อารามนักบุญแคเธอริน

อารามนักบุญแคเธอริน (อาหรับ: دير القدّيسة كاترين Dayr al-Qiddīsa Katrīn; กรีก: Μονὴ τῆς Ἁγίας Αἰκατερίνης, Saint Catherine's Monastery) หรือชื่อทางการ อารามหลวงอิสระนักบุญแคเธอรินอันเป็นที่สักการะแห่งเขาซีนายอันศักดิ์สิทธิ์ที่ซึ่งพระเป็นเจ้าเคยเสด็จผ่าน (อังกฤษ: Sacred Autonomous Royal Monastery of Saint Catherine of the Holy and God-Trodden Mount Sinai) เป็นอารามในศาสนาคริสต์ ที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรซีนาย ประเทศอียิปต์ โดยตั้งอยู่ที่เชิงเขาซีนาย และสร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 548 ถึง 565 ถือเป็นอารามคริสต์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่มีการอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่อง[1][2][3]

อารามนักบุญแคเธอริน
อารามนักบุญแคเธอริน มองจากเขาซีนาย
อารามนักบุญแคเธอรินตั้งอยู่ในคาบสมุทรไซนาย
อารามนักบุญแคเธอริน
Location within คาบสมุทรไซนาย
อารามนักบุญแคเธอรินตั้งอยู่ในประเทศอียิปต์
อารามนักบุญแคเธอริน
อารามนักบุญแคเธอริน (ประเทศอียิปต์)
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อเต็มอารามหลวงอิสระนักบุญแคเธอรินอันเป็นที่สักการะแห่งเขาซีนายอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งพระเป็นเจ้าเคยเสด็จผ่าน
กรีก: Ιερά Αυτόνομος Βασιλική Μονή Αγίας Αικατερίνης του Αγίου και Θεοβαδίστου Όρους Σινά
ชื่ออื่นอารามนักบุญแคเธอริน
Moni tis Agias Aikaterinis
นิกายคริสต์จักรซีนาย
Denominationกรีกออร์โธดอกซ์
ตั้งขึ้นเมื่อค.ศ. 565
บุคคลที่เกี่ยวข้อง
ผู้ก่อตั้งยุสตีเนียนที่หนึ่ง
ที่ตั้ง
ที่ตั้งเซนต์แคเธอริน รัฐซีนายใต้ ประเทศอียิปต์
ประเทศอียิปต์
พิกัด28°33′20″N 33°58′34″E / 28.55556°N 33.97611°E / 28.55556; 33.97611
ซากที่คงเหลือนักบุญแคเธอรินแห่งอะเล็กซานเดรีย
เว็บไซต์www.sinaimonastery.com
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนเขตเซนต์แคเธอริน
ประเภทวัฒนธรรม
เกณฑ์i, iii, iv, vi
ขึ้นเมื่อ2002 (26th session)
เลขอ้างอิง954
ภาครัฐอาหรับ

อารามนี้สร้างขึ้นตามดำริของจักรพรรดิบีแซนทีน ยุสตีเนียนที่หนึ่ง โดยสร้างขึ้นล้อมรอบจุดที่เชื่อกันว่าเป็นพุ่มไม้ที่ลุกเป็นไฟที่โมเสสเห็นตามในพระคัมภีร์[4][5] หลายศตวรรษถัดมา ร่างของนักบุญแคเธอรินแห่งอะเล็กซานเดรียซึ่งว่ากันว่าถูกฝังไว้ในพื้นที่แถชนี้ได้รับการเคลื่อนย้ายมายังอารามนี้ เรลิกของนักบุญแคเธอรินได้ทำให้อารามนี้กลายมาเป็นแหล่งแสวงบุญสำคัญในเวลาต่อมา

อารามนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของคริสต์จักรซีนายซึ่งเป็นคริสต์จักรอิสระ (autonomous) และเป็นส่วนหนึ่งของคริสต์จักรกรีกออร์ทอดอกซ์ ในปี 2002 ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนให้อารามนี้เป็นแหล่งมรดกโลกเนื่องด้วยความสำคัญต่อทั้งศาสนาคริสต์, อิสลาม และ ยูดาย[6][7]

