พระไวโรจนพุทธะ[1]เป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 องค์ ของนิกายวัชรยานและนิกายมหายาน ทรงเป็นประธานของพระพุทธะทั้ง 5 หมายถึงปัญญาอันสูงสุด ตราประจำพระองค์เป็นธรรมจักร หมายถึง ความเป็นหนึ่ง พระกายเป็นแสงสว่าง มักแทนด้วยสีขาว ตำแหน่งในพุทธมณฑลจะอยู่ตรงกลางโดยมีพุทธะอีก 4 องค์ห้อมล้อม พระโพธิสัตว์ในกลุ่มของท่านที่สำคัญมี 2 องค์ คือ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ และพระมัญชุศรีโพธิสัตว์

พระไวโรจนพุทธะ
พระไวโรจนะพุทธะ ศิลปะญีปุ่น
สันสกฤตवैरोचन (ไวโรจฺน)
จีน大日如來 (Dàrì Rúlái)
毘盧遮那佛 (Pílúzhēnàfó)
ญี่ปุ่น大日如来 (Dainichi Nyorai)
毘盧遮那仏 (Birushana-butsu)
เกาหลี비로자나불 毘盧遮那佛 (Birojanabul)
대일여래 大日如來 (Daeil Yeorae)
มองโกเลียᠮᠠᠰᠢᠳᠠ ᠋᠋ᠭᠡᠢᠢᠭᠦᠯᠦᠨ ᠵᠣᠬᠢᠶᠠᠭᠴᠢ Машид гийгүүлэн зохиогч
Masida geyigülün zohiyaghci
ทิเบตརྣམ་པར་སྣང་མཛད། rNam-par-snang mdzad
เวียดนามĐại Nhật Như Lai
ข้อมูล
นับถือในวัชรยานและมหายาน
พระลักษณะสุญญตา
ศักติวัชรธาตุวิศวรี, อากาศธาตุวิศวรี
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

ความเชื่อ แก้

พระองค์ได้รับการเคารพนับถือจากชาวพุทธทั้งในตะวันออกไกล เนปาล ทิเบต และชวา ชาวพุทธจำนวนมากยกย่องให้เป็นอาทิพุทธะหรือพระพุทธเจ้าองค์ปฐม ความเชื่อเกี่ยวกับพระไวโรนะพุทธะปรากฏตั้งแต่ครั้งยุคมหายานและจรยาตันตระ พระสูตรที่กล่าวถึงพระองค์มีหลายฉบับเช่น

ในคัมภีร์มรณศาสตร์ของทิเบตกล่าวว่าพระองค์จะปรากฏตัวในวันแรกของบาร์โดพร้อมกับแสงสีคราม[2]

ลักษณะ แก้

สีประจำพระองค์ แก้

พระไวโรจนะมีพระกายสีขาว รัศมีธรรมเป็นสีน้ำเงินอ่อน ในทางวัชรยานถือว่าสีน้ำเงินเป็นสีของความจริงปรมัตถ์ ส่วนสีขาวเป็นที่รวมของสีทั้งหมด เหมือนแสงขาวจากดวงอาทิตย์ที่มองผ่านแท่งแก้วปริซึมจะเห็นเป็นสีต่างๆ 7 สี ซึ่งแทนความหมายของการเป็นประมุขแห่งพระธยานิพุทธะ

ธาตุประจำพระองค์ แก้

พระไวโรจนะเป็นตัวแทนของอากาศธาตุ ซึ่งเป็นช่องว่างในจักรวาลที่ต่างจากธาตุลม เป็นตัวแทนของเอกภาพที่รวมทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกัน

ศักติหรืออิตถีภาวะ แก้

อิตถีภาวะของพระไวโรจนะพุทธะคือวัชรธาตุวิศวรี (ท่านหญิงแห่งปัญญาธาตุ) หรืออากาศธาตุวิศวรี (ท่านหญิงผู้ยิ่งใหญ่แห่งอากาศอันไร้ขอบเขต) เป็นบุคลาธิษฐานของปัญญาญาณ ที่สะท้อนให้เห็นจักรวาลภายใต้พระบารมีธรรมของพระไวโรจนะมีสัญลักษณ์เป็นรูปสามเหลี่ยมหรือเปลวไฟ กายสีขาว อยู่ในท่าแสดงธรรม

ท่าทาง แก้

ท่าทางประจำพระองค์คือธรรมจักรมุทรา เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงการหมุนกงล้อธรรมครั้งแรกต่อหน้าปัญจวัคคีย์ทั้งห้า รูปแบบอื่นๆของพระไวโรจนะคือทำท่าสมาธิคล้ายพระอมิตาภะพุทธะแต่จะถือธรรมจักรแทนดอกบัว

เสียง แก้

เสียงประจำพระองค์คือเสียง “โอม” ซึ่งเกิดจากศูนย์ลมบริเวณศีรษะ ในศาสนาพุทธ เสียงนี้หมายถึงความว่าง ในศาสนาฮินดู ใช้เป็นเสียงที่ดึงจิตให้เกิดสมาธิ เพื่อประสานเป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาล ธารณีประจำพระองค์ โอม อะ วิ ระ ขัมวัชรธาตุ ตวาม[3]

พาหนะ แก้

พาหนะของพระไวโรจนพุทธะคือสิงโตเผือก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ ความกล้าหาญและความยิ่งใหญ่ สิงโตเผือกยังสื่อถึงสิงโตหิมะซึ่งเป็นสัตว์หายากในตำนานของทิเบต จึงเป็นตัวแทนของธรรมะขั้นสูงสุด

ความเกี่ยวข้องกับพระอักโษภยะ แก้

ลักษณะของพระไวโรจนพุทธะกับพระอักโษภยะพุทธะถือเป็นสิ่งตรงกันข้ามกัน พระไวโรจนะกายขาว รัศมีสีน้ำเงิน พระอักโษภยะ กายสีน้ำเงิน รัศมีสีขาว พระไวโรจนะเป็นตัวแทนของวิญญาณขันธ์ ส่วนพระอักโษภยะเป็นตัวแทนของรูปขันธ์ ตำแหน่งในมณฑลของพระไวโจนะพุทธะทั้งสององค์นี้อาจสลับกันได้ โดยทั่วไปจะใช้พระไวโรจนะเป็นสัญลักษณ์แทนจุดเริ่มต้นและหลักการ ส่วนพระอักโษภยะเป็นสัญลักษณ์ของภาพสะท้อนและการเคลื่อนไหว

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 219
  2. เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช. คัมภีร์มรณศาสตร์แห่งทิเบต แปลโย อนุสรณ์ ติปยานนท์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. มูลนิธิโกมลคีมทอง. 2536
  3. "《大毘盧遮那成佛神變加持經》CBETA 電子版No. 848 入真言門 ...buddhism.lib.ntu.edu.tw › sutra › chi_pdf › sutra10" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-03-01. สืบค้นเมื่อ 2020-03-01.
  • ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบทิเบต. กทม. : ศูนย์ไทยทิเบต, 2538.
  • สุมาลี มหณรงค์ชัย. พระชินพุทธะห้าพระองค์. กทม. : ศูนย์ไทยทิเบต, 2547.