วิทยาราช

(เปลี่ยนทางจาก วิทยราช)

วิทยาราช (สันสกฤต: विद्याराज; จีน: 明王; พินอิน: Míngwáng หมิงหวัง; ญี่ปุ่น: 明王โรมาจิmyō-ōทับศัพท์: เมียวโอ) เป็นชื่อของเทพประเภทที่สามในศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน รองจากจากพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ตามลำดับ ชื่อในภาษาสันสกฤตแปลว่า "เจ้าแห่งความรู้" ภาษาจีนได้แปลชื่อดังกล่าวด้วยคำว่า 明 (หมิง) ซึ่งหมายความได้ทั้งแสงสว่างและความรอบรู้ ศาสนาพุทธแบบทิเบตเรียกว่า "เหรุกะ"

วิทยาราชทั้งห้าและกลุ่มเทพโลกบาล

สำหรับวิทยาราชที่เป็นเพศหญิง มีชื่อเรียกตามภาษาสันสกฤตว่า วิทยาราชินี (จีน: 明妃; พินอิน: Míngfēi หมิงเฟย์; ญี่ปุ่น: 明妃โรมาจิmyōhiทับศัพท์: เมียวฮิ) แต่การจำแนกวิทยราชตามเพศเช่นนี้มักจะถูกละเลยอยู่บ่อยครั้ง

ทฤษฎี แก้

ในระดับทั่วไป วิทยาราชถูกจัดให้เป็นเทพผู้พิทักษ์ศาสนาพุทธ และถือเป็นการสำแดงภาคดุร้ายของพระพุทธเจ้า หากกล่าวอย่างเจาะจง วิทยาราชทั้งห้า (五大明王; โงะไดเมียวโอ, อู่ต้าหมิงหวัง) คือผู้คุ้มครองพระธยานิพุทธะทั้ง 5 พระองค์โดยเฉพาะ[1]

ตามทฤษฎีวงล้อทั้งสามในฝ่ายวัชรยาน พระพุทธเจ้าเป็นตัวแทนของมโนทัศน์แห่งธรรมอันบริสุทธิ์ และพระโพธิสัตว์เป็นผู้นำมโนทัศน์เหล่านั้นมาสั่งสอนด้วยความกรุณา วิทยาราชได้แก่การแปลงรูปของวงล้อแห่งอาณัติ และสั่งสอนธรรมด้วยความน่าสะพรึงกลัว เพื่อกระตุ้นให้บรรดาผู้ไม่ศรัทธาทั้งหลายกลับใจเชื่อถือในพุทธศาสนา[1]

รูปลักษณ์ แก้

วิทยาราชโดยปกติมักถูกนำเสนอในรูปแบบเทพปางดุร้าย มักมีกายสีน้ำเงิน มีหลายกร บางครั้งทำเป็นรูปหลายเศียรหรือหลายขา ในมือถืออาวุธต่าง ๆ บางครั้งมีการประดับตกแต่งด้วยหัวกะโหลก อสรพิษ หรือหนังสัตว์ มีประภามณฑลล้อมรอบเป็นเปลวไฟ

อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นสำหรับวิทยาราชองค์หนึ่งคือมหามยุรี (จีน: 孔雀明妃 ข่งเชวี่ยหมิงเฟย์ หรือ 孔雀佛母 ข่งเชวี่ยฝัวหมู่; ญี่ปุ่น: 孔雀明王 คุจะคุเมียวโอ) หรือ "วิทยาราชินีนกยูง" ซึ่งปกติปรากฏในท่าทางที่สงบ ตัวตนของวิทยาราชองค์นี้สามารถระบุได้ง่าย เนื่องจากมหามยุรีทรงนกยูงเป็นพาหนะอยู่เสมอ

รายชื่อ แก้

วิทยาราชทั้งห้า แก้

 
ครรภโกษธาตุ ที่สถิตแห่งวิทยาราชทั้งห้า

ในพุทธศาสนานิกายชินงน ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของนิกายวัชรยาน วิทยาราชทั้งห้าคือกลุ่มวิทยาราชผู้เป็นสัญลักษณ์แทนพระปัญญาคุณอันรุ่งเรืองยิ่งของพระโคตมพุทธเจ้า และเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองพระธยานิพุทธะทั้งห้า ประกอบด้วย

วิทยาราชทั้งห้าอาศัยอยู่ในครรภโกษธาตุ โดยแบ่งตามตำแหน่งในทิศต่าง ๆ ดังนี้

วัชรยักษ์

(ทิศเหนือ)

ยมานตกะ

(ทิศตะวันตก)

อจละ

(ศูนย์กลาง)

ไตรโลกยวิชยะ

(ทิศตะวันออก)

กุณฑลิ

(ทิศใต้)

วิทยาราชอื่น ๆ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Baroni, Helen Josephine (2002). The illustrated encyclopedia of Zen Buddhism. New York: Rosen Pub. Group. p. 100. ISBN 0-8239-2240-5.
  • Mark and Luebeck,Walter Hosak (2006). Big Book of Reiki Symbols, The. Tokyo: Lotus Press. ISBN 0-914955-64-0.
  • D. D. Jc Husfelt (2006). The Return of the Feathered Serpent Shining Light of 'First Knowledge': Survival and Renewal at the End of an Age, 2006-2012. Authorhouse. ISBN 1-4259-0546-3.