วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/สังคมศาสตร์และประวัติศาสตร์/เมษายน 2552

วิธีการเปลี่ยนชื่อที่ใม่ใช่เขตพื้นที่ตามสำเนาทะเบียนบ้านต้องทำอย่างไร

--ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.80.239.117 (พูดคุย | ตรวจ) 03:20, 1 เมษายน 2552 (ICT)

  • ถ้าคุณหมายถึง ชื่อจริง ของคนคนนั้น (เช่น สมมติว่าชื่อจริงเหมือนชื่อนักการเมืองที่ตนเองไม่ชอบ ต้องการเปลี่ยนเป็นชื่ออื่น อย่างนี้เป็นต้น) กรณีบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ผมคิดว่าสามารถแจ้งเปลี่ยนชื่อตัวเองได้ทันที
  • เดิมที ผมคิดว่าน่าจะสามารถแจ้งนอกเขตพื้นที่ได้ หากยื่นหลักฐานว่าคุณเป็นตัวจริงและต้องการเปลี่ยนชื่อ เนื่องจากหน่วยงานทะเบียนราษฎร์ต่างๆ ออนไลน์กันหมดแล้วในปัจจุบัน (ถ้าผมใช้คำบางคำผิดเพี้ยนไปก็ขออภัยนะครับ)
  • แต่ในความเป็นจริง จากการเข้าเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น
  • ได้ระบุไว้ว่า ยังไม่สามารถแจ้งนอกเขต (ตามทะเบียนบ้าน) ของตนได้ครับ (คือให้ยื่นต่อนายทะเบียน ของท้องที่ที่ผู้ยื่นมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ทะเบียนบ้านอยู่ในท้องที่นั้น))--lovekrittaya gwperi 12:38, 1 เมษายน 2552 (ICT)

สังคมศาสตร์

ประวัติความเป็นมาของสังคมศาสตร์ --202.28.123.253 11:30, 19 เมษายน 2552 (ICT)นักศึกษา

ฟ้าน้อย

ขอทราบว่าพระราชธิดาของรัชกาลที่ 5 ที่มีพระนามว่า(ฟ้าน้อย)หมายถึงพระราชธิดาพระองค์ใด--58.136.227.51 23:06, 20 เมษายน 2552 (ICT)

ศาสนาคริสต์

มีความเชื่อและศรัทธาต่อพระเป็นเจ้า พระเยซู พระจิตเจ้า และรวมหลักปฏิบัติในการดำรงชีวิตไว้ในหนึ่งประโยคคือ "รักผู้อื่นเหมือนรักตนเอง" --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.8.112.55 (พูดคุย | ตรวจ) 16:32, 27 เมษายน 2552 (ICT)

61.91.163.33 หวาน61.91.163.33

มีประวัดและภาพของกําเหลงไม้คับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 61.19.65.166 (พูดคุย | ตรวจ) 09:24, 23 เมษายน 2552 (ICT)

ดูที่ กำเหลง โลด --Summer Memories 16:27, 23 เมษายน 2552 (ICT)

เอกสารเกี่ยวกับกรุ๊ปเลือด

เอ่อ รบกวนด้วยคะ อยากทราบว่า เอกสารอะไรบ้างคะ ที่มีข้อมูลกรุ๊ปเลือดของเราอยู่ จำป็นคะ ขอบพระคุณคะ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.9.98.23 (พูดคุย | ตรวจ) 14:22, 24 เมษายน 2552 (ICT)

เท่าที่ทราบก็บัตรประชาชน แล้วก็พวกระเบียนประวัติของโรงพยาบาล --Octra Dagostino 16:15, 25 เมษายน 2552 (ICT)

  • บนบัตรประชาชน(แบบ)ของผมไม่มีนะครับ (เข้าใจว่าบัตรประชาชนของไทยมีหลายแบบ เช่นแบบเก่าหรือแบบใหม่ เป็นต้น แต่แบบของผมนี้ไม่มี บัตรผมออกเมื่อ 3 เม.ย. 2549 ครับ) --202.28.27.3 16:44, 25 เมษายน 2552 (ICT)

แบบเก่ามีพิมพ์ไว้เลยครับ ส่วนแบบใหม่ (บัตรแข็ง) ข้อมูลจะอยู่ในชิพ --Octra Dagostino 17:11, 25 เมษายน 2552 (ICT)

  • ขอบคุณครับ --202.28.27.5 13:26, 26 เมษายน 2552 (ICT)

ความเหมือนความแตกต่างรัฐธรรมนูญ 2540/2550

อยากทราบความเหมือนและความแตกต่างของรัฐธรรมนูญ 2540/2550 ที่เกี่ยวข้องกับ อปท.มีมาตราไหนบ้าง

ทิพย์----------------- --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 61.19.212.86 (พูดคุย | ตรวจ) 04:39, 27 เมษายน 2552 (ICT)

รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แตกต่างจากฉบับ พ.ศ. 2540 อยู่หลายประการ ดังจะเห็นว่ามีการถอดรื้อโครงสร้าง เช่น สิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ องค์กรอิสระ อำนาจตุลาการ การเงินการคลังงบประมาณ ฯลฯ

รัฐธรรมนูญ 2540 ได้รับการกล่าวขานว่ามีความก้าวหน้าเนื่องจากนำแนวคิดใหม่ ๆ ที่ลอกเลียนจากต่างประเทศมาใช้ แต่เมื่อบังคับใช้จริงก็ดูจะไม่ค่อยสอดคล้องกับวัฒนธรรมการเมืองไทย เพราะเกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวงขนาดใหญ่ การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางทั้งกรณีการฆ่าตัดตอน 2 พันศพ อุ้มฆ่าแกนนำภาคประชาชนที่ต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมในพื้นที่ เช่น กรณีของ สมชาย นีละไพจิตร นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ 2540 ถูกวิจารณ์ว่าทำให้ฝ่ายการเมืองเข้มแข็งเกินไปจนเกิดระบบผู้นำกึ่งประธานาธิบดี รัฐธรรมนูญ 2550 จึงถูกวิจารณ์ว่ามีอคติต่อ "ระบอบทักษิณ" ที่มีคำอธิบายว่าเป็นเผด็จการทุนนิยม ใช้อำนาจผ่านพรรคการเมืองใหญ่ ทำให้เกิดผู้นำเดี่ยวที่สามารถใช้อำนาจได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ละเลยต่อเสียงปัญญาชนในสังคม สุดท้ายจึงสร้างปัญหาต่อระบอบประชาธิปไตยจนก่อตัวเป็นวิกฤตการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงมีข้อห้ามต่าง ๆ ที่เป็นพฤติกรรมของระบอบทักษิณ เช่น ห้ามควบรวมพรรคการเมืองในระหว่างอายุของสภาผู้แทนราษฎร การทำเอฟทีเอต้องฟังความเห็นจากรัฐสภา เข้มงวดต่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและจริยธรรมของนักการเมือง สร้างมาตรการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นต้น

จุดแข็งของรัฐธรรมนูญ 2550 คือบทบัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่น รัฐต้องจัดสวัสดิการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนทุกชนชั้น ผู้ยากไร้ ผู้พิการ ทุพพลภาพต้องได้รับการศึกษาทัดเทียมบุคคลอื่น ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย ผู้สูงอายุ ไม่มีรายได้เพียงพอ ต้องได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ ให้สิทธิประชาชนได้รับหลักประกันและสวัสดิภาพในการทำงาน ให้สิทธิแก่ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐในการรวมกลุ่มเพื่อปกป้องสิทธิ์ของตน ที่สำคัญคือให้มีผลบังคับทันที ต่างจากรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ระบุข้อความท้ายมาตราต่างๆ ว่า "ทั้งนี้ ตามที่ กฎหมายบัญญัติ" หมวดที่ได้รับการบัญญัติขึ้นมาใหม่ เช่น "สิทธิชุมชน" ชุมชนสามารถปกป้องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรท้องถิ่นของตน หรือการกำหนดให้รัฐต้องจัดให้มีการรับฟังความเห็นหากโครงการก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตหรือทรัพยากรธรรมชาติ หมวด "การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน" ให้ประชาชนเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย หรือถอดถอนนักการเมืองที่ประพฤติมิชอบได้ง่ายขึ้น ประชาชนมีโอกาสยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญได้โดยตรง รวมถึงการ ให้รัฐต้องจัดให้มีกฎหมายการจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ฯลฯ

หมวด "แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ" มีสภาพบังคับให้รัฐต้องทำซึ่งต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ที่จะทำหรือไม่ก็ได้ เพิ่มเนื้อหามุ่งกระจายความเป็นธรรมในสังคม และปกป้องทรัพย์สินของชาติ เช่น ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีอากร การปฏิรูปที่ดิน จัดให้มีการวางผังเมืองเพื่อให้เกษตรกรมีสิทธิในที่ดินอย่างทั่วถึง คุ้มครองสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานไม่ให้เกิดการผูกขาด หรือ หากรัฐบาลจะทำสนธิสัญญาที่มีผลต่อความมั่นคงทางสังคมหรือเศรษฐกิจ เช่น เอฟทีเอต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน จุดเด่นอื่น ๆ คือ มาตรการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนที่เข้มแข็งขึ้น เช่น ห้ามนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี รวมถึงภรรยาและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท กำหนดให้ ส.ส. และ ส.ว. ตลอดจนคู่สมรสและบุตร ห้ามรับหรือแทรกแซงสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม กำหนดให้ ส.ส. และ ส.ว. แสดงบัญชีทรัพย์สิน จากเดิมที่กำหนดเฉพาะนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี และได้เพิ่มหมวด "จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ" สร้างกลไกควบคุมการใช้อำนาจให้เป็นไปโดยสุจริตและเป็นธรรม นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงระบบตรวจสอบโดยรื้อที่มาองค์กรอิสระทั้งหมด ป้องกันไม่ให้ฝ่ายการเมืองแทรกแซงกระบวนการสรรหาอย่างที่เกิดขึ้นในอดีต

