ศาลเจ้าเล่งจูเกียง

ศาลเจ้าเล่งจูเกียง (จีน: 靈慈宮)[3] หรือเป็นที่รู้จักในนาม ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว[1] เป็นศาลเจ้าตามคติจีนหนึ่งในสามแห่งของจังหวัดปัตตานี[4] ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานเดชานุชิตในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี[5] ถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดปัตตานีและใกล้เคียง[6] ภายในประดิษฐานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว (ภาษามลายูปัตตานีว่า โต๊ะแปะกงแมะ หรือโตะกงแมะ)[7][8] โดยมีตำนานที่ยึดโยงกับสถานที่และโบราณสถานอื่น ๆ ในจังหวัด[9][10]

ศาลเจ้าเล่งจูเกียง
靈慈宮
ศาสนา
ศาสนาศาสนาชาวบ้านจีน
จังหวัดจังหวัดปัตตานี
เทพเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
เทศกาลพิธีมหาสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวปัตตานี
หน่วยงานกำกับดูแลมูลนิธิเทพปูชนียสถาน (เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว)
ปีที่อุทิศพ.ศ. 2117[1][2]
ที่ตั้ง
ที่ตั้ง63 ถนนอาเนาะรู ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี[1]
ประเทศประเทศไทย
สถาปัตยกรรม
ประเภทสถาปัตยกรรมจีน
เสร็จสมบูรณ์พ.ศ. 2407[1][2]
ทิศทางด้านหน้าทิศใต้

ประวัติ แก้

ศาลเจ้าเล่งจูเกียงก่อตั้งขึ้นโดยชาวจีนในเมืองปัตตานีเมื่อปี พ.ศ. 2117 ยุคจักรพรรดิว่านลี่แห่งราชวงศ์หมิงตรงกับรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา เดิมมีชื่อว่าศาลเจ้าซูก๋ง เพราะมีโจ๊วซูก๋งหรือพระหมอเป็นเทพหลักของศาล ต่อมาได้รับการบูรณะและจัดงานสมโภชโดยหลวงสำเร็จกิจการจางวาง (ตันจงซิ่น) เมื่อปี พ.ศ. 2407 หลังจากนั้นพระจีนคณานุรักษ์ (ตันจูล่าย) ได้อัญเชิญเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวจากบ้านกรือเซะมาประดิษฐานในศาล และตั้งชื่อศาลใหม่ว่า "ศาลเจ้าเล่งจูเกียง" แต่นิยมเรียก "ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว"[1][2] เป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดในไทยในปัจจุบัน

ตามตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวกล่าวว่า เป็นหญิงชาวจีนตระกูลลิ้มหรือหลิม มีพี่ชายชื่อลิ้มโต๊ะเคี่ยมซึ่งต่อมาได้เดินทางมารับราชการที่เมืองปัตตานีและสมรสกับธิดาของเจ้าเมือง เข้ารีตอิสลามและไม่หวนกลับบ้านเกิดเมืองนอน[11] มารดาที่อยู่ในประเทศจีนก็คิดถึงบุตรชายยิ่งนักเพราะไม่ติดต่อกลับมาเลย ลิ้มกอเหนี่ยวสงสารมารดาจึงอาสาออกตามหาพี่ชาย จนพบกับลิ้มโต๊ะเคี่ยมที่บ้านกรือเซะ และอาศัยอยู่ที่นั่นยาวนานก็เพื่อชวนให้พี่ชายกลับเมืองจีนไปพบมารดา แต่พี่ชายกลับปฏิเสธเพราะกำลังสร้างมัสยิดกรือเซะ เมื่อไม่สามารถทำให้พี่ชายกลับประเทศจีนตามความประสงค์ของมารดา ลิ้มกอเหนี่ยวจึงผูกคอตายใต้ต้นมะม่วงหิมพานต์ ด้วยความอาลัย ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจึงสร้างฮวงซุ้ยให้แก่น้องสาวตามประเพณี แต่เมื่อชาวจีนได้ทราบถึงความกตัญญูรักษาสัตย์ จึงมีชาวบ้านไปบนบาน ก่อนนำไม้มะม่วงหิมพานต์นั้นมาแกะสลักเป็นรูปเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวประดิษฐานไว้ที่ศาลเจ้ากรือเซะ ภายหลังได้ย้ายไปประดิษฐาน ณ ศาลเล่งจูเกียงจนถึงปัจจุบัน[4][12] เป็นที่ยอมรับนับถือในกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนสืบต่อมา[13] แม้กระทั่งลูกหลานชาวจีนที่เปลี่ยนเข้ารับศาสนาอิสลามและใช้ภาษามลายูไปแล้ว แต่บางส่วนก็มีไปขอพรหรือบนบานกับเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ในวันฮารีรายอก็จะมีการเซ่นสรวงเจ้าแม่ และเมื่อพิธีแห่เจ้าแม่เดือนสามชาวมุสลิมเชื้อสายจีนก็จะไปชมขบวนเพื่อระลึกถึง[14]

