สถานีย่อย:ประเทศฝรั่งเศส/รวมบทความแนะนำ

พฤษภาคม พ.ศ. 2551 แก้

 

รัฐสภาฝรั่งเศส (Parlement français) เป็นสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติในระบบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส โดยยึดระบบสองสภา (Bicamérisme) ซึ่งประกอบไปด้วย

  • สภาสูง (Chambre haute) หรือเรียกว่า วุฒิสภา (Sénat) ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้แทนท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม
  • สภาล่าง (Chambre basse) หรือเรียกว่า สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée nationale française) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งคือชาวฝรั่งเศสทั้งหญิงและชาย มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามที่กฎหมายกำหนด

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง (Conditions de candidature et d'éligibilité) มีดังนี้

1. คุณสมบัติ (Eligibilité)

บุคคลสัญชาติฝรั่งเศสทั้งเพศหญิงและชายมีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง นอกจากคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว ยังต้องไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด

2. ลักษณะต้องห้าม (Inéligibilité)
2.1 ลักษณะต้องห้ามอันเกี่ยวข้องกับลักษณะบุคคล
• อยู่ภายใต้ความคุ้มครอง การควบคุมในทางปกครอง
• ต้องโทษมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
• ถูกประกาศให้เป็นบุคคลล้มละลาย ถูกห้ามมิให้บริหารงานรัฐวิสาหกิจ หรือต้องสะสางบัญชีทรัพย์สินตามคำสั่งศาล
• ไม่ได้เข้ารับการเกณฑ์ทหารตามกฎหมาย อ่านต่อ ...

เมษายน พ.ศ. 2551 แก้

 

ภาษาฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: français, อังกฤษ French) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาภาษาแม่ (ฟรองโกโฟน) ประมาณ 77 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 128 ล้านคน

ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และ สหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไทย

ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน ถูกแทรกซึมโดยอิทธิพลของภาษาอังกฤษที่แผ่ขยายอย่างกว้างขวาง มีการนำคำภาษาอังกฤษมาใช้่ปะปนกับภาษาฝรั่งเศสเดิมอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีผลเสียต่อการอนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส รัฐบาลได้ออกกฎหมายบางฉบับเพื่ออนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส โดยกำหนดให้ใช้คำจากภาษาฝรั่งเศสแท้ๆ ในโฆษณา ประกาศ และเอกสารราชการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังกำหนดให้สถานีวิทยุทุกสถานี เปิดเพลงภาษาฝรั่งเศสอย่างน้อยร้อยละ 40 ของเพลงทั้งหมดที่เปิดในสถานีนั้น

ฝรั่งเศสกำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการของประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลกำหนดให้เอกสารราชการ สัญญาต่าง ๆ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การศึกษา จะต้องทำเป็นภาษาฝรั่งเศส หากจำเป็นต้องใช้คำภาษาต่างประเทศ ก็ให้ใส่คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสควบคู่กันไปด้วย อ่านต่อ ...

มีนาคม พ.ศ. 2551 แก้

 

การเลือกตั้งในประเทศฝรั่งเศส เป็นกระบวนการทางประชาธิปไตยของประเทศฝรั่งเศส โดยที่ประเทศฝรั่งเศสปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบตัวแทน โดยข้าราชการฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติจะถูกเลือกตั้งโดยประชาชน (ทางตรงหรือทางอ้อม) ในบางโอกาสประชาชนยังมีส่วนร่วมในการลงประชามติอีกด้วย

ประเทศฝรั่งเศสมีเลือกตั้งในระดับประมุขของรัฐ (ประธานาธิบดี) และนิติบัญญัติ

  • ประธานาธิบดี (Président) ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนโดยมีวาระ 5 ปี
  • รัฐสภา (Parlement) มี 2 สภา
    • สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée Nationale) มีสมาชิก 577 คน ได้รับการเลือกตั้งทุกๆ 5 ปีในเขตเลือกตั้งเขตหนึ่งโดยตรงจากประชาชน
    • วุฒิสภา (Sénat) มีสมาชิก 321 คน
      • 304 คน ได้รับการเลือกตั้งจากคณะเลือกตั้งที่เป็นตัวแทนในแต่ละจังหวัด โดยมีวาระ 6 ปี
      • 5 คน ได้รับการเลือกตั้งจากเมืองขึ้น
      • 12 คน ได้รับการเลือกตั้งจากสมัชชาแห่งชาวฝรั่งเศสที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ (Assemblée des Français de l'étranger) ซึ่งสมาชิก 150 คนของสมัชชานั้นได้รับการเลือกตั้งจากผู้ที่อาศัยอยู่นอกประเทศ อ่านต่อ ...

กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 แก้

 

ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (Président de la République française) เป็นตำแหน่งประมุขของรัฐที่มาจากการเลือกตั้ง

4 ใน 5 สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่เคยมีมาได้มีประธานาธิบดีในตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ ซึ่งทำให้ระบอบประธานาธิบดีของประเทศฝรั่งเศสนั้น เป็นระบอบที่ยาวนานที่สุดที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ยุโรปประเทศหนึ่ง รัฐธรรมนูญในแต่สาธารณรัฐนั้น อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของประธานาธิบดีนั้นมีความแตกต่างกันไป ประธานาธิบดีฝรั่งเศสนั้นยังมีฐานะเป็นผู้ปกครองร่วมอันดอร์ราอีกด้วย

สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 นั้นเป็นการปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี ประธานาธิบดีเองก็มีอำนาจมากพอสมควรซึ่งไม่เหมือนกับประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรป แม้ว่าโดยส่วนมากการควบคุมดูแลและบัญญัติกฎหมายเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและรัฐสภา แต่ประธานาธิบดีก็มีอิทธิพลด้วย

อำนาจสูงสุดของประธานาธิบดีนั้นคือการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี แต่อย่างไรก็ตามรัฐสภาฝรั่งเศสก็มีอำนาจที่จะปลดคณะรัฐมนตรีได้ ทำให้ประธานาธิบดีเหมือนกับถูกบังคับให้เลือกนายกรัฐมนตรีที่รัฐสภาให้การสนับสนุน เมื่อไหร่ที่เสียงส่วนมากในรัฐสภามีความเห็นทางการเมืองตรงข้ามกับประธานาธิบดี ซึ่งจะทำให้เกิดการบริหารร่วมกัน เมื่อนั้นอำนาจประธานาธิบดีจะลดน้อยลง เนื่องจากอำนาจส่วนมากจะไปขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีและรัฐสภาแทน และอาจจะไม่สนับสนุนการแต่งตั้งของประธานาธิบดีอีกด้วย แต่เมื่อไหร่ที่เสียงส่วนมากในรัฐสภาสนับสนุนประธานาธิบดี ประธานาธิบดีก็จะมีบทบาทมากขึ้นและมีอิทธิพลต่อนโยบายการบริหารของรัฐบาล บทบาทของนายกรัฐมนตรีจึงลดลงและอาจถูกปลดออกจากตำแหน่งหรือเปลี่ยนคณะผู้บริหารถ้าไม่เป็นที่นิยม

ตั้งแต่พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา ประธานาธิบดีและรัฐสภามีวาระ 5 ปีและการเลือกตั้งทั้ง 2 ครั้งจะใกล้กัน ทำให้ความเป็นไปได้ของการบริหารร่วมกันนั้นมีความน้อยลง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนปัจจุบันคือ นิโกลาส์ ซาร์โกซี เข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2550