สถานีรถไฟตันจงปาการ์

สถานีรถไฟตันจงปาการ์ (จีน: 丹戎巴葛火车总站; มลายู: Stesen Keretapi Tanjong Pagar; อังกฤษ: Tanjong Pagar railway station; ทมิฬ: தஞ்சோங் பகார் ரயில் நிலையம்) หรือ สถานีรถไฟถนนเกปเปล หรือ สถานีรถไฟสิงคโปร์ เคยเป็นสถานีปลายทางฝั่งใต้ของรถไฟระหว่างเมืองของเคทีเอ็ม ดำเนินการโดย เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู ปิดทำการไปเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2011[1][2] อาคารสถานีได้รับการจดทะเบียนให้เป็นอนุสรณ์แห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 2011 เป็นสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งแสดงออกถึงความสัมพันธ์มาเลเซีย–สิงคโปร์เป็นอย่างดี

ตันจงปาการ์
อดีตสถานีรถไฟระหว่างเมือง
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออื่นสิงคโปร์
ถนนเกปเปล
ที่ตั้ง30 ถนนเกปเปล ประเทศสิงคโปร์
พิกัด1°16′22″N 103°50′17″E / 1.27278°N 103.83806°E / 1.27278; 103.83806
เจ้าของการที่ดินสิงคโปร์
สายเดิมเป็นส่วนหนึ่งของสายชายฝั่งทะเลตะวันตก (เหนือ–ใต้)
ชานชาลา3 (1 ชานชาลาเกาะกลาง, 2 ชานชาลาด้านข้าง)
ราง3
โครงสร้าง
รูปแบบสถาปัตยกรรมอาร์ตเดโค
ข้อมูลอื่น
สถานะอนุสรณ์สถานในราชกิจจานุเบกษา แห่งคณะกรรมการมรดกแห่งชาติสิงคโปร์
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ3 พฤษภาคม 1932; 91 ปีก่อน (1932-05-03)
ปิดให้บริการ1 กรกฎาคม 2011; 12 ปีก่อน (2011-07-01)
บริษัทเดิมเกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู
ขบวนในอดีต
สถานีก่อนหน้า การรถไฟมาลายา สถานีต่อไป
บูกิตติมาห์
มุ่งหน้า ปาดังเบซาร์
สายเหนือ–ใต้ สถานีปลายทาง
ขึ้นเมื่อ9 เมษายน 2011; 13 ปีก่อน (2011-04-09)
เลขอ้างอิง64

การยุติการให้บริการ แก้

 
ป้ายประกาศเกี่ยวกับการยกเลิกสถานีรถไฟตันจงปาการ์ ถ่ายเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2011

จากข้อตกลงระหว่างมาเลเซีย–สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 ส่งผลให้สถานีรถไฟแห่งนี้ ปิดทำการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 และย้ายสถานีปลายทางไปที่จุดผ่านรถไฟวุดแลนด์ ส่วนสถานีรถไฟตันจงปาการ์แห่งนี้ จะปรับเปลี่ยนไปเป็นพิพิธภัณฑ์ ซึ่งแผนการปิดสถานีรถไฟตันจงปาการ์ ได้มีการวางแผนมา 20 ปีแล้ว

ประวัติ แก้

ก่อนที่ทางด่วนยะโฮร์-บาห์รูจะเปิดใช้งาน ทางรถไฟมีจำกัดเฉพาะบนเกาะสิงคโปร์เท่านั้น ภายหลังจากที่มีการเปิดใช้งานสะพานถนนเชื่อมในปี ค.ศ. 1919 จึงมีรถไฟสินค้าวิ่งให้บริการระหว่างประเทศครั้งแรกวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1923 และเปิดเดินรถไฟโดยสารในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1923 ส่วนสถานีรถไฟตันจงปาการ์ ได้เริ่มเปิดใช้งานวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1932 เปิดทำการมานานกว่า 79 ปี และได้ปิดตัวลงเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 ก่อนที่จะกลายเป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟสิงคโปร์