ทั้งนี้ศาลเจ้าเล่งจูเกียงมีความศักดิ์สิทธิ์และมีชื่อเสียง โดยมีพระมหากษัตริย์ไทยได้เสด็จมายังศาลเจ้าแห่งนี้สามพระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[2] โดยพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ที่เสด็จมาจะพระราชทานกระถางธูปเป็นประจำ[15] ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาได้พระราชทานรูปเคารพเจ้าแม่กวนอิมและกระถางธูปทองเหลืองขนาดใหญ่แก่ศาลเล่งจูเกียง เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[10] ส่วนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จมาเคารพศาลเจ้าแห่งนี้หลายครั้ง บางครั้งก็เสด็จเป็นการส่วนพระองค์[15]

โครงสร้าง แก้

ศาลเจ้าเล่งจูเกียงมีชั้นเดียว แบ่งเป็นโถงกลาง มีปีกซ้ายและปีกขวา ลานด้านหน้าอาคารมีแท่นบูชาเทวดา โถงกลางมีแท่นบูชาสามแท่น แท่นกลางคือโจ๊วซูกง เป็นเทพประธาน และเจ้าแม่ทับทิม, แท่นซ้ายคือเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวและน้องเจ้าแม่ และแท่นขวาคือตั่วเหล่าเอี้ยหรือเจ้าพ่อเสือและฝูเต๋อเจิ้งเฉิน ส่วนโถงด้านขวามีเทพซาเจียงกุนและเจ้าแม่กวนอิม และโถงซ้ายมีเทพกุนเต้กุน[1]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "ประวัติศาลเจ้าเล่งจูเกียง". ศาลเจ้าเล่งจูเกียง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-19. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ศาลเจ้าเล่งจูเกียง". ตระกูลคณานุรักษ์ ทายาทหลวงสำเร็จกิจการจางวาง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-28. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. เจษฎา นิลสงวนเดชะ (มกราคม–มิถุนายน 2561). "ศาลเจ้า : ศรัทธาสถานในสังคมไทย" (PDF). วารสารภาษาและวัฒนธรรม (37:1). p. 50.{{cite book}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  4. 4.0 4.1 วรถพ สังสงและอื่น ๆ (4 กุมภาพันธ์ 2559). ""ทัวร์ศาลเจ้า-ขอพรองค์เทพ" ทั่ว 14 จังหวัดใต้ในเทศกาลตรุษจีน". MGR Online. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. "แห่พระลุยน้ำ ลุยไฟ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ปัตตานี". กรุงเทพธุรกิจ. 11 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. สุธัญญา ฉันทะ (17 กุมภาพันธ์ 2559). "ชวนเที่ยว "ปัตตานี" ร่วมงานสมโภช "เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว"". ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. Pisan (24 มีนาคม 2553). "บาบ๋า ย่าหยา...ในโลกไทยมลายูปัตตานี". อิศรา. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. อิบรอฮิม ชุกรี. ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรมลายูปะตานี. เชียงใหม่ : ซิลค์เวอร์ม บุคส์, 2547, หน้า 37
  9. ประพนธ์ เรืองณรงค์. บุหงาปัตตานี คติชนไทยมุสลิมชายแดนใต้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์, 2554, หน้า 30-32
  10. 10.0 10.1 "ศาลเจ้าเล่งจูเกียง จังหวัดปัตตานี". ฐานข้อมูลทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  11. "มัสยิดกรือเซะ และ ลิ้มโต๊ะเคี่ยม". ตระกูลคณานุรักษ์ ทายาทหลวงสำเร็จกิจการจางวาง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-30. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "ประวัติองค์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว". ศาลเจ้าเล่งจูเกียง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-29. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. ""ศาลเจ้าเล่งจูเกียง" คึกคัก พร้อมรับนักท่องเที่ยวสักการะ "เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว" ช่วงตรุษจีน". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 17 กุมภาพันธ์ 2558. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  14. ประพนธ์ เรืองณรงค์. เรื่องเล่าจากปัตตานี. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์, 2548, หน้า 58-60
  15. 15.0 15.1 เลขา เกลี้ยงเกลา (17 ตุลาคม 2559). "พระเมตตาแผ่ไพศาล...ตามรอยพระบาทที่ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ปัตตานี". อิศรา. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 6°52′17″N 101°15′30″E / 6.871471°N 101.258336°E / 6.871471; 101.258336