ศรีไศล สุชาตวุฒิ
บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีเนื้อหา รูปแบบ หรือลักษณะการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรม |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ศรีไศล สุชาตวุฒิ หรือ หม่อมศรีไศล จุฑาธุช ณ อยุธยา นักร้องเพลงลูกกรุง มีผลงานที่เพลงที่มีชื่อเสียงคือ เพลง รักข้ามขอบฟ้า, เก็บรัก, คิดจะปลูกต้นรักอีกกอ, ชั่วฟ้าดินสลาย, จงรัก สมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช (พระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย กับระวี จาตุรจินดา)
ศรีไศล สุชาตวุฒิ | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 15 กันยายน พ.ศ. 2487 ศรีไศล สุชาตวุฒิ |
คู่สมรส | ไพบูลย์ ลีสุวัฒน์ (หย่า) พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช |
อาชีพ | นักร้อง |
ศรีไศล สุชาตวุฒิ เคยมีผลงานแสดงภาพยนตร์เรื่อง เพลงรักเพื่อเธอ (2521) นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี และพิศมัย วิไลศักดิ์
ศรีไศล สุชาตวุฒิ เป็นบุตรคนที่ 9 ในจำนวน 11 คน ของสรร และถมยา สุชาตวุฒิ (สกุลเดิม คำลิขิต) บิดามีอาชีพเป็นผู้พิพากษา โดยศรีไศลมีพี่น้อง ดังนี้
- สมถวิล โมรานนท์ สมรสกับชำนะ โมรานนท์ (เสียชีวิต) มีบุตร 3 คน
- สุชาดา นวะมะรัตน สมรสกับพันเอก (พิเศษ) วุฒิ นวะมะรัตน (เสียชีวิต) มีบุตร 2 คน
- จิ๋ว สุชาตวุฒิ (เสียชีวิต)
- พันตำรวจเอก สุรีย์ สุชาตวุฒิ (เสียชีวิต) สมรสกับพาณี สุชาตวุฒิ มีบุตร 2 คน
- พันโท วิสุต สุชาตวุฒิ (เสียชีวิต) สมรสกับชวรัตน์ สุชาตวุฒิ (เสียชีวิต) มีบุตร 3 คน
- แพทย์หญิง สมนา เอื้อไพบูลย์ (เสียชีวิต) สมรสกับพลเรือโท นายแพทย์ อรุณ เอื้อไพบูลย์ (เสียชีวิต) มีบุตร 4 คน
- สุภัทรา แอนดรู สมรสกับจิม แอนดรู (เสียชีวิต) มีบุตร 1 คน
- พาสนา ชมสาคร (เสียชีวิต) สมรสกับพันตำรวจเอก (พิเศษ) มนตรี ชมสาคร มีบุตร 2 คน
- ศรีไศล สุชาตวุฒิ สมรสและหย่ากับไพบูลย์ ลีสุวัฒน์ มีบุตร 3 คน และสมรสใหม่กับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช (สิ้นพระชนม์)
- สกล สุชาตวุฒิ
- ศุลิน สุชาตวุฒิ มีบุตร 2 คน
ศรีไศล สุชาตวุฒิ หรือ หม่อมศรีไศล จุฑาธุช ณ อยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2487 เข้าศึกษาที่โรงเรียนศรีอยุธยา พญาไท จนจบแล้วเข้าศึกษาออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้ากับสปัน เธียรประสิทธิ์ และเพราะมีความสามารถ เมื่อจบหลักสูตรจึงได้ทำงานเป็นครูผู้ช่วยอยู่เกือบสามปี ก่อนออกมาเปิตร้านและโรงเรียนของตัวเองแถวยมราช
ขณะที่เป็นนักเรียนมัธยมได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดร้องเพลงในงานกาชาด ที่สวนอัมพรและได้รับพระราชทานรางวัลจากพระหัตถ์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพลงที่ร้องชื่อเพลง “ดอกไม้” ประพันธ์โดยท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์
ปีต่อมาได้รับรางวัลที่หนึ่งจากการประกวดเย็บปักถักร้อยในงาน “ศิลปหัตถกรรมนักเรียน” ที่โรงเรียนสวนกุหลาบ และด้วยความที่รักศิลปะ หลังจากจบการศึกษาในระดับมัธยม ศรีไศลจึงเลือกเรียนสาขาวิชาชีพไม่เลือกเข้ามหาวิทยาลัยอย่างพี่น้อง เธอเข้าศึกษาออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้ากับสปัน เทียนประสิทธิ์ และเพราะมีความสามารถ เมื่อจบหลักสูตรจึงได้ทำงานเป็นครูผู้ช่วยอยู่เกือบสามปี ก่อนออกมาเปิตร้านและโรงเรียนของตัวเองแถวยมราช
ศรีไศลได้ก้าวขึ้นเป็นนักร้องชั้นแนวหน้าอันดับ TOP TEN ในยุคนั้นโดยร้องเพลงประจำใน “คอกเทลเลาจน์” ซึ่งในสมัยนั้นเพิ่งเริ่มเป็นที่นิยมและเป็นสถานที่ที่นักฟังเพลง นิยมมานั่งฟังเพลง เพราะในสมัยนั้นเป็นสถานที่ที่ค่อนข้างมีระดับ
ศรีไศลเคยร้องเพลงอยู่โรงแรมแอมบาสเดอร์, ปี๊ปอินน์ในโรงแรมอมพีเรียล, ทิพย์ คอกเทลเลาจน์ สยามสแควร์, โซโห เพลินจิต, มาร์โคโปโล ทองหล่อ, The Green House ในซอยหลังสวน Your Place สุขุมวิท33, สีทันดร ลาดพร้าว101 และโรงแรมแมนดาริน สามย่าน
ศรีไศลเข้าสู่วงการภาพยนตร์โดยเริงศิริ ลิมอักษร ในผลงานเรื่อง “เพลงรักเพื่อเธอ” ร่วมกับพิศมัย วิไลศักดิ์ และสรพงศ์ ชาตรี, ผลงานเรื่อง “หนามหยอกอก” ร่วมกับวิฑูรย์ กรุณา และอำภา ภูษิต ของเป๋ โปสเตอร์ และ “แก้ว” ร่วมกับทูน หิรัญทรัพย์ และลินดา ค้าธัญเจริญ ของเปี๊ยก โปสเตอร์
ด้านผลงานโทรทัศน์ ผู้ช้กชวนคือภัทราวดี มีชูธน เรื่อง “ความรัก” และ “ประชาชนชาวแฟลต” และมีเรื่องอื่น ๆ ต่อมาอีกหลายเรื่อง เพราะงานการแสดงและร้องเพลงที่มากขึ้นทำให้เธอต้องหยุดกิจการเสื้อผ้าโดยสิ้นเชิง ได้รับคำชมจากคอลัมล์ “ลัดดาซุบซิบ” ว่าเป็นนักร้องหญิงที่แต่งตัวดีที่สุดในจำนวนสองสามคนในสมัยนั้น ได้รับคำวิจารณ์จากท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ ในการให้สัมภาษณ์ของท่านในนิตยสารฉบับหนึ่งว่า “ครั้งแรก ๆ ที่ฟังเพลงของศรีไศล ยังไม่ค่อยชอบเพราะเธอร้องไม่ลงกับจังหวะห้องของดนตรี (คือ ล้อกับดนตรี ไปก่อนบ้าง ตามหลังบ้าง)” ท่านวิจารณ์ต่อว่า “แต่ฟังไปแล้วชักชอบเพราะเป็น “สไตล์” ของเขาเอง (คือสุดท้ายก็ลงได้พร้อมดนตรี)”
เคยมีคนถามศรีไศลว่าไปเรียนร้องเพลงแบบนี้มาจากไหน เธอตอบว่า ไม่เคยได้เรียนร้องเพลงเลย ฝึกมาด้วยตัวเอง อาศัยชอบฟังเพลงฝรั่งมาแต่เด็ก ๆ เพราะมีพี่ชายคนโตไปเรียนที่ประเทศอังกฤษและกลับมาพร้อมกับแผ่นเสียงเพลงดีของ Frank Sinatra, Ella Fitzgerald, Nancy Wilson, Diane Schuur และอีกมากมาย เธอเริ่มรู้จักเพลง Jazz ตั้งแต่อายุ 13 – 14 ปี ตอนเด็ก ๆ ชอบอาสารีดผ้าให้คุณพ่อและคุณแม่เพราะจะได้เปิดเพลงฟังโดยไม่ต้องโดนเรียกไปทำอย่างอื่น
เพลงที่เป็นผลงานยอดนิยมเช่น เก็บรัก, รักข้ามขอบฟ้า, รักไม่รู้ดับ, รักริษยา, จงรัก, คนเดียวในดวงใจ, ชั่วฟ้าดินสลาย, รักเอย, ชีวิตละคอน, รักที่เลือกไม่ได้, เสน่หา, ลมหวล, ลองรัก, รักและคิดถึง, คืนเหงา, ความรักครั้งสุดท้าย, พิษรัก, หยาดเพชร และอีกมากมาย
ศรีไศลสมรสกับไพบูลย์ ลีสุวัฒน์ หัวหน้าวงดนตรีคีตะวัฒน์ชึ่งมีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น เมื่อพ.ศ. 2508 มีบุตร 3 คน ต่อมาได้หย่ากันในพ.ศ. 2519 ต่อมาเมื่อพ.ศ. 2525 ได้สมรสใหม่กับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช เมื่อติดตามไปดูแลพระอาการประชวร และดูแลบุตรทั้งสามที่อยู่ในวัยเรียนที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา นั่นคือเหตุผลที่เธออำลาวงการและความสำเร็จอย่างปุปปับจนเป็นที่แปลกใจของแฟนคลับ
หมายเหตุ
- สปันเป็นผู้ชักนำเข้าร่วมร้องเพลงในรายการ “ชรินทร์โชว์” ที่ออกอากาศทุก ๆ เดือนทางโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม (ในเวลานั้น) และนั่นคือจุดเริ่มต้นของ ศรีไศล สุชาตวุฒิ
- นักร้องไทยที่ชื่นชอบคือสวลี ผกาพันธุ์, พูลศรี เจริญพงษ์, เพ็ญศรี พุ่มชูศรี, ชรินทร์ นันทนาคร, สุเทพ วงศ์กำแหง, พิทยา บุญรัตนพันธ์ และอีกหลายคน
หลังจากพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช สิ้นพระชนม์ในพ.ศ. 2533 ศรีไศลได้ใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ ทำธุรกิจซื้อบ้านเก่ามาตกแต่งและขายที่ประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส เคยเปิดกิจการ Bed and Breakfast กับหุ้นส่วนชาวอังกฤษ ปัจจุบันขายบ้านและกิจการทั้งหมดที่ยุโรป คงเหลือแต่บ้านที่อเมริกาให้บุตรชายดูแล มีหลานสามคน และเลือกที่จะใช้ชีวิตอยู่ประเทศไทยมากกว่าที่อื่น แม้ต้องเดินทางไปมาระหว่างประเทศ เธอให้เหตุผลว่าไม่มีแผ่นดินไหนเหมือนประเทศไทย ได้ใกล้ชิดพุทธศาสนาและอยากทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับสังคม บ่อยครั้งในปีหนึ่ง ๆ ที่เธอได้ร่วมงานและจัดงานหาเงินเพื่อการกุศลโดยยกเงินค่าตัวให้ทั้งหมด เพราะเธอหายไปจากวงการนานถึง 30 ปี จึงไม่มีผลงานที่จะได้รับรางวัลใด ๆ เหมือนนักร้องในยุคเดียวกัน จนเมื่อเธอได้กลับมาร้องเพลงประกอบละครใน พ.ศ. 2554 เรื่อง "รอยไหม" ชื่อเพลง "เพียงได้เคียงเธอ" เธอจึงคว้ารางวัล โทรทัศน์ทองคำ สาขาเพลงประกอบละครยอดเยี่ยม จัดโดยกรมประชาสัมพันธ์
ผลงาน
แก้ภาพยนตร์
แก้- เพลงรักเพื่อเธอ (2521) สรพงศ์, พิศมัย, มยุรฉัตร, ศรีไศล
- หนามยอกอก (2522) วิฑูรย์, อำภา, ภิญโญ, ศรีไศล
- แก้ว (2523) ทูน, ลินดา, ศรีไศล
ละคร
แก้- ความรัก ช่อง 3 (2521)
- ประชาชนชาวแฟลต ช่อง 3 (2521) ยอดชาย, วงเดือน, ศรีไศล, รัตนาภรณ์
- ดงมนุษย์ ช่อง 3 (2523) สมภพ, วิยะดา, นพพล, ทาริกา, ศรีไศล
เพลงประกอบภาพยนตร์
แก้- เรารักกันไม่ได้ เพลงประกอบภาพยนตร์ เรารักกันไม่ได้ (2513)
- เธออยู่ไหน เพลงประกอบภาพยนตร์ หัวใจที่ไม่อยากเต้น (2520)
- ไม้ใกล้ฝั่ง เพลงประกอบภาพยนตร์ วัยตกกระ (2521)
- รักริษยา เพลงประกอบภาพยนตร์ รักริษยา (2522)
- หลอน เพลงประกอบภาพยนตร์ ไร้เสน่หา (2522)
- ฉันคือใคร เพลงประกอบภาพยนตร์ ผิดหรือที่จะรัก (2523)
- ชีวิต เพลงประกอบภาพยนตร์ อีพริ้ง คนเริงเมือง (2523)
เพลงประกอบละคร
แก้- เพียงได้เคียงเธอ เพลงประกอบละคร รอยไหม ช่อง 3 (2554)