คัณฑวยูหสูตร
คัณฑวยูหะ หรือ คัณฑวยูหสูตร เป็นบทสุดท้ายของอวตังสกสูตร นามในภาษาสันสกฤตหมายความว่าช่อบุปผามาลัย [1] ซึ่งคล้องจองกับความหมายของอวตังสกสูตร อย่างไรก็ตาม ยังมีความเห็นไม่ลงรอยกันในหมุ่นักวิชาการว่า ควรจะหมายถึงอะไรกันแน่ ขณะที่นามเรียกขานในภาษาจีนคือ "รู่ฝ่าเจี้ยผิ่น" ( 入法界品) หรือ "ธรรมธาตุยาตราวรรค" [2] พระสูตรส่วนนี้แปลจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีนเมื่อปี ค.ศ. 798 โดยพระปรัชญามหาเถระ ปัจจุบันมีทั้งตัวบทภาษาจีน ทิเบต และสันสกฤต รวมถึงบทแปลภาษาต่าง ๆ แม้จะเป็นบทสุดท้ายของอวตังสกสูตร แต่เชื่อกันว่า เป็นส่วนที่เก่าแก่ที่สุด และอาจจะรจนาขึ้นก่อนหน้าส่วนอื่น ๆ ของพระสูตรฉบับเต็ม [3]
เนื้อหา
แก้คัณฑวยูหะวรรค หรือคัณฑวยูหสูตร นับเป็นบทที่ถือเป็นหัวใจของอวตังสกสูตร[4] บรรยายความถึงการจาริกธรรมของสุธนกุมารไปยังดินแดนต่าง ๆ ตามคำแนะนำของพระมัญชุศรีโพธิสัตว์พบพานผู้รู้และผู้ชี้แนะมากมาย ในตัวบทเรียกว่ากัลยาณมิตร หรือมิตรสหายผู้ชี้แนะทางธรรม มีทั้งบุรุษและสตรี มีทั้งอาชีพสูงส่ง และต้อยต่ำ ทั้งบุคคลในวรรณสูง และบุคคลในวรรณล่าง เช่น ภิกษุ ทาส กษัตริย์ กุมาร กุมารี พราหมณ์ นายนาวิก[5] หรือแม้แต่ได้พบพานกับนางคณิกาชื่อวาสุมิตราแล้วรู้แจ้งทางเห็นจริงหลังจากสนทนาธรรมกับนาง [6]
การจาริกแสวงหาธรรมของเด็กน้อยสุธนกุมารมีเรื่องราววิจิตรพิสดารอย่างยิ่ง มีผู้เทียบเคียงว่า นับเป็นวรรณคดีสันสกฤตที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้มหาภารตะ หรือรามายณะ เพียงแต่ทั้ง 2 นี้เป็นการต่อสู้ภายนอก หากการจาริกของสุธนกุมารเป็นการแสวงหาภายใน โดยมีกัลยาณมิตรทั้ง 53 คน คอยชี้ทาง ให้ความกระจ่าง กระทั่งเด็กน้อยได้ดวงตาเห็นธรรม และรู้แจ้งในหลักการอันลึกซึ้งแต่ไม่ลี้ลับจากพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ในวรรคสุดท้ายของพระสูตรที่มีชื่อว่าสมันตภัทรจริยาปณิธานปริวรรต ว่า ปัญญาญาณจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อลงมือปฏิบัติธรรม และประกาศมหาปณิธานแห่งพุทธะ นับเป็นการสิ้นสุดการจาริกยาวไกล ด้วยคำกล่าวสั้น ๆ แต่ลึกซึ้ง
กัลยาณมิตรทั้ง 53
แก้รายชื่อของกัลยาณมิตรทั้ง 53 (อู่ซื่อซานชาน - 五十三参) [7] [8] [9] มีดังนี้
1. เมฆศรี (เต๋ออวิ๋นพี่ชิว - 德云比丘) เป็นบุรุษ ครองเพศเป็นพระภิกษุ
2. สาครเมฆ (ไห่อวิ๋นพี่ชิว - 海云比丘) บุรุษชาวสาครมุข ครองเพศเป็นพระภิกษุ
3. สุประติษฐิตะ (ซ่านจู้พี่ชิว - 善住比丘) บุรุษชาวลังกา ครองเพศเป็นพระภิกษุ
