ในการศึกษาทางจิตวิทยา วิตกจริต (Neuroticism) เป็นลักษณะบุคลิกภาพ (personality trait) ที่แสดงออกเป็นความวิตกกังวล ความหวาดกลัว การมีอารมณ์แปรปรวน ความกลุ้มใจ ความอิจฉาริษยา ความขัดข้องใจ และความเหงา[1] คือมีอารมณ์ไม่เสถียร บุคคลที่ได้คะแนนสูงในลักษณะบุคลิกภาพนี้ จะมีโอกาสสูงกว่าโดยเฉลี่ยที่จะประสบกับอารมณ์เชิงลบต่าง ๆ เช่น ความวิตกกังวล ความหวาดกลัว ความอิจฉาริษยา ความรู้สึกผิด และความซึมเศร้า[2] จะมีปฏิกิริยาที่แย่กว่าต่อสิ่งที่ก่อความเครียด และมีโอกาสสูงกว่าที่จะเห็นเหตุการณ์ปกติธรรมดาว่าเป็นภัย และความขัดข้องใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ว่าเป็นเรื่องยากถึงให้สิ้นหวัง บ่อยครั้งจะมีความรู้สึกสำนึกตนหรือประหม่ามากเกินไป และขี้อาย และอาจจะมีปัญหาห้ามอารมณ์ชั่ววูบและผัดผ่อนการสนองความต้องการ ลักษณะบุคลิกภาพเช่นนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อความผิดปกติทางจิต (mental disorder) หลายอย่างที่สามัญที่สุด[3] รวมทั้งภาวะซึมเศร้า โรคกลัว โรคตื่นตระหนก (panic disorder) โรควิตกกังวลอื่น ๆ และการติดสารเสพติด ซึ่งเป็นอาการที่เคยวินิจฉัยว่าเป็นโรคประสาท (neurosis)[3][4][5][6][7]

ความเสถียรทางอารมณ์ แก้

ในนัยตรงกันข้าม บุคคลที่ได้คะแนนต่ำทางลักษณะบุคลิกภาพนี้ จะมีอารมณ์ที่เสถียรกว่า และมีปฏิกิริยาน้อยกว่าต่อความเครียด มักจะเป็นบุคคลที่นิ่ง ๆ มีอารมณ์สม่ำเสมอ และมีโอกาสน้อยกว่าที่จะรู้สึกตึงเครียดหรือว้าวุ่น แม้ว่าจะไม่มีอารมณ์เชิงลบมาก แต่ก็ไม่แน่ว่าจะมีอารมณ์เชิงบวกมาก เพราะว่า การมีอารมณ์เชิงบวกมากเป็นลักษณะบุคลิกภาพอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอก (extraversion หรือ extroversion) คือ เป็นผู้ที่มักใส่ใจในเรื่องภายนอก[8] ดังนั้น ผู้ที่มักใส่ใจในเรื่องภายนอกที่มีลักษณะบุคลิกภาพนี้ด้วย จะมีทั้งอารมณ์เชิงบวกและเชิงลบสูง บุคคลที่มีคะแนนต่ำในลักษณะบุคลิกภาพนี้ (โดยเฉพาะผู้ที่มักใส่ใจในเรื่องภายนอก) มักจะรายงานว่ามีความสุขความพอใจในชีวิตที่ดีกว่า[9]

การวัด แก้

โดยเหมือนกับลักษณะบุคลิกภาพอื่น ๆ วิตกจริตถูกมองว่ามีระดับต่าง ๆ ไม่ใช่เป็นแบบ "เป็น" หรือ "ไม่เป็น" คะแนนที่ได้ในการวัดลักษณะนี้ กระจายออกเป็นการแจกแจงปรกติ ถ้ามีตัวอย่างผู้ทำข้อสอบมากพอ

การวัดโดยทั่วไปเป็นแบบแจ้งเอง (self-report) แม้ว่า การวัดโดยให้คนอื่นแจ้ง เช่น โดยคนที่อยู่ในสถานะเดียวกัน ก็มีได้เหมือนกัน การวัดแบบแจ้งเองอาจเป็นแบบใช้คำ (lexical)[1] หรือใช้บทความ (statement)[10] ส่วนการตัดสินใจว่าจะใช้การวัดแบบไหนเพื่อใช้ในงานวิจัย จะกำหนดโดยค่าวัดทางจิตวิทยาอื่น ๆ (psychometric property) เวลา และพื้นที่ที่มีให้ใช้ในงานศึกษา

ในภาษาอังกฤษ การวัดโดยใช้คำ (lexical) จะใช้คำวิเศษณ์แต่ะละคำที่สะท้อนถึงลักษณะต่าง ๆ ของนิสัย เช่น ความวิตกกังวล ความอิจฉาริษยา การมีอารมณ์แปรปรวน ซึ่งมีประสิทธิผลทางด้านเวลาและพื้นที่ในงานวิจัยเป็นอย่างดี ในปี 1992 ศ.ดร.ลิวอิส โกลด์เบอร์ก ได้พัฒนาคำ 20 คำที่ใช้วัดลักษณะบุคลิกภาพ โดยเป็นส่วนของคำ 100 คำที่ใช้วัดลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง (Big Five personality traits)[11] ต่อมาในปี 1994 จึงมีการพัฒนาคำเพียง 8 คำที่ใช้วัด โดยเป็นส่วนของคำ 40 คำ[12] ต่อมาในปี 2008 จึงมีการปรับปรุงวิธีการวัดอย่างเป็นระบบ โดยเปลี่ยนไปใช้คำภาษาอังกฤษสากล ซึ่งมีความสมเหตุสมผล (validity) และความสม่ำเสมอ (reliability) ที่ดีกว่าในประชากรทั้งภายในและภายนอกทวีปอเมริกาเหนือ[1] โดยมีความสม่ำเสมอหรือความเชื่อถือได้ภายใน (internal consistency/reliability) ในการวัดระดับวิตกจริต สำหรับผู้พูดภาษาอังกฤษแต่กำเนิดที่ .84 และสำหรับผู้พูดภาษาอังกฤษพวกอื่นที่ .77[1]

การวัดโดยใช้บทความ (statement) มักจะใช้คำมากกว่า ดังนั้นก็จะใช้เนื้อที่ในการเก็บข้อมูลมากกว่าการวัดโดยใช้คำ ตัวอย่างเช่น จะมีการถามผู้รับสอบว่า ตนสามารถ "สงบนิ่งภายใต้แรงกดดัน" ได้เท่าไร หรือ "มีการแปรปรวนของอารมณ์" หรือไม่[10] แม้ว่าการวัดโดยวิธีนี้จะมีคุณลักษณะทางจิตวิทยาต่อประชากรอเมริกาเหนือเหมือนกับการวัดโดยคำ แต่การพัฒนาระบบวัดที่แฝงอยู่ใต้วัฒนธรรม ทำให้ใช้กับประชากรกลุ่มอื่นไม่ได้ดีเท่า[13] ยกตัวอย่างเช่น บทความอังกฤษที่เป็นภาษาปากในอเมริกาเหนือเช่น "Seldom feel blue" (แทบไม่เคยรู้สึกซึมเศร้า) และ "Am often down in the dumps" (บ่อยครั้งรู้สึกซึมเศร้า) บางครั้งเป็นเรื่องยากสำหรับคนที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษแต่กำเนิดจะเข้าใจ ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของวลีภาษาอังกฤษพร้อมคำแปลที่ใช้ในการทดสอบ

  • ฉันอารมณ์เสียง่าย (I am easily disturbed)
  • อารมณ์ฉันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา (I change my mood a lot)
  • ฉันหงุดหงิดง่าย (I get irritated easily)
  • ฉันเครียดง่าย (I get stressed out easily)
  • ฉันเสียใจได้ง่าย (I get upset easily)
  • อารมณ์ฉันกลับไปกลับมาบ่อย (I have frequent mood swings)
  • ฉันกังวลกับเรื่องต่าง ๆ (I worry about things)
  • ฉันวิตกกังวลมากกว่าคนอื่น ๆ (I am much more anxious than most people[14])
  • ฉันรู้สึกสบาย ๆ โดยมาก (I am relaxed most of the time)
  • ฉันไม่ค่อยซึมเศร้า (I seldom feel blue)

ยังมีการศึกษาลักษณะบุคลิกภาพเช่นนี้เปรียบเทียบกับ "ทฤษฎีบุคลิกภาพจิตชีวภาพของเกรย์" (Gray's biopsychological theory of personality) ด้วย โดยเทียบกับค่าวัดบุคลิกภาพของทฤษฎีในสองมิติ คือ Behavioural Inhibition System (ตัวย่อ BIS เป็นระบบที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ทำให้วิตกกังวล) และ Behavioural Activation System (ตัวย่อ BAS เป็นระบบที่ตอบสนองต่อความทะยานอยากเพื่อทำเป้าหมายให้สำเร็จ)[15][16] โดยที่ระบบ BIS เป็นระบบที่ไวต่อการถูกลงโทษ (punishment) และที่ให้แรงจูงใจเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยง (avoidance motivation) ในขณะที่ระบบ BAS เป็นระบบที่ไวต่อรางวัล (reward) และให้แรงจูงใจเพื่อจะเข้าไปหา (approach motivation) งานศึกษาพบว่า ระดับวิตกจริต มีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับค่าวัด BIS และเชิงลบกับค่าวัด BAS[17][18]