สถาปัตยกรรม แก้

ระเบียงภาพสถาปัตยกรรมของสถานีรถไฟตันจงปาการ์
รูปแกะสลักหินอ่อน
ภายในอาคารสถานี
ภาพวาดแสดงความสัมพันธ์มาเลเซีย–สิงคโปร์

สถานีรถไฟตันจงปาการ์ มีรูปแบบงานศิลปะแบบอลังการศิลป์ ด้านหน้ามีเสารูปปั้นแกะสลัก 4 เสา แสดงถึงเกษตรกรรม, อุตสาหกรรม, การค้าขาย และการขนส่ง งานชิ้นนี้ออกแบบโดยรูดูลโฟ นอลลี[3][4] หลังคาอาคารเป็นเพดานทรงโค้ง ในโถงอาคารมีจะภาพวาดแสดงความสัมพันธ์มาเลเซีย–สิงคโปร์ ติดอยู่ตามผนัง[5]

ขบวนรถไฟที่เคยให้บริการ แก้

เคยมีขบวนรถไฟระหว่างเมืองของเคทีเอ็มวิ่งให้บริการระหว่างกัวลาลัมเปอร์สิงคโปร์ 6 วันต่อขบวน นอกจากนี้ยังเคยมีขบวนรถไฟรับ-ส่งระยะสั้นระหว่างโจโฮร์บะฮ์รูสิงคโปร์อีกด้วย รถไฟทุกขบวนยุติการให้บริการที่สถานีนี้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 และย้ายไปสถานีปลายทางไปที่จุดผ่านรถไฟวุดแลนด์

มีสถานีรถไฟฟ้าสองแห่ง อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟตันจงปาการ์ ได้แก่ สถานีตันจงปาการ์ และสถานีออตรัมปาร์ก โดยอยู่ห่างจากที่นี่ไปประมาณ 1 กิโลเมตร

ปัญหาพรมแดน แก้

เมื่อสิงคโปร์ประกาศเอกราชจากมาเลเซียในปี ค.ศ. 1965 ทำให้ไม่มีด่านตรวจคนเข้าเมืองทั้งสองประเทศเป็นเวลานานระยะหนึ่ง[6] ดังนั้น จึงมีการเปิดใช้งานด่านตรวจคนเข้าเมือง สำหรับรถไฟ ที่สถานีรถไฟตันจงปาการ์ และสำหรับถนน ที่ด่านวุดแลนด์ เนื่องจากการมีด่านตรวจคนเข้าเมืองที่แยกจากกัน ทำให้เกิดความยากลำบาก ส่งผลให้ต้องปิดทำการสถานีรถไฟตันจงปาการ์แห่งนี้ และเปลี่ยนปลายทางไปที่จุดผ่านรถไฟวุดแลนด์แทน

เหตุการณ์สำคัญ แก้

หลังจากที่มีการรื้อถอนทางรถไฟออกหมดเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2012 อาคารสถานีได้ถูกนำมาเป็นสถานที่จัดแสดงงานแฟชั่น อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น สถานีรถไฟแห่งนี้ก็ไม่เคยเปิดให้ผู้คนภายนอกเข้าไปข้างในได้อีกเลย

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Squatters on KTM land to be evicted". The Sun. Kuala Lumpur. 28 March 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2015-07-10.
  2. "Tg Pagar railway land was leased to KTM". The Star. Kuala Lumpur. 29 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-14. สืบค้นเมื่อ 2021-10-01.
  3. http://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Statues_by_Rodolfo_Nolli
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2015-07-10.
  5. Yong, Chun Yuan (2007). "Tanjong Pagar Railway Station". Singapore Infopedia. National Library Board (Singapore). สืบค้นเมื่อ 9 March 2015.
  6. "History of Singapore Immigration". Immigration & Checkpoints Authority, Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 6, 2003. สืบค้นเมื่อ 11 September 2006.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้