ใช้งบประมาณ 15 ล้านกีบ และและมอบข้าวสารจำนวน 8.41 ตัน ชดเชยแก่ราษฎรที่ถูกเวนคืนพื้นที่ทำนา และใช้งบประมาณชดเชย 24,390,800 กีบ[2]
หลังการก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนเมษายน พ.ศ. 2551[2] ได้มีการทดลองเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551[4] และได้มีพิธีเปิดเดินรถปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552 การนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จประทับรถไฟพระที่นั่งจากสถานีรถไฟอุดรธานีถึงหนองคาย เพื่อเป็นองค์ประธานในพิธีดังกล่าว จากนั้นพระองค์ประทับรถไฟพระที่นั่งจากสถานีรถไฟหนองคายไปยังสถานีรถไฟท่านาแล้งในประเทศลาว ตามคำกราบทูลบังคมทูลของบุนยัง วอละจิด รองประธานาธิบดีลาว แล้วจึงเสด็จกลับ[7]
ผลของการเดินรถเส้นทางใหม่ที่เบนเส้นทางไปหาสะพานมิตรภาพนี้ ส่งผลให้สถานีหนองคาย (เก่า) เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีรถไฟตลาดหนองคาย เพื่อป้องกันการสับสนกับสถานีรถไฟหนองคาย (ใหม่) ภายหลังสถานีรถไฟตลาดหนองคายถูกยุบเป็นที่หยุดรถตลาดหนองคาย และยกเลิกการบริการเดินรถมายังที่หยุดตลาดหนองคายในปี พ.ศ. 2551 โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยนำที่ดินของที่หยุดรถหนองคายจำนวน 30 ไร่ไปทำประโยชน์อื่นเพื่อสร้างรายได้[8]
23 มีนาคม พ.ศ. 2560 มีพิธีส่งมอบเปิดใช้ส่วนต่อขยายระยะที่หนึ่ง สำหรับสร้างเส้นทางรถไฟและสถานีกองเก็บตู้สินค้าของสถานีรถไฟท่านาแล้ง ก่อสร้างด้วยวงเงิน 655.23 ล้านบาท[9][10]
เส้นทาง
แก้ทางรถไฟสายหนองคาย–ท่านาแล้งเป็นส่วนต่อขยายของเส้นทางทางรถไฟสายชุมทางถนนจิระ–หนองคายของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมีสถานีรถไฟหนองคายเป็นสถานีปลายทางของไทย เมื่อเดินรถผ่านกึ่งกลางของสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 ก็จะเข้าสู่พรมแดนของประเทศลาว และมีสถานีรถไฟเพียงแห่งเดียวในประเทศคือสถานีรถไฟท่านาแล้ง[11]
แม้จะมีการเดินรถระหว่างประเทศก็ตาม แต่ที่ตั้งของสถานีรถไฟท่านาแล้งนั้นอยู่ไกลจากตัวเมืองนครหลวงเวียงจันทน์พอสมควร เพราะถ้าหากใช้บริการรถไฟก็ต้องใช้บริการรถโดยสารเพื่อเดินทางออกจากบ้านดงโพสีไปยังนครหลวงเวียงจันทน์อีกทอดหนึ่ง ดังนั้นการเดินทางด้วยรถไฟสายนี้จึงไม่ได้รับความนิยมเท่าใด[12]
ปัจจุบันประเทศลาวมีโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายระยะที่สอง ก่อสร้างเส้นทางจากสถานีรถไฟท่านาแล้งไปยังสถานีรถไฟคำสะหวาด ระยะทาง 7.5 กิโลเมตร[9] ณ บ้านคำสะหวาด เมืองไชยเชษฐา นครหลวงเวียงจันทน์[13] ด้วยวงเงิน 994.68 ล้านบาท[9] ซึ่งตั้งอยู่ในย่านใจกลางเมืองหลวง ห่างจากพระธาตุหลวง อันเป็นจุดหมายตาสำคัญเพียง 4 กิโลเมตร[14] และห่างจากสถานีรถไฟนครหลวงเวียงจันทน์ ของทางรถไฟสายเวียงจันทน์–บ่อเต็น ที่บ้านไซ ราว 10 กิโลเมตร[15]
สถานี
แก้ทางรถไฟสายหนองคาย–เวียงจันทน์ ปัจจุบันประกอบไปด้วยสถานีสามสถานี ดังนี้
ชื่อสถานี / ที่หยุดรถ | รหัสสถานี | ระยะทางจาก กท. | ชั้นสถานี | ที่ตั้ง | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
เลข | ตัวย่อ | |||||
หนองคาย | 2208 | นค. | 621.10 | 2 | หนองคาย ประเทศไทย | เชื่อมต่อ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สายหลักหนองคาย |
ท่านาแล้ง | 7201 | ลล. | 626.58 | 2 | นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว | |
คำสะหวาด | 635.06 | 1 |
ทางแยกตลาดหนองคาย
แก้ทางแยกตลาดหนองคาย เดิมเป็นอดีตสถานีรถไฟประจำจังหวัดหนองคาย และส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (ชุมทางถนนจิระ–หนองคาย) แต่หลังการก่อสร้างสถานีรถไฟหนองคายแห่งใหม่ที่เบนเส้นทางตามสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่หนึ่ง จึงยุบสถานีรถไฟหนองคายแห่งเดิม เป็นที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย มีสถานีหนึ่งแห่งและที่หยุดรถไฟหนึ่งแห่ง[16] กระทั่ง พ.ศ. 2551 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ยกเลิกการเดินรถเข้าไปยังที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย
ชื่อสถานี / ที่หยุดรถ | รหัสสถานี | ระยะทางจาก กท. | ชั้นสถานี | ที่ตั้ง | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
เลข | ตัวย่อ | |||||
หนองคาย | 2208 | นค. | 621.10 | 1 | หนองคาย ประเทศไทย | |
2209 | ตง. | 623.58 | ที่หยุดรถ | ยกเลิก |
การเดินรถ
แก้มีการเดินรถในเส้นทางหนองคาย–ท่านาแล้งตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 ดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย เพราะประเทศลาวยังไม่มีกิจการรถไฟเป็นของตนเอง มีรถไฟสองขบวนไป-กลับระหว่างสถานีรถไฟหนองคายกับท่านาแล้งทุกวัน ระยะเวลาเดินทางราว 15 นาที ก่อนเดินทางต้องทำหนังสือผ่านแดนก่อนเดินทางทุกครั้ง[7] และยังมีขบวนรถไฟอีสเทิร์นแอนด์โอเรียนทัลเอ็กซ์เพรสให้บริการในบางโอกาส
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "พระราชบัญญัติ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลมีชัย และตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย เพื่อสร้างทางรถไฟสายหนองคาย–เวียงจันทน์ พ.ศ. 2540" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (66 ก): 13. 10 พฤศจิกายน 2540.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 "เปิดเดินรถไฟหนองคาย-ท่านาแล้ง 5 มี.ค.ความสำเร็จอีกขั้นของลาวจาก Land lock สู่ Land link". MGR Online. 25 กุมภาพันธ์ 2552. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 3.0 3.1 3.2 "Laos link launched". Railway Gazette (ภาษาอังกฤษ). 1 มีนาคม 2550. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 "Testing takes train into Laos". Railway Gazette (ภาษาอังกฤษ). 1 มีนาคม 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทย". การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-29. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เร่งเครื่องรถไฟไทย-ลาวเชื่อม"ท่านาแล้ง-เวียงจันทน์"รับเออีซี". ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. 16 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 7.0 7.1 ""สมเด็จพระเทพฯ" เสด็จเปิดรถไฟไทย-ลาวปฐมฤกษ์ - ชาวลาวภูมิใจรถไฟสายประวัติศาสตร์เส้นทางแรก". MGR Online. 5 มีนาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "สั่งรถไฟเร่งแผนที่ดิน หลายแปลงมีลุ้นประมูล-ต่อสัญญารอบใหม่". Home. 27 มิถุนายน 2556. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 9.0 9.1 9.2 "พิธีส่งมอบและเปิดใช้โครงการก่อสร้างทางรถไฟไทย-ลาว ระยะที่ 2 (ท่านาแล้ง-เวียงจันทน์)". สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์. 24 มีนาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-20. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ไทยขยับสร้างอีก 7.5 กม.ทางรถไฟช่วงสุดท้ายไปเวียงจันทร์ หลังเปิดใช้ช่วงใหม่คลังสินค้าท่านาแล้ง". MGR Online. 25 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "ไทย-ลาว เตรียมรับเสด็จฯ "สมเด็จพระเทพฯ" ทรงเปิดรถไฟปฐมฤกษ์". MGR Online. 4 มีนาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สุนันทา เจริญปัญญายิ่ง. "ทางรถไฟที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน". สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ลาวเตรียมสร้างทางรถไฟท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ภายในสิ้นปีนี้". ฐานเศรษฐกิจ. 29 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Rapeepat Mantanarat (2010-09-03). "Vientiane rail track on the way". TTR Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-25. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
- ↑ วรากรณ์ สามโกเศศ (28 ธันวาคม 2564). "ข้อมูล "รถไฟจีน-ลาว"". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ (บรรณาธิการบริหาร) (2562). สายย่อ (PDF). วารสารรถไฟสัมพันธ์ (4:2562). p. 8.