จิตพยาธิวิทยา แก้

งานวิจัยพบว่า ความผิดปกติทางจิตมากมายสัมพันธ์กับระดับวิตกจริตที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มประชากรทั่วไป[3][19][20] รวมทั้งความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ต่าง ๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรควิตกกังวล ความผิดปกติเกี่ยวกับการรับประทาน (eating disorder) และโรคจิตเภท, และความผิดปกติอื่น ๆ รวมทั้ง schizoaffective disorder, dissociative identity disorder, และ hypochondriasis แต่ความผิดปกติทางอารมณ์ (mood) สัมพันธ์กับระดับวิตกจริต สูงกว่าความผิดปกติอย่างอื่น ๆ[3]

ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (Personality disorder) ดังที่มีรายชื่ออยู่ใน DSM-IV โดยทั่วไปสัมพันธ์กับระดับวิตกจริต ที่สูงขึ้น[3][21] งานวิเคราะห์อภิมานหนึ่งพบว่าความผิดปกติทางบุคลิกภาพต่าง ๆ รวมทั้งแบบก้ำกึ่ง แบบหวาดระแวง (paranoid) แบบจิตเภท (schizotypal) แบบหลีกเลี่ยง (avoidant) และแบบพึ่งพา (dependent) ล้วนแต่สัมพันธ์กับระดับวิตกจริตอย่างมีนัยสำคัญ (คือมีระดับสหสัมพันธ์ระหว่าง .28-.49) ส่วนความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่เหลือ คือ แบบหลงตัวเอง (narcissistic) และแบบ histrionic มีสหสัมพันธ์น้อยหรือไม่สำคัญกับระดับวิตกจริต

จิตวิทยาประสาท แก้

ระดับวิตกจริต ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับความแตกต่างทางกายภาพของสมอง ศ.จิตวิทยาทรงอิทธิพล ดร. ไอเซ็งก์ ตั้งทฤษฎีว่า วิตกจริต เป็นหน้าที่การงานของระบบลิมบิก และงานวิจัยของเขาบอกเป็นนัยว่า บุคคลที่มีคะแนนสูงทางวิตกจริต จะมีระบบประสาทซิมพาเทติกที่ไวปฏิกิริยา และดังนั้น บุคคลนั้นจะไวต่อสิ่งเร้าของสิ่งแวดล้อมมากกว่า[22] ส่วนนักวิจัยทางพันธุศาสตร์พฤติกรรมพบว่า ระดับต่าง ๆ กันของวิตกจริต ส่วนหนึ่งมีเหตุมาจากปัจจัยทางพันธุกรรม[23]

งานศึกษาปี 2007 ที่สร้างภาพสมองโดยใช้ PET พบว่า บุคคลปกติ (ที่ไม่เป็นโรคจิต) ที่ได้คะแนนสูงทางวิตกจริต (วัดโดย Revised NEO Personality Inventory) มีการยึดเหนี่ยวกับสารประกอบ altanserin ที่บริเวณด้านหน้าของระบบลิมบิก (frontolimbic region) ในระดับสูงกว่าคนอื่น ซึ่งเป็นตัวชี้ว่าบุคคลเหล่านี้มีหน่วยรับความรู้สึกประเภท 5-HT2A มากกว่าในบริเวณสมองนั้น[24] และงานวิจัยปี 1996 ก็แสดงว่า คนฆ่าตัวตายและคนไข้โรคซึมเศร้ามีหน่วยรับความรู้สึกประเภท 5-HT2A มากกว่าคนไข้อื่น ซึ่งบอกเป็นนัยว่า การมีหน่วยรับความรู้สึกประเภทนี้มากเกินไปอาจจะเกี่ยวข้องกับพยาธิกำเนิดของโรคซึมเศร้า[25]

ส่วนงานศึกษาอีกงานหนึ่งที่สร้างภาพสมองโดยใช้สารประกอบ DASB ที่ประกอบกับคาร์บอนกัมมันตรังสี (carbon-11) พบว่า บุคคลปกติ (ไม่มีโรคซึมเศร้า) ที่มีระดับวิตกจริต สูงมักจะมีการยึดเหนี่ยวกับ DASB ในบริเวณทาลามัส (ซึ่งมีส่วนของระบบลิมบิก) ในระดับที่สูงกว่า สาร DASB เป็นลิแกนด์ที่ยึดเหนี่ยวกับโปรตีนขนส่งเซโรโทนิน (serotonin transporter protein) อย่างเฉพาะเจาะจง[26] ดังนั้นจึงเป็นตัวชี้ว่า บุคคลปกติที่มีระดับวิตกจริต สูง มีโปรตีนขนส่งเซโรโทนินในทาลามัสในระดับที่สูงกว่า และโอกาสความเสี่ยงต่ออารมณ์เชิงลบอาจเกิดสัมพันธ์กันกับการทำงานในทาลามัส

งานศึกษาปี 2001 ที่สร้างภาพสมองด้วย MRI เพื่อวัดปริมาตรสมองพบว่า ปริมาตรสมองมีสหสัมพันธ์เชิงลบกับค่า วิตกจริต (วัดโดย Revised NEO Personality Inventory) แม้ว่าจะได้ควบคุมแก้ผลที่อาจมาจากปริมาตรของกะโหลกศีรษะ จากเพศ และจากอายุ[27] ส่วนงานศึกษาในปี 2009 พบว่า ระดับวิตกจริต ที่สูงกว่าสัมพันธ์กับการสูญเสียปริมาตรของสมองที่สูงกว่าเมื่อสูงวัยขึ้น[28]

มีงานศึกษาอื่น ๆ ที่สัมพันธ์ วิตกจริต กับความแตกต่างกันทางพันธุกรรม เช่น กับ 5-HTTLPR ซึ่งเป็นยีนที่มีภาวะพหุสัณฐาน โดยมีหน้าที่เข้ารหัสโปรตีนขนส่งเซโรโทนิน[29] ซึ่งเป็นโปรตีนเป้าหมายของยา selective serotonin reuptake inhibitor ที่ใช้สำหรับคนไข้โรคเศร้าซึมอย่างรุนแรง แต่ว่า ก็ยังมีงานศึกษาอื่น ๆ ที่ไม่พบความสัมพันธ์เช่นนี้[30] งานศึกษา GWA study หนึ่ง ได้สัมพันธ์นิวคลีโอไทด์เดียวที่มีภาวะพหุสัณฐาน (single-nucleotide polymorphism) ในยีน MDGA2 กับความวิตกจริต[31] แต่ขนาดผลต่าง (effect size) ที่พบค่อนข้างจะน้อย งานศึกษา GWA study อีกงานหนึ่งให้หลักฐานเป็นบางส่วนว่า ภาวะพหุสัณฐานของ rs362584 ในยีน SNAP25 สัมพันธ์กับระดับวิตกจริต[32]

งานทดลองปี 2008 ตรวจสอบการตอบสนองทางประสาทต่อสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน (ที่บุคคลที่มีคะแนนสูงทางวิตกจริต จะไม่ชอบ) มีการให้ผู้ร่วมการทดลองข้อมูลป้อนกลับแบบเชิงบวก แบบเชิงลบ และแบบไม่แน่นอน เกี่ยวกับงานที่ทำ และวัด feedback-related negativity (FRN) ซึ่งเป็นสัญญาณทางประสาทที่เกิดขึ้นประมาณ 250 มิลลิวินาทีหลังจากที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับ สำหรับผู้ร่วมการทดลองทุกคน FRN หลังจากการได้ข้อมูลป้อนกลับเชิงลบจะมากกว่าหลังจากที่ได้ข้อมูลเชิงบวก แต่ว่า สำหรับผู้ร่วมการทดลองที่มีความวิตกจริต ในระดับสูง ข้อมูลแบบไม่แน่นอนทำให้เกิดปฏิกิริยาสูงกว่าข้อมูลเชิงลบ[33]

ทฤษฎีสัญญาณรบกวนทางใจ (Mental-noise hypothesis) แก้

งานวิจัยต่าง ๆ พบว่า เวลาตอบสนองมัชฌิมของบุคคลที่มีความวิตกจริต ในระดับสูงจะไม่ต่างกับบุคคลที่มีในระดับต่ำ แต่ว่า คนที่มีความวิตกจริต ในระดับสูงจะมีค่าความผันแปร (variability) ของการตอบสนองในระหว่างการทดสอบมากกว่า โดยสะท้อนให้เห็นในค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของเวลาการตอบสนอง กล่าวอีกอย่างก็คือ ในการทดสอบบางคราว คนที่มีอารมณ์ไม่เสถียร จะตอบสนองเร็วกว่าค่ามัชฌิมมาก แต่ในการทดสอบอื่น ๆ ก็จะช้ากว่ามาก นักจิตวิทยาได้เสนอว่า ความผันแปรเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณรบกวน (noise) ในระบบประมวลข้อมูลของบุคคล หรือถึงความไม่เสถียรของการทำงานทางประชานขั้นพื้นฐานเช่นในระบบควบคุม และสัญญาณรบกวนเช่นนี้มีแหล่งเกิด 2 แหล่ง คือ การมีใจหมกหมุ่น (preoccupation) และกระบวนการไวตอบสนองต่าง ๆ (reactivity process)[34]

งานปี 2007 ศึกษาสัญญาณรบกวนในพฤติกรรมชีวิตประจำวันโดยใช้แบบคำถามวัดความขัดข้องทางประชาน (Cognitive Failures Questionnaire) ซึ่งเป็นการวัดแบบแจ้งเองของความถี่ที่เกิดการ "slip" (ผิด) และ "lapse" (พลาด) ของการใส่ใจ (และทั้งสองเป็นความขัดข้องทางประชาน) โดยการ "ผิด" เป็นการทำผิด และการ "พลาด" เป็นการไม่ได้ทำ แล้วตรวจสอบว่ามีสหสัมพันธ์กับระดับวิตกจริต วัดโดย BIS/BAS scales และ Eysenck Personality Questionnaire หรือไม่ นักวิจัยพบว่า คะแนนส่วน CFQ-UA (Cognitive Failures Questionnaire-Unintended Activation) ที่แสดงการทำงานที่ไม่ได้ตั้งใจ มีระดับสหสัมพันธ์สูงสุดกับความวิตกจริต (r = .40) เทียบกับค่าสหสัมพันธ์กับ CFQ โดยรวม (r = .26) ที่อยู่ในระดับสำคัญ หรือเทียบกับส่วนย่อยของ CFQ อื่น ๆ นักวิจัยเสนอว่า ผลที่พบ บอกเป็นนัยถึงความเป็นธรรมชาติจำกัดเฉพาะพิเศษของสัญญาณรบกวน ที่สัมพันธ์มากที่สุดกับการ "ผิด" ของการใส่ใจ ลั่นไกภายในโดยระบบความจำเชื่อมโยง (associative memory) หรือกล่าวอีกอย่างก็คือ อาจจะบอกเป็นนัยว่า สัญญาณรบกวนทางใจ โดยมากเป็นการทำงานทางประชานที่ไม่เกี่ยวกับสิ่งที่กำลังทำ เช่น ความกังวลใจหรือการมีใจหมกหมุ่น[35]

ความแตกต่างทางเพศ แก้

งานศึกษาหนึ่งพบว่า[36] โดยเฉลี่ย หญิงมีความวิตกจริต ในระดับสูงกว่าชายพอสมควร (moderate) นี่เป็นงานที่ศึกษาความแตกต่างระหว่างเพศ เกี่ยวกับลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง (Big Five personality traits) ในประเทศ 55 ประเทศ แล้วพบว่า เมื่อรวมกันทุกประเทศ ความแตกต่างระหว่างเพศที่ชัดที่สุดก็คือระดับวิตกจริต โดยมีค่าวัดแบ่งระดับเป็นมาก (large, d > .80) พอสมควร (moderate, d = .50-.80 ) น้อย (small, d = .20-.50) และไม่สำคัญ (negligible, d < .20) ในบรรดา 55 ประเทศ ไม่มีประเทศไหนเลยที่ชายมีระดับวิตกจริต สูงกว่าหญิงอย่างสำคัญ แต่หญิงมีระดับสูงกว่าชายอย่างสำคัญใน 48 ประเทศ โดย 2 ประเทศแตกต่างอย่างมาก (ประเทศอิสราเอลและโมร็อกโก), 17 ประเทศแตกต่างอย่างพอสมควร, 29 ประเทศแตกต่างกันน้อย, และ 7 ประเทศแตกต่างอย่างไม่สำคัญ (ประเทศบังกลาเทศ แทนซาเนีย เอธิโอเปีย กรีซ ญี่ปุ่น บอตสวานา และอินโดนีเซีย)

คนแอฟริกา เอเชีย และเอเชียใต้ มักจะมีความแตกต่างระหว่างเพศที่น้อยกว่าโดยทั่วไปเทียบกับประเทศตะวันตก (คือยุโรป อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้) แต่ผู้หญิงมักจะมีระดับวิตกจริต คล้าย ๆ กันในทุก ๆ เขตที่ศึกษา แต่ระดับของผู้ชายแตกต่างกันมาก คือ ชายในประเทศตะวันตกมักจะมีระดับวิตกจริต ที่ต่ำกว่า เทียบกับคนแอฟริกาและคนเอเชีย และโดยมากในประเทศที่มีระดับการพัฒนามนุษย์ที่ดี (ยกเว้นกรีซกับญี่ปุ่น) ผู้ชายจะมีระดับวิตกจริต ที่ต่ำกว่าอย่างสำคัญ

สหรัฐอเมริกา แก้

มีการสร้างแผนที่ระดับวิตกจริต และลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่างอื่น ๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา คนในรัฐด้านทิศตะวันออกเช่นรัฐนิวยอร์ก นิวเจอร์ซีย์ เวสต์เวอร์จิเนีย และมิสซิสซิปปี มักจะมีระดับวิตกจริต ที่สูงกว่า ในขณะที่คนในรัฐทิศตะวันตกเช่นยูทาห์ โคโลราโด เซาท์ดาโคตา ออริกอน และแอริโซนามักจะมีระดับต่ำกว่าโดยเฉลี่ย โดยที่บุคคลในรัฐที่มีระดับวิตกจริต สูงกว่ามักจะมีโรคระบบหัวใจหลอดเลือดในอัตราที่สูงกว่า และมีอายุขัยเฉลี่ยที่ต่ำกว่า[37]

จิตวิทยาวิวัฒนาการ แก้

ทฤษฎีหนึ่งในทฤษฎีทางวิวัฒนาการต่าง ๆ เกี่ยวกับความซึมเศร้าพุ่งความสนใจมาที่ความวิตกจริต คือ ความวิตกจริต ในระดับพอสมควรอาจมีประโยชน์ เช่นเพิ่มความมุ่งมั่นและประสิทธิผลในการทำงาน เพราะว่าไวต่อผลลบมากกว่า แต่ถ้ามีมากเกินไป ก็อาจจะลดระดับความเหมาะสม (fitness) เช่นเพราะทำให้เกิดความซึมเศร้าซ้ำ ๆ ดังนั้น กระบวนการวิวัฒนาการจะเลือกระดับที่เหมาะสมที่สุด และคนโดยมากจะมีความวิตกจริต ใกล้ ๆ ระดับนี้ แต่ว่า เพราะว่า ค่าวัดระดับวิตกจริต น่าจะกระจายเป็นแบบการแจกแจงปกติในประชากร ดังนั้น จะมีคนส่วนน้อยที่มีระดับวิตกจริต สูง[38]

ใน Core self-evaluations แก้

วิตกจริต เป็นมิติหนึ่งในสี่มิติของการประเมินตัวเองหลัก (core self-evaluations) ซึ่งรวม locus of control (ที่ตั้งการควบคุม), self-efficacy (ประสิทธิศักย์ของตน), และ self-esteem (การเคารพตน)[39] มีการศึกษาแนวคิดเช่นนี้เป็นครั้งแรกในปี 1997[39] และตั้งแต่นั้นมากก็ได้พบหลักฐานว่า เป็นแนวคิดที่สามารถพยากรณ์ผลต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำงานในอาชีพได้ โดยเฉพาะก็คือ พยากรณ์ความพอใจในงานและประสิทธิภาพการทำงาน[39][40][41][42][43]

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Thompson, E.R. (2008-10). "Development and Validation of an International English Big-Five Mini-Markers". Personality and Individual Differences. 45 (6): 542–548. doi:10.1016/j.paid.2008.06.013. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. Matthews, G; Deary, Ian J (1998). Personality traits. Cambridge, UK: Cambridge University Press.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Ormel J.; Jeronimus, B.F.; Kotov, M.; Riese, H.; Bos, E.H.; Hankin, B. (2013). "Neuroticism and common mental disorders: Meaning and utility of a complex relationship". Clinical Psychology Review. 33 (5): 686–697. doi:10.1016/j.cpr.2013.04.003. PMC 4382368. PMID 23702592.
  4. Hettema, J. M.; Neale, M. C.; Myers, J. M.; Prescott, C. A.; Kendler, K. S. (2006). "A population-based twin study of the relationship between Neuroticism and internalizing disorders". American journal of Psychiatry. 163 (5): 857–864. doi:10.1176/appi.ajp.163.5.857.
  5. "Personality correlates of male sexual arousal and behavior".[ลิงก์เสีย]
  6. Carducci, Bernardo J (2009-02-20). "The Psychology of Personality: Viewpoints, Research, and Applications". ISBN 978-1-4051-3635-8. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  7. Leese, Peter (2014). Shell Shock: Traumatic Neurosis and the British Soldiers of the First World War. Palgrave MacMillan. ISBN 978-1-137-45337-2. สืบค้นเมื่อ 2014-09-30.
  8. "extroversion". สืบค้นเมื่อ 2014-02-16. Concern with or an orientation toward others or what is outside oneself; behavior expressing such an orientation; the definitive character of an extrovert
  9. Passer, Michael W.; Smith, Ronald E. (2009). Psychology: the science of mind and behaviour. McGraw-Hill Higher Education. ISBN 978-0-07-711836-5.
  10. 10.0 10.1 Goldberg, L.R.; Johnson, JA; Eber, HW; และคณะ (2006). "The international personality item pool and the future of public-domain personality measures". Journal of Research in Personality. 40 (1): 84–96. doi:10.1016/j.jrp.2005.08.007.Full Article PDF (215 KB)
  11. Goldberg, L.R. (1992). "The development of markers for the Big-Five factor structure". Psychological Assessment. 4 (1): 26–42. doi:10.1037/1040-3590.4.1.26.Full Article PDF (2.47 MB)
  12. Saucier, G (1994). "Mini-Markers - a brief version of Goldberg's unipolar big-five markers". Journal of Personality Assessment. 63 (3): 506–516. doi:10.1207/s15327752jpa6303_8. PMID 7844738.Full Article PDF (436 KB)
  13. Piedmont, R.L.; Chae, J.H. (1997). "Cross-cultural generalizability of the five-factor model of personality - Development and validation of the NEO PI-R for Koreans". Journal of Cross-Cultural Psychology. 28 (2): 131–155. doi:10.1177/0022022197282001.
  14. Strack, S. (2006). Differentiating Normal and Abnormal Personality: Second Edition. New York, NY: Springer Publishing Company.
  15. Gray, JA (1981). A critique of Eysenck's theory of personality. A model for personality. pp. 246–276. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  16. Gray, JA (1982). The neuropsychology of anxiety: An enquiry into the functions of the septo-hippocampal system. ISBN 0-19-852090-5.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  17. Boksema, MAS; Topsa, M; Westera, AE; Meijmana, TF; Lorist, MM (2006-06). "Error-related ERP components and individual differences in punishment and reward sensitivity". Brain Research. 1101 (1): 92–101. doi:10.1016/j.brainres.2006.05.004. PMID 16784728. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  18. Carver, CS; White, TL (1994). "Behavioral Inhibition, Behavioral Activation, and Affective Responses to Impending Reward and Punishment: The BIS/BAS Scales". Journal of Personality and Social Psychology. 67 (2): 319–333. doi:10.1037/0022-3514.67.2.319.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  19. Malouff, JM; Thorsteinsson, EB; Schutte, NS (2005). "The relationship between the five factor model of personality and symptoms of clinical disorders". Journal of Psychopathology and Behavioral Assessment. 27 (2): 101–114. doi:10.1007/s10862-005-5384-y.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  20. Jeronimus, BF; Ormel, J; Aleman, A; Penninx, BWJH; Riese, H (2013). "Negative and positive life events are associated with small but lasting change in Neuroticism". Psychological Medicine. 43 (11): 2403–15. doi:10.1017/s0033291713000159.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  21. Saulsman, LM; Page, AC (2004). "The five-factor model and personality disorder empirical literature: A meta-analytic review". Clinical Psychology Review. 23 (8): 1055–1085. doi:10.1016/j.cpr.2002.09.001. PMID 14729423.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  22. Eysenck, Hans Jürgen; Eysenck, Michael W (1985). Personality and individual differences: A natural science approach. Perspectives on individual differences. Plenum Press (Springer). ISBN 0-306-41844-4.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  23. Viken, RJ; Rose, RJ; Kaprio, J; Koskenvuo, M (1994-04). "A developmental genetic analysis of adult personality: extraversion and Neuroticism from 18 to 59 years of age". Journal of Personality and Social Psychology. 66 (4): 722–30. doi:10.1037/0022-3514.66.4.722. PMID 8189349. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  24. Frøkjær, Vibe G; Mortensen, Erik L; Nielsen, Finn Årup; Haugbøl, Steven; Pinborg, Lars H; Adams, Karen H; Svarer, Claus; Hasselbalch, Steen G; Holm, Søren; Paulson, Olaf B; Knudsen, Gitte Moos (2007). "Frontolimbic Serotonin 2A Receptor Binding in Healthy Subjects Is Associated with Personality Risk Factors for Affective Disorder". Biological Psychiatry. 63 (6): 569–76. doi:10.1016/j.biopsych.2007.07.009. PMID 17884017.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  25. Eison, AS; Mullins, UL (1996). "Regulation of central 5-HT2A receptors: a review of in vivo studies". Behavioural Brain Research. 73 (1–2): 177–81. doi:10.1016/0166-4328(96)00092-7. PMID 8788498.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  26. Takano, Akihiro; Arakawaa, Ryosuke; Hayashia, Mika; Takahashia, Hidehiko; Itoa, Hiroshi; Suhara, Tetsuya (2007-09). "Relationship between Neuroticism personality trait and serotonin transporter binding". Biological Psychiatry. 62 (6): 588–592. doi:10.1016/j.biopsych.2006.11.007. PMID 17336939. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  27. Knutsona, Brian; Momenan, Reza; Rawlings, Robert R; Fong, Grace W; Hommer, Daniel (2001-11). "Negative association of Neuroticism with brain volume ratio in healthy humans". Biological Psychiatry. 50 (9): 685–690. doi:10.1016/S0006-3223(01)01220-3. PMID 11704075. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  28. Jackson, J.; Balota, D.; Head, D. (2009). "Exploring the relationship between personality and regional brain volume in healthy aging". Neurobiol Aging. 32 (12): 2162–2171. doi:10.1016/j.neurobiolaging.2009.12.009. ISSN 0197-4580. PMC 2891197. PMID 20036035. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |laysummary= ถูกละเว้น (help)
  29. Lesch, Klaus-Peter; Bengel, D; Heils, A; Sabol, SZ; Greenberg, BD; Petri, S; Benjamin, J; Muller, CR; Hamer, DH; Murphy, Dennis L (1996-11). "Association of anxiety-related traits with a polymorphism in the serotonin transporter gene regulatory region". Science. 274 (5292): 1527–1521. doi:10.1126/science.274.5292.1527. PMID 8929413. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  30. Jorm, AF; Henderson, AS; Jacomb, PA; Christensen, H; Korten, AE; Rodgers, B; Tan, X; Easteal, S (1998-09). "An association study of a functional polymorphism of the serotonin transporter gene with personality and psychiatric symptoms". Molecular Psychiatry. 3 (5): 449–441. doi:10.1038/sj.mp.4000424. PMID 9774781. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  31. van den Oord, EJ; Kuo, PH; Hartmann, AM; Webb, BT; Möller, HJ; Hettema, JM; Giegling, I; Bukszár, J; Rujescu, D (2008-09). "Genomewide Association Analysis Followed by a Replication Study Implicates a Novel Candidate Gene for Neuroticism". Archives of General Psychiatry. 65 (9): 1062–1071. doi:10.1001/archpsyc.65.9.1062. PMID 18762592. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  32. Terracciano, A; Sanna, S; Uda, M; Deiana, B; Usala, G; Busonero, F; Maschio, A; Scally, M; Patriciu, N; Chen, W-M; Distel, MA; Slagboom, EP; Boomsma, DI; Villafuerte, S; liwerska, ES; Burmeister, M; Amin, N; Janssens, ACJW; van Duijn, CM; Schlessinger, D; Abecasis, GR; Costa, PT Jr (2008-10). "Genome-wide association scan for five major dimensions of personality". Molecular Psychiatry. 15 (6): 647–56. doi:10.1038/mp.2008.113. PMC 2874623. PMID 18957941. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  33. Hirsh, JB; Inzlicht, M (2008). "The devil you know: Neuroticism predicts neural response to uncertainty". Psychological Science. 19 (10): 962–967. doi:10.1111/j.1467-9280.2008.02183.x.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  34. Robinson, MD; Tamir, M (2006). "Neuroticism as mental noise: a relation between Neuroticism and reaction time standard deviations". Journal of Personality and Social Psychology. 89 (1): 107–114. doi:10.1037/0022-3514.89.1.107. PMID 16060749.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  35. Flehmig, H.C; Steinborn, M; Langner, R; Westhoff, K. (2007). "Neuroticism and the mental noise hypothesis: Relationships to lapses of attention and slips of action in everyday life" (PDF). Psychology Science. 49 (4): 343–360.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  36. Schmitt, David P.; Realo, A.; Voracek, M.; Allik, J. (2008). "Why can't a man be more like a woman? Sex differences in big five personality traits across 55 cultures" (PDF). Journal of Personality and Social Psychology. 94 (1): 168–182. doi:10.1037/0022-3514.94.1.168. PMID 18179326.
  37. Simon, Stephanie (2008-09-23). "The United States of Mind. Researchers Identify Regional Personality Traits Across America". WSJ.com. Original research article: Rentfrow, Peter J; Gosling, Samuel D; Potter, Jeff (2008). "A Theory of the Emergence, Persistence, and Expression of Geographic Variation in Psychological Characteristics". Perspectives on Psychological Science. 3 (5): 339–369. doi:10.1111/j.1745-6924.2008.00084.x. PMID 26158954.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  38. Allen, N.; Badcock, P. (2006). "Darwinian models of depression: A review of evolutionary accounts of mood and mood disorders". Progress in Neuro-Psychopharmacology and Biological Psychiatry. 30 (5): 815–826. doi:10.1016/j.pnpbp.2006.01.007. PMID 16647176.
  39. 39.0 39.1 39.2 Judge, TA; Locke, EA; Durham, CC (1997). "The dispositional causes of job satisfaction: A core evaluations approach". Research in Organizational Behavior. 19: 151–188.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  40. Bono, JE; Judge, TA (2003). "Core self-evaluations: A review of the trait and its role in job satisfaction and job performance". European Journal of Personality. 17 (Suppl 1): S5–S18. doi:10.1002/per.48.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  41. Dormann, C; Fay, D; Zapf, D; Frese, M (2006). "A state-trait analysis of job satisfaction: On the effect of core self-evaluations". Applied Psychology: An International Review. 55 (1): 27–51. doi:10.1111/j.1464-0597.2006.00227.x.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  42. Judge, TA; Locke, EA; Durham, CC; Kluger, AN (1998). "Dispositional effects on job and life satisfaction: The role of core evaluations". Journal of Applied Psychology. 83 (1): 17–34. doi:10.1037/0021-9010.83.1.17. PMID 9494439.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  43. Judge, TA; Bono, JE (2001). "Relationship of core self-evaluations traits—self-esteem, generalized self-efficacy, locus of control, and emotional stability—with job satisfaction and job performance: A meta-analysis". Journal of Applied Psychology. 86 (1): 80–92. doi:10.1037/0021-9010.86.1.80. PMID 11302235.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)