4. เมฆะ (หมีเจียต้าซื่อ - 弥伽大士) บุรุษชาววัชรปุระ เป็นครูไวยากรณ์ (ทรมิฑะ) จีนเรียก เมฆะทรมิฑะ
5. มุกตกะ (เจี่ยวทัว จ่างเจ่อ - 解脱长者) บุรุษชาววนะวาสิชนบท ประกอบกิจเป็นวิปัสนายานิกในฐานะเศรษฐี จีนเรียก วิมุกติกะเศรษฐี
6. สารธวัช (ไห่จ้วงปี่ชิง - 海幢比丘) บุรุษผู้บวชเป็นพระภิกษุ พบกันที่เมืองมิลัสผรณะ จีนเรียก สาคระธวัช
7. อาศา (ซิวเซ่อโหยวผัวอี๋ - 休舍优婆夷) สตรีชาวสมุทรเวตาลีประเทศ ปฏิบัติตนเป็นอุบาสิกา
8. ภีษโมตตระนิรโฆษะ (ผีมู่ฉวีซาเซียนเหริน - 毗目瞿沙仙人) บุรุษชาวนาลยูร์ชนบท ครองเพศเป็นฤษี จีนเรียกว่าเป็นนักสิทธิ์ เคลียรีว่า ผู้มีทิพย์จักษุ
9. ชโยศมายตนะ (เซิ่งเร่อผัวหลัวเหมิน - 胜热婆罗门) บุรุษชาวชโยศมายตนะ วรรณะพราหมณ์ จีนเรียกว่า ชโยมายะ
10. ไมตรายานี (ฉือสิงถงหนวี่ - 慈行童女) สตรีชาวสิงหวิชฤมภิตะนคร เป็นกัญญา (หญิงสาว) จีนว่า ไมเตรยะนี
11. สุทรัศนะ (ซ่านเจี้ยนปี้ชิว - 善见比丘) บุรุษชาวตรินะยัน ครองเพศพระภิกษุ
12. อินทรีเยศวร (จื้อไจ่จู่ถงจื่อ -自在主童子) ทารกเพศบุรุษชาวสุมุขะนคร รอบรู้สรรพศาสตร์ทั้งปวง
13. ประภูตา (จื้อจู๋โหยวผัวอี๋ - 具足优婆夷) สตรีผู้เป็นอุบาสิกาชาวสมุทรประติษฐานนคร
14. วิทวัน (หมิงจื้อจวีชื่อ - 明智居士) คฤหัสถ์ผู้เป็นบุรุษชาวมหาสัมภาวะนคร จีนว่าเป็นกุลปติ หรือหัวหน้าสกุลวงศ์
15. รัตนจูทะ (ฝาเป่าจี้จ่าง - 法宝髻长者) คฤหัสถ์ผู้เป็นบุรุษชาวสิงหโปตะนคร
16. สมันตะเนตร (ผู้เหยี่ยนฉางเจ่อ - 普眼长者) บุรุษผู้เป็นนักปรุงเครื่องหอม (คานธิกะ) ชาวเวตรมูละชนบท จีนว่าเป็นคฤหัสถ์
17. อนล (อู๋เยี่ยนจู๋หวาง - 无厌足王) บุรุษผู้เป็นกษัตริย์ (ราชา) แห่งตาลธวัชนคร
18. มหาประภา (ชานต้ากวงหวาง - 参大光王) บุรุษผู้เป็นกษัตริย์ (ราชา) แห่งสุประภามหานคร
19. อจลา (ปู้ต้งโหยวผัวอี๋ - 不动优婆夷) สตรีผู้เป็นอุบาสิกาชาวเมืองสถิระราชธานี
20. สรวะคามี (เปี้ยนสิงไว่ต้าว - 遍行外道) บุรุษผู้เป็นปริพาชก (ปริวราชกะ) ชาวโตสลนคร จีนว่าเป็นเดียรถีย์ เคลียรี เรียกว่า สรวะคามิน
21. อุตปัลภูติ (อวี้เซียง จ่างเจ่อ - 鬻香长者) บุรุษผู้เป็นนักปรุงเครื่องหอม (คานธิกะ) ชาวปฤถุราษฏระชนบท
22. ไวระ (ผัวซือหลัวฉวนซือ - 婆施罗船师) นายนาวิกชาวกูฏาคารนคร จีนเรียกไวโรจนะ
23. ชโยตตมะ (อู๋ซ่างเซิ่งจ่างเจ่อ - 无上胜长者) บุรุษผู้เป็นผู้นำอาวุโส (เศรษฐี) ชาวนันทีหารนคร
24. สิงหะวิชฤมภิตา (ซือจื่อผินเซินผี่ชิวหนี่ 狮子频申比丘尼) สตรีเพศ ภิกษุณีชาวกลิงควันนคร จีนเรียกสิงหะวิชริมภิตา
25. วาสุมิตรา (ผอซวีหมีตัวหนวี่ - 婆须蜜多女) หญิงงามเมืองชาวบ้านทุรคาชนบท รัตนวยูหะนคร
