วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/หัวข้อที่ถูกเสนอ

แม่แบบปัจจุบัน (หน้าหลัก)
เสนอบทความ
อภิปราย
พื้นที่เตรียมการ
กรุ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่หน้าเสนอรู้ไหมว่า ซึ่งจะเป็นเนื้อหาที่ปรากฏบนหน้าหลักของวิกิพีเดีย ในส่วนรู้ไหมว่า โดยผู้ใช้วิกิพีเดียจะนำเนื้อหาที่ถูกเสนอตามรายชื่อด้านล่างนี้ไปแสดงผลเป็นระยะ ๆ (โดยปกติมักจะเป็นเวลา 7 หรือ 14 วัน)

ในหน้านี้ผู้ใช้ลงทะเบียนทุกคนมีสิทธิเสนอข้อความและทบทวนได้ เนื้อหาที่นำเสนอต้องเป็นบทความสร้างใหม่หรือบทความปรับปรุงใหม่ที่ขยายบทความเดิมอย่างมีนัยสำคัญ สิ่งที่กล่าวถึงเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาภายในบทความนั้นเอง บทความเก่าแม้ว่าจะมีความน่าสนใจก็ตามถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์เพราะหน้านี้มีจุดประสงค์เพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงล่าสุดและส่งเสริมให้มีการแก้ไขบทความอย่างต่อเนื่อง

หลักเกณฑ์บทความ

  • เป็นบทความที่เพิ่งสร้างใหม่ไม่เกิน 2 สัปดาห์นับจากวันที่เสนอ (ดูรายชื่อ) บทความนั้นต้องมีคำ (ไม่รวมอักขระที่เป็นโค้ด แม่แบบ ตาราง ฯลฯ) มากกว่า 400 คำ หรือมีขนาด 10,000 ไบต์ขึ้นไป (แล้วแต่ข้อไหนผ่านก่อน) หรือ
  • เป็นบทความที่เพิ่มข้อมูลจนยาวกว่าเดิมอย่างน้อยสองเท่า ภายใน 14 วัน

รูปแบบข้อความที่เสนอ

  • เนื้อหาที่เสนอต้องเป็นไปตามนโยบาย ทั้งมุมมองที่เป็นกลาง และไม่ใช่การประกาศ ปราศรัย โฆษณาชวนเชื่อ ตลอดจนไม่ใช่รายงานข่าว
  • ข้อความที่เสนอมีความน่าสนใจ ไม่ควรเป็นเพียงการเสนอคำนิยาม
  • ข้อความที่เสนอต้องมีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือกำกับในบทความ และต้องเป็นแหล่งอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (inline citation)
  • รูปแบบการเสนอควรใช้ข้อความที่สั้น กระชับ และได้ใจความ รวมถึงมีลักษณะที่เขียนต่อจากคำว่า รู้ไหมว่า...
  • ในข้อความที่เสนอต้องไม่มีลิงก์แดง
  • ไม่นำเรื่องในหมวดหมู่เดียวกัน เช่น ฟุตบอล ประเทศหนึ่ง ๆ หรือศาสนาหนึ่ง ๆ ขึ้นในรอบเดียวกัน

ได้รับการตรวจสอบแล้ว แก้

คิว 1

คิว 2
 
เจดีย์หมื่นพุทธะ วัดเก๊กล๊อกซี
  • ...เจดีย์หมื่นพุทธะของวัดเก๊กล๊อกซี (ในภาพ) ในมาเลเซีย ประกอบด้วยองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของจีน พม่า และไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันของพุทธศาสนาแบบเถรวาทและมหายาน
  • ...พิพิธภัณฑ์ยูโกสลาเวียซึ่งเป็นที่ตั้งของสุสานของผู้นำยูโกสลาเวีย ยอซีป บรอซ ตีโต เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มียอดผู้เข้าชมสูงที่สุดของเซอร์เบีย
  • ...
  • ...
  • ...
  • ...

คิว 3
 
เด็กชายชาวเนปาลสวมฒากาโฏปี
  • ...กษัตริย์มเหนทระประกาศบังคับให้ชายชาวเนปาลทุกคนต้องสวมหมวกฒากาโฏปี (ในภาพ) ในการถ่ายภาพทางราชการ และทำให้หมวกนี้ได้รับความนิยมจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแต่งกายประจำชาติในเวลาต่อมา
  • ...พิพิธภัณฑ์มาเตนาดารานในอาร์มีเนีย ซึ่งได้รับการบรรยายไว้ว่า "มหึมา" และ "เป็นพระราชวัง" เคยต้องหยุดก่อสร้างไปถึงเจ็ดปีเนื่องจากขาดแคลนแรงงานฝีมือ
  • ...
  • ...
  • ...
  • ...

คิว 4
[[File:|140px | ]]
  • ...
  • ...
  • ...
  • ...
  • ...
  • ...

เสนอรู้ไหมว่า แก้

 
รัฐที่ได้ร่วมลงนามและให้สัตยาบันเป็นภาคีในสนธิสัญญาราโรโตงา
  • ...สนธิสัญญาราโรโตงา เป็นการตกลงอย่างเป็นทางการในการจัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคแปซิฟิกตอนใต้มีภาคีร่วมกัน 13 รัฐ (ในภาพ) มีผลบังคับใช้เมื่อ ค.ศ. 1986
  • ... หลังจากแผ่นดินไหวที่ทาชเคนต์ใน พ.ศ. 2509 ซึ่งทำลายส่วนใหญ่ของเมือง ทาชเคนต์ได้รับการสร้างขึ้นใหม่ในรูปแบบสถาปัตยกรรมโซเวียตมากขึ้น

รอปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ แก้