วัดโพธิ์เย็น (จังหวัดสุรินทร์)

วัดโพธิ์เย็น บ้านเปือยป่าน[1] ตั้งอยู่ที่ บ้านเปือยป่าน หมู่ 3 ตำบลโพนโก อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ เขตปกครองคณะสงฆ์หนตะวันออก ภาค 11 สังกัดมหาเถรสมาคม เป็นวัดในพระพุทธศาสนา รหัสวัด 3208015 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ก่อตั้งวัดเมื่อปีพุทธศักราช 2462 และได้รับการพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปีพุทธศักราช 2489 [2]

วัดโพธิ์เย็น
พระพุทธมหามงคลบพิตรศากยมุนี วัดโพธิ์เย็นจ.สุรินทร์
อุโบสถวัดโพธิ์เย็น บ้านเปือยป่าน
แผนที่
ชื่อสามัญวัดโพธิ์เย็น บ้านเปือยป่าน
ที่ตั้งหมู่ 3 ตำบลโพนโก อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ 32160
ประเภทวัดราษฎร์มหานิกาย
นิกายเถรวาท/มหานิกาย
พระประธานพระพุทธมหามงคลบพิตรศากยมุนี
พระพุทธรูปสำคัญพระพุทธมหามงคลบพิตรศากยมุนี
เจ้าอาวาสพระอธิการอ่อนศรี ธนปาโล
กิจกรรมศาสนสถานในพระพุทธศาสนาที่มีกิจกรรมเชิงพุทธตลอดปี
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดโพธิ์เย็น บ้านเปือยป่าน ตำบลสนมปัจจุบันแบ่งเขตปกครองท้องที่ให้ตำบลโพนโก อำเภอรัตนบุรีปัจจุบันแบ่งเขตปกครองท้องที่ให้อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ตามพระบรมราชโองการพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เรื่องประกาศ พระราชทานวิสุงคามสีมา ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 เป็นปีที่ 13 ในรัชกาลที่ 9 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 63 ตอนที่ 11 19 กุมภาพันธ์ 2489 หน้า 81 และบัญชีรายชื่อวัดที่ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา วัดโพธิ์เย็น ตำบลสนมปัจจุบันแบ่งเขตปกครองท้องที่ให้ตำบลโพนโก อำเภอรัตนบุรีปัจจุบันแบ่งเขตปกครองท้องที่ให้อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ กำหนดเขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 63 ตอนที่ 11 19 กุมภาพันธ์ 2489 หน้า87[3] และเป็นที่อยู่จำพรรษาและสำนักงานเจ้าคณะตำบลน้ำเขียว-โพนโก เพื่อปฏิบัติศาