วิชัย ล้ำสุทธิ (เกิด 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2510) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นอดีตประธานคณะกรรมาธิการการส่งเสริมราคาผลิตผลเกษตรกรรม ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 และอดีตเลขาธิการพรรคไทยภักดี

วิชัย ล้ำสุทธิ
เลขาธิการพรรคไทยภักดี
ดำรงตำแหน่ง
24 สิงหาคม พ.ศ. 2564 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2564
ถัดไปพลตำรวจโท ชาญเทพ เสสะเวช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 (57 ปี)
อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2549–2562)
พลังประชารัฐ (2562–2564)
ไทยภักดี (2564–2565)
เพื่อไทย (2565–ปัจจุบัน)

ประวัติ

แก้

วิชัย ล้ำสุทธิ เกิดเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนปทุมคงคา กรุงเทพฯ และปริญญาตรี นิติศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

การทำงาน

แก้

วิชัย ล้ำสุทธิ เข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง ครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เขตเลือกตั้งที่ 1 คู่กับ สาธิต ปิตุเตชะ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก

ต่อมาในปี 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง ในเขตเลือกตั้งที่ 4 อำเภอเมืองระยอง (เฉพาะเทศบาลเมืองมาบตาพุด, เทศบาลตำบลทับมา, และเทศบาลตำบลเนินพระ) อำเภอนิคมพัฒนา (เฉพาะเทศบาลตำบลมาบข่าพัฒนา และเทศบาลตำบลมาบข่า) และอำเภอบ้านฉาง และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการส่งเสริมราคาผลิตผลเกษตรกรรมในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24[1]

ก่อนการเลือกตั้งมีข่าวว่าเขาจะย้ายไปร่วมงานกับกลุ่มสามมิตร แต่เจ้าตัวปฏิเสธ [2] กระทั่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาถูกจัดให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 57 ส่งผลให้เขาไม่พอใจเป็นอย่างมากและตัดสินใจยื่นหนังสือลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ โดยวิชัย เป็นสมาชิกในกลุ่มที่สนับสนุน วรงค์ เดชกิจวิกรม ในการเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่มีขึ้นก่อนการเลือกตั้ง[3][4] ต่อมาเขาได้เข้าร่วมงานกับกลุ่มสามมิตร พรรคพลังประชารัฐ และเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ)[5]

ในปี 2564 ร่วมกับ วรงค์ เดชกิจวิกรม ยื่นจดทะเบียนพรรคไทยภักดี[6] และเขาเป็นเลขาธิการพรรค[7][8] แต่ก็ได้ลาออกจากตำแหน่งและสมาชิกพรรค ในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน[9]

ในปี 2566 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย[10] แต่ในระยะแรกเขาถูกกระแสต่อต้านจากกลุ่มผู้สนับสนนพรรคเพื่อไทยบางส่วน[11] จนเขาต้องออกมาแถลงขอโทษทักษิณ ชินวัตร และขอพิสูจน์ตัวเอง[12] ในที่สุดเขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ระยอง ในสังกัดพรรคเพื่อไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ร้องรัฐเบี้ยวจ่ายเงินจำนำมันสำปะหลัง
  2. อดีตส.ส.ปชป.รับไปกินข้าวกับ'สุริยะ-สมศักดิ์'แต่ยืนยันไม่ย้ายพรรค
  3. 'วิชัย ล้ำสุทธิ' ขอลาออกจากพรรคปชป. หลังไม่ได้ลงส.ส.เขต
  4. เปิดใจ วิชัย อดีต ส.ส.ระยอง ปชป. "ถูกฆ่าทางการเมือง"หลังเปิดตัวหนุนหมอวรงค์ เป็นหัวหน้าพรรค
  5. พยัคฆ์อีอีซี สายตรงป่ารอยต่อ
  6. ยื่นตั้งแล้ว"พรรคไทยภักดีประเทศไทย"
  7. ใครเป็นใคร? 6 กรรมการฯ “ไทยภักดี” ส่องฐานทุน-คอนเนคชั่น “สามมิตร”
  8. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคไทยภักดี
  9. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคไทยภักดี
  10. วิชัย-ขจรศักดิ์ เปิดใจสาเหตุย้ายขั้วเข้าเพื่อไทย ขอโทษคนเสื้อแดง-อดีตนายกฯ
  11. สามนิ้วรับไม่ได้!!! 'ไมค์ ระยอง'ร่อนหนังสือถึง พท.จี้ทบทวนส่ง'วิชัย'อดีต กปปส.ลงส.ส.
  12. "วิชัย - ขจรศักดิ์" ตาสว่างแถลงขอโทษ "ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์" ที่เคยล่วงเกิน พร้อมพิสูจน์ตัวเองเดินหน้าสู่แลนด์สไลด์
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๖๑, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