วิสุทธิ์ วานิชบุตร
วิสุทธิ์ วานิชบุตร (เกิด 5 มกราคม พ.ศ. 2498)[1] เป็นอดีตข้าราชการตำรวจชาวไทย โดยเป็นอดีตรองผบช.สำนักงานกฎหมายและคดี อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 และอดีตผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดอ่างทอง
วิสุทธิ์ วานิชบุตร | |
---|---|
เกิด | 5 มกราคม พ.ศ. 2498 |
สัญชาติ | ไทย |
มีชื่อเสียงจาก | อดีตตำรวจ และอื่น ๆ |
ประวัติ
แก้วิสุทธิ์ วานิชบุตร เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2498 จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน รุ่นพิเศษรุ่นที่ 9 เมื่อปี พ.ศ. 2521 และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. 2551 และรางวัลคนดีศรีราม ในปี พ.ศ. 2550 ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ คนิล วานิชบุตร โดยไม่มีบุตรด้วยกัน
การทำงาน
แก้วิสุทธิ์ เริ่มรับราชการตำรวจครั้งแรก ดำรงตำแหน่งประจำแผนกกฎหมาย กองวิชาการกรมตำรวจ จากนั้นขึ้นเป็นนายเวร ผบก.วช., สว.แผนก 7 กองปราบปราม, รองผู้กำกับการกองทะเบียน, ผู้กำกับการ 3 ศสก., ผู้กำกับการกำลังพล บชก.รองผบก.ตำรวจท่องเที่ยว, รองผู้กำกับการทางหลวง, รองผู้กำกับการกองทะเบียนกรมตำรวจ, รองผู้กำกับการปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็กเยาวชนและสตรี (ปดส.), ผู้กำกับการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ผู้กำกับการวิทยาการ 2 จังหวัดนครราชสีมา, ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี, ผู้กำกับการปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็กเยาวชนและสตรี (ปดส.), ผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดอ่างทอง และรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 ในปัจจุบัน
วิสุทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดีของสังคมจากการเป็นนายตำรวจที่ทำงานด้านปราบปรามการกระทำผิดต่อสังคมและสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิทางปัญญาหลายอย่าง เช่น การบุกจับร้านอาหารที่ขายเนื้อปลาปักเป้าปะปนมากับปลาชนิดอื่น หรือการบุกจับวีซีดีภาพยนตร์ลามก โดยเฉพาะเรื่องที่นำแสดงโดย เกศริน ชัยเฉลิมพล จนได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "มือปราบปลาปักเป้า" และ "มือปราบน้องแนท" จนได้รับรางวัลการปราบปรามทรัพยสินทางปัญญาจาก MPA ZMOTION PICTURE ASSOCIATION จากประเทศสหรัฐอเมริกา[2]
นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นที่รู้จักกันดีจากการมักเป็นผู้จัดการแถลงข่าวการจับกุมผู้ต้องหาคดีอาญาต่าง ๆ ด้วยวิธีการประณามเช่น ให้ผู้ต้องหาคาบถุงยาบ้า, เลี้ยงข้าวผู้ต้องหาคดียาเสพย์ติด โดยขึ้นชื่อผู้ต้องหาพร้อมกับคำว่า "เดนมนุษย์" หรือ "อมนุษย์" หรือการทำระบบเก้าอี้ไฟฟ้า จำลองลานประหารชีวิตนักโทษจำลอง ที่มีอุปกรณ์เสมือนจริงครบครัน เพื่อเอาไว้ใช้ในการแถลงข่าวจับกุมผู้จำหน่ายยาบ้าในครั้งต่อไป เป็นต้น ซึ่งในเรื่องนี้ได้กลายเป็นวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่เจ้าตัวยืนยันถึงการกระทำนี้ของตัวว่าจะทำต่อไป[3] รวมถึงการมีบุคคลิกที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงระบบโครงสร้างของตำรวจไทยอย่างตรงไปตรงมาอีกด้วย ซึ่งเจ้าตัวเคยบอกว่าตำรวจไทยอยู่ภายใต้การครอบงำของนักการเมือง และปัญหาซีดีที่ละเมิดลิขสิทธิ์ที่ปราบไม่ได้ เพราะมีการจ่ายส่วย เป็นต้น[4]
ในปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 วิสุทธิ์ได้จัดแถลงข่าวที่โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์ ถึงเรื่องการโยกย้ายนายตำรวจระดับรองผู้บัญชาการ (รองผบช.) ถึงผู้บังคับการ (ผบก.) ประจำปี ซึ่งเพิ่งมีการพิจารณาแต่งตั้งไปก่อนหน้านี้ไม่นาน ซึ่งตัว พล.ต.ต.วิสุทธิ์ได้ถูกคำสั่งย้ายไปประจำตำแหน่ง รองผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี (รองผบช.กมค.) โดยกล่าวว่าตนถูกกลั่นแกล้ง ไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะถูกนักการเมืองระดับชาติที่มีฐานเสียงในภาคใต้ผู้หนึ่งสั่งการ เพราะตนเคยจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายหลายคดีและนักการเมืองผู้นี้มาขอไว้ แต่ตนไม่ยินยอม และยังวิจารณ์ถึงเรื่องอื่น ๆ อาทิ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลและยังตำหนิและท้าทาย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[5]
วิสุทธิ์ ได้ลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556 เพื่อมาร่วมชุมนุมกับเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ขับไล่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยให้เหตุผลว่าสุดทนแล้วกับระบอบตำรวจในรัฐบาลชุดนี้[6]
ต่อมาในปี 2558 ได้ถูกพนักงานอัยการจังหวัดสีคิ้วยื่นฟ้อง และถูกศาลฎีกาจำคุก 6 เดือนโดยไม่รอลงอาญา ในคดีรุกที่เขื่อนลำตะคอง[7]
ต่อมาวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชานุญาตให้ถอด พล.ต.ต.วิสุทธิ์ วานิชบุตร ออกจากยศตำรวจตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558 และให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้วิสุทธิ์เคยได้รับและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดตระกูลต่างๆ ดังนี้[8]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[10]
- พ.ศ. 2556 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ 2012 คุณอยากทำอะไรใน วันสิ้นโลก ?!!? บทสัมภาษณ์จากกระปุกดอตคอม
- ↑ ดาวเด่น-ดาวดับ ความแตกต่าง "วิสุทธิ์ กับ วิชัย" เก็บถาวร 2017-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ เปิดใจ ผู้การวิสุทธิ์ ที่ใครๆ ก็หาว่าอยากดัง จากเว็บไซต์กระปุก
- ↑ 2012 คุณอยากทำอะไรในวันสิ้นโลก ?!!?จากไทยรัฐ
- ↑ [1]เก็บถาวร 2010-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "วิสุทธิ์"แฉการเมืองล้วงลูก ฉะนายกฯไร้วิสัยทัศน์ จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ เกาะติดสถานการณ์ชุมนุมใหญ่, บลูสกายแชนแนล โดย ถนอม อ่อนเกตุพล และปิยเกียรติ บุญเรือง: พฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2556
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-20. สืบค้นเมื่อ 2015-09-30.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระราชานุญาตให้ถอดยศตำรวจและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (44 ข): 7. 15 กันยายน พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๕๗, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๐๗, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