ภายในอารามยังมีหอสมุดที่ถือว่าเป็นหอสมุดที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่เปิดให้บริการโดยต่อเนื่องถึงปัจจุบัน[8] ภายในเก็บรักษาชิ้นงานสำคัญมากมาย เช่น โคเด็กซ์ซีนายตีกุส และ ซีนายตีกุสซีเรีย[9][8] นอกจากงานเขียนแล้วยังมีรูปเคารพในศาสนาคริสต์ยุคแรกซึ่งรวมถึงรูปพระเยซูที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งคือรูปพระคริสต์ผู้ทรงสรรพานุภาพ

อารามล้อมรอบด้วยเขาสามลูกที่อยู่ใกล้กัน ได้แก่ เขาต้นหลิว (เป็นไปได้ว่าคือเขาโฮเรบในพระคัมภีร์), เขาเยเบลอัรเรนซีเยบ และเขาซีนาย ซึ่งเชื่อว่าคือเขาซีนายเดียวกับที่ปรากฏในพระคัมภีร์[10]

ประวัติศาสตร์

แก้

บันทึกเก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับชีวิตอารามวาสีในเขาซีนายมาจากบันทึกการเดินทางภาษาละตินของสตรีผู้แสวงบุญ นามว่าเอเกริยา (หรือ เอเธริยา, Etheria; นักบุญซิลเวียแห่งอะกีเตน) ราวปี 381/2–386[11][12]

อารามสร้างขึ้นโดยดำริของจักรพรรดิยุสตีเนียนที่หนึ่ง (ครองราชย์ 527–565) โดยสร้างขึ้นล้อมรอบโบสถ์น้อยแห่งพุ่มไม้ที่ลุกเป็นไฟ (Chapel of the Burning Bush) (หรือ โบสถ์น้อยนักบุญเฮเลน "Saint Helen's Chapel") ซึ่งสร้างตามดำริของจักรพรรดินีเฮเลนา พระวรชายา ผู้เป็นมารดาของจักรพรรดิคอนซตันตินมหาราช ตรงจุดที่เชื่อว่าโมเสสพบพุ่มไม้ลุกเป็นไฟตามพระคัมภีร์[4][5] โครงสร้างเสาค้ำหลังคา (truss) แบบคิงโปสต์ของอารามถือเป็นเสาค้ำหลังคาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังคงหลงเหลือถึงปัจจุบัน[13]

อ้างอิง

แก้
  1. Din, Mursi Saad El et al.. Sinai: The Site & The History: Essays. New York: New York University Press, 1998. p. 80. ISBN 0814722032
  2. Jules Leroy; Peter Collin (2004). Monks and Monasteries of the Near East. Gorgias Press. pp. 93–94. ISBN 978-1-59333-276-1.
  3. "St Catherine Monastery – The Oldest in the World". KEEP CALM and WANDER (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-05-24. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.
  4. 4.0 4.1 Schrope, Mark (September 6, 2012). "In the Sinai, a global team is revolutionizing the preservation of ancient manuscripts". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ July 2, 2018.
  5. 5.0 5.1 "Is the Burning Bush Still Burning?". Friends of Mount Sinai Monastery (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ July 2, 2018.
  6. Georgiou, Aristos (December 20, 2017). "These spectacular ancient texts were lost for centuries, and now they can be viewed online". International Business Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 2, 2018.
  7. "Saint Catherine Area". UNESCO World Heritage Centre. United Nations Educational, Scientific, and Cultural Organization. สืบค้นเมื่อ 7 September 2021.
  8. 8.0 8.1 "Sinai Palimpsests project". sinai.library.ucla.edu.
  9. Sebastian P. Brock, Two Hitherto Unattested Passages of the Old Syriac Gospels in Palimpsests from St Catherie's Monastery, Sinai, Δελτίο Βιβλικῶν Μελετῶν 31A, 2016, pp. 7–18.
  10. "Visit Saint Catherine Monastery, Egypt". visitafrica.site (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-27. สืบค้นเมื่อ 2020-09-25.
  11. John Wilkinson (2015), Egeria's travels (Oxford: Oxbow Books). ISBN 978-0-85668-710-5
  12. "The Pilgrimage of Egeria". www.ccel.org. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.
  13. Feilden, Bernard M.. Conservation of historic buildings. 3rd ed. Oxford: Architectural Press, 2003. p. 51. ISBN 0750658630