อย่างไรก็ตาม มีข้อท้วงติงในประเด็นโครงสร้างของสถาบันการเมือง เช่น ที่มาของ ส.ส. และ ส.ว. หรือการให้อำนาจฝ่ายตุลาการเข้ามาแก้ปัญหาฉ้อฉลทางการเมือง ด้วยการเพิ่มบทบาทในการคัดเลือกผู้ทำหน้าที่องค์กรอิสระ และร่วมสรรหา ส.ว. จำนวน 74 คน เป็นที่มาของข้อครหาว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับอำมาตยาธิปไตย ที่ให้อำนาจชนชั้นนำกับขุนนางผ่านทางวุฒิสภาและตุลาการเพื่อสร้างฐานอำนาจ แต่คำชี้แจงอีกด้านกล่าวว่า สภาพวัฒนธรรมการเมืองไทยในปัจจุบัน การให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง 100% โดยหวังว่าจะปลอดจากการครอบงำของพรรคการเมืองคงยังไม่เกิดขึ้นง่าย ๆ ดังจะเห็นได้จากการเลือกตั้ง ส.ว. สองครั้งที่ผ่านมาซึ่งอยู่ในสภาพ "สภาผัวเมีย-สภาบริวาร" ขณะที่การสรรหา ส.ว.อาจได้ตัวแทนหลายสาขาอาชีพกว่า ทำให้การทำงานด้านนิติบัญญัติมีประสิทธิภาพ อีกประเด็นหนึ่งคือการเปลี่ยนระบบเลือกตั้ง ส.ส. ไปใช้แบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ เป็นที่เกรงกันว่าจะทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอเพราะผู้สมัครในพรรคเดียวกันจะแย่งคะแนนกันเอง และการทุ่มเงินซื้อเสียงจะมีมากขึ้นเมื่อเทียบกับระบบเขตเดียวคนเดียว โครงสร้างการเมืองใหม่ที่ลดการผูกขาดอำนาจ มีมาตรการตรวจสอบมากมาย และให้สิทธิประชาชนฟ้องร้องศาลรัฐธรรมนูญหากรัฐไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ อาจส่งผลให้เสถียรภาพของรัฐบาลใหม่อ่อนแอลง แต่ผู้ร่างชี้แจงว่ากติกาเช่นว่านี้บังคับให้รัฐบาลต้องตอบสนองประชาชน หากละเมิดต่อหลักรัฐธรรมนูญก็จะอยู่ลำบาก

อ้างอิงจากวิกีพีเดียจากบทความเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

สงครามโลก

สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้งทีสองแตกต่างกันอย่างไร--118.175.181.83 17:34, 29 เมษายน 2552 (ICT)เพ็ญนภา

มีความต่างกันหลายประการเช่น

1.สงครามโลกครั้งที่สองมีประเทศต่างๆเข้าร่วมรบมากกว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

2.สงครามโลกครั้งที่สองใช้อาวุธในการโจมตีประเทศที่เป็นศัตรูของตนทันสมัยกว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

3.สงครามโลกครั้งที่สองมีการเสียหายมากกว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

4.สงครามโลกครั้งที่สองมีจำนวนคนเสียชีวิตมากกว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

5.สงครามโลกครั้งที่สองมีการโจมตีประเทศที่เป็นศัตรูของตนโหดเหี้ยมมากกว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

6.สงครามโลกครั้งที่สองเป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก

ข้างบนละเอีดยดีแล้ว ตอบอย่างง่ายที่สุด.... ดูจากชื่อก็รู้แล้ว.... สงครามโลกครั้งที่สองเกิดหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง :-) หรือถ้ามองจากแง่ประเทศไทย.... สงครามโลกครั้งที่ 1 ส่วนใหญ่เกิดในสมรภูมิยุโรป ไทยไปร่วม ชนะ เพราะเลือกข้างถูกศึกไม่ได้อยู่ในบ้าน แต่ครั้งที่สองมีสมรภูมิรบกว้างขวาง สมรภูมิอยู่ในบ้านไทยต้องเป็นนกสองหัว เข้าฝ่ายนู้นทีฝ่ายนี้ที สุดท้ายจบที่ว่า การประกาศเข้าร่วมสงครามของไทยในสงครามโลกครั้งนี้เป็นโมฆะ กว่าจะได้แบบนี้ก็เอาข้าวไทยไปแจกอังกฤษซะเยอะเลย จบข่าว --Kaew 20:45, 12 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ประวัติศาสตร์

ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาส่วนมากมาจากรัฐอะไร?กุ้ง--118.175.129.7 09:41, 30 เมษายน 2552 (ICT)