26. เวษฐิละ (ปิ่งเซ่อจือหลัวจวีซื่อ - 鞞瑟胝罗居士) บุรุษคฤหัสถ์ ชาวศุภปารังคมนคร
27. อวโลกิเตศวร (กวนจื้อไจ้ผูซ่า - 观自在菩萨) พระโพธิสัตว์ มีเพศเป็นบุรุษ ประทับ ณ โปตะละกะบรรพต
28. อนันยะคามี (เจิ้งชวี่ ผูซ่า - 正趣菩萨) พระโพธิสัตว์ มีเพศเป็นบุรุษ เคลียรี เรียกเป็นนักแรมทางสัญจร
29. มหาเทวะ (ต้าเทียนเซิน - 大天神) เป็นเทพยดาบุรุษ สถิต ณ เมืองทวราวดีนคร
30. สถาวรา (อันจู้ตี้เซิน - 安住地神) พระแม่ธรณีสตรีเพศ (ปฤถวีเทวตา) สถิต ณ แคว้นมคธวิษัย
31. วาสันตี (ผอซานผอเหยี่ยนตี่จู่เยี่ยเซิน - 婆珊婆演底主夜神) เทพีแห่งราตรี (ราตรีเทวตา) แห่งเมืองกบิลพัสดุ์มหานคร จีนว่า วสันตะวยันตี
32. สมันตคัมภีระศรีวิมลประภา (ผู่เต๋อจิ้งกวงจู่เยี่ยเซิน - 普德净光主夜神 เทพีแห่งราตรี (ราตรีเทวตา)
33. ประมุทิตะยันชคะทวิโรจนา (สี่มู่กวนฉาจงเซิงจู่เยี่ยเซิน - 喜目观察众生主夜神) เทพีแห่งราตรี (ราตรีเทวตา)
34. สมันตะสัตตวะตราโฌชห์ศรี (ผู่จิ้วจ้งเซิงเมี่ยวเต๋ออี้เซิน - 普救众生妙德夜神) เทพีแห่งราตรี (ราตรีเทวตา)
35. ประศานตรุตะสาคระวตี (จี้จิ้งอินไห่จู่เยี่ยเซิน 寂静音海主夜神) เทพีแห่งราตรี (ราตรีเทวตา)
36. สรวะนครรักษาสัมภวะเตชะห์ศรี (โซ่วฮู่อีเชี่ยจ้งเซิงจู่เยี่ยเซิน - 守护一切众生主夜神) เทพีแห่งราตรี (ราตรีเทวตา)
37. สวรวะวฤกษะประผุลลนะสุขสังวาสา (ไคผูอีเชี่ยซู่ฮวาจู่เยี่ยเซิน - 开敷一切树花主夜神) เทพีแห่งราตรี (ราตรีเทวตา)
38. สรวะชคัทรักษาประณิธานะวีรยะประภา (ต้าเอวี้ยนจิงจิ้นลี่จิวฮู่อีเชี่ยจ้งเซิจู่เยี่ยเซิน - 大愿精进力救护一切众生夜神) เทพีแห่งราตรี (ราตรีเทวตา)
39. สุเตโชมัณฑลระติศรี (เมี่ยวเต๋อหยวนม่านเซิน - 妙德圆满神) เทพี สถิต ณ ลุมพินีวัน (ลุมพินีวันเทวตา)
40. โคปา (ซื่อจยาฉวีปัวหนวี่ - 释迦瞿波女) สตรีชาวศากยะ แห่งเมืองกบิลพัสดุ์มหานคร
41. พระนางมายา (ม๋อเย๋ฟูเหริน - 摩耶夫人) มายาเทวี พระพุทธมารดา แห่งเมืองกบิลพัสดุ์มหานคร
42. สุเรนทราภา (หวางหนวี่เทียนจู่กวง - 王女天主光) เทพธิดา (เทวกัญญา) จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
43. วิศวามิตร (เปี้ยนโหย่วถงจื่อซือ - 遍友童子师) อาจารย์ผู้เยาว์วัยยิ่ง (ทารกจารยะ) ชาวกบิลพัสดุ์มหานคร
44. ศิลปาภิชญะ (ซ่านจือจ้งอี้ถงจื่อ - 善知众艺童子) กุมารผู้รอบรู้สรรพศาสตร์ (เศรษฐิทารกะ) และเป็นโพธิสัตว์ชาวกบิลพัสดุ์มหานคร
45. ภัทโรตตมา (เสียนเซิ่งโหยวผัวอี๋ - 贤胜优婆夷) อุบาสิกา ชาวเกวะลกะชนบท วรรตนกะนคร แคว้นมคธวิษัย
46. มุกตาสาร (เจียนกู้เจี๋ยทัวจ่างเจ่อ - 坚固解脱长者) บุรุษผู้เป็นช่างทอง (หิรัณยกะ) ชาวภารุกัจฉะนคร
