วิตามินบี6
(เปลี่ยนทางจาก วิตามินบี 6)
วิตามินบี6 (อังกฤษ: Vitamin B6) เป็นวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำได้[1] ซึ่งมักใช้ร่วมกับบี1 และบี12 ซึ่งวิตามินบี1 ทำงานกับคาร์โบไฮเดรตส่วนวิตามินบี6 และบี12 ทำงานร่วมกับโปรตีนและไขมัน ร่างกายมนุษย์ต้องการวิตามินบี6 ประมาณ 1.5 มิลลิกรัม
วิตามินบี6 | |
---|---|
ระดับชั้นของยา | |
Class identifiers | |
ใช้ใน | Vitamin B6 deficiency |
ATC code | A11HA02 |
Biological target | enzyme cofactor |
Clinical data | |
Drugs.com | International Drug Names |
External links | |
MeSH | D025101 |
In Wikidata |
รูปแบบ
แก้ปัจจุบันค้นพบว่าวิตามินบี6 มีหลายรูปแบบ ได้แก่
- ไพริดอกซีน (pyridoxine: PN)
- ไพริดอกซิน 5'-ฟอสเฟต (pyridoxine 5'-phosphate: PNP)
- ไพริดอกซาล (pyridoxal: PL)
- ไพริดอกซาล 5'-ฟอสเฟต (pyridoxal 5'-phosphate: PLP)
- ไพริดอกซามีน (pyridoxamine: PM)
- ไพริดอกซามีน 5'-ฟอสเฟต (pyridoxamine 5'-phosphate: PMP)
- กรด 4-ไพริดอกซิก (4-pyridoxic acid: PA)
ประโยชน์
แก้- ช่วยเปลี่ยนกรดอะมิโนให้เป็นวิตามินบี3 หรือไนอะซิน
- ช่วยร่างกายสร้างภูมิต้านทานแอนติบอดี และช่วยสร้างเซลล์โลหิตได้ดียิ่งขึ้น
- ช่วยร่างกายสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและแร่ธาตุแมกนีเซียม
- ช่วยบรรเทาโรคที่เกิดจากระบบประสาทและผิวหนัง
- ช่วยบรรเทาการคลื่นไส้อาเจียน
- ช่วยบรรเทาอาการปากแห้งและคอแห้ง
- ช่วยแก้การเป็นตะคริว แขนขาชาและช่วยขับปัสสาวะ
ภาวะการได้รับเกินขนาด
แก้วิตามินบี 6 (ไพริดอกซีนหรือไพริดอกซามีน) ปริมาณที่ควรได้รับไม่ควรเกิน 100 มิลลิกรัมต่อวันและหากร่างกายได้รับวิตามินบี6 เกินกว่า 500 มิลลิกรัมต่อ 1 วันจะทำให้เกิดอาการหลายอย่าง เช่น เท้าชาและกระตุก กระสับกระส่ายเวลานอน ฝันเหมือนจริงมากเกินไป และมีปัญหาทางระบบประสาท[2]
แหล่งที่พบ
แก้ปลา ไข่ ตับ ข้าวไม่ขัดสี จมูกข้าวสาลี รำข้าว ข้าวโอ๊ต วอลนัท ถั่วเหลือง ถั่วลิสง บริวเวอร์ยีสต์ กากน้ำตาล กะหล่ำปลี แคนตาลูป[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ สารอาหารประเภทวิตามิน, วันที่สืบค้น 19 เมษายน 2559 จาก www.siripansiri.wordpress.com.
- ↑ 2.0 2.1 วิตามินบี6 เก็บถาวร 2016-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, วันที่สืบค้น 19 เมษายน 2559 จาก www.frynn.com.
- นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม 2550