47. สุจันทระ (ซ่านเมี่ยวเยว่จ่างเจ่อ - 参妙月长者) คฤหัสถ์บุรุษ ชาวภารุกัจฉะนคร
48. อชิตเสน (อู๋เซิ่งจวินจ่างเจ่อ - 无胜军长者) คฤหัสถ์บุรุษ ชาวโรรุกะนคร
49. ศิวะราคระห์ (จุ้ยจี้จิ้งผัวหลัวเหมิน - 最寂静婆罗门) บุรุษเพศพราหมณ์ ชาวบ้านธรรมคาม
50. ศรีสัมภวะ และ ศรีมติศจะ (เต๋อเซิงถงจื่อ/โหย่วเต๋อถงหนวี่ - 德生童子及有德童女) กุมาร/กุมารี (ทารกะ/ทาริกา) ชาวสุมนามุขนคร
51. ไมเตรยะ (หมีเล่อผูซ่า - 弥勒菩萨) พระโพธิสัตว์ มีเพศเป็นบุรุษ ณ มหากูฏาคาร
52. มัญชุศรี (เหวินซูซือลี่ผูซ่า - 文殊师利菩萨) พระโพธิสัตว์ มีเพศเป็นบุรุษ ณ สุมนามุขนคร
53. สมันตภัทระ (ผู่เสียนผูซ่า - 普贤菩萨) พระโพธิสัตว์ มีเพศเป็นบุรุษ ทรงแสดงมหาจารยาประณิธานอันยิ่งใหญ่ [10] [11] [12]
อ้างอิง
แก้- ↑ Warder, A. K. Warder (2000). Indian Buddhism. Motilal Banarsidass Publ. p. 402. ISBN 978-81-208-1741-8.
- ↑ Hsüan-hua; International Institute for the Translation of Buddhist Texts (Dharma Realm Buddhist University) (1 January 1980). Flower Adornment Sutra: Chapter 39, Entering the Dharma Realm. Dharma Realm Buddhist Association. p. xxi. ISBN 978-0-917512-68-1.
- ↑ Fontein, Jan (1967). The pilgrimage of Sudhana: a study of Gandavyuha illustrations. Walter de Gruyter. ISBN 978-3-11-156269-8.
- ↑ Doniger, Wendy (January 1999). Merriam-Webster's Encyclopedia of World Religions. Merriam-Webster. p. 365. ISBN 978-0-87779-044-0.
- ↑ Fontein, Jan (1967). The pilgrimage of Sudhana: a study of Gandavyuha illustrations. Walter de Gruyter. ISBN 978-3-11-156269-8.
- ↑ Doniger, Wendy (January 1999). Merriam-Webster's Encyclopedia of World Religions. Merriam-Webster. p. 365. ISBN 978-0-87779-044-0.
- ↑ The Flower Ornament Scripture: A Translation of the Avatamsaka Sutra by Thomas Cleary. Shambhala Publications, Boston: 1984, 1986, 1987, 1989, 1993
- ↑ Vaidya, P. L., 1960, Gaṇḍavyūha Sūtram, The Mithila Institute of Post-Graduate Studies and Research in Sanskrit Learning, Darbhanga
- ↑ 五十三参 - 百度百科
- ↑ The Flower Ornament Scripture: A Translation of the Avatamsaka Sutra by Thomas Cleary. Shambhala Publications, Boston: 1984, 1986, 1987, 1989, 1993
- ↑ Vaidya, P. L., 1960, Gaṇḍavyūha Sūtram, The Mithila Institute of Post-Graduate Studies and Research in Sanskrit Learning, Darbhanga
- ↑ 五十三参 - 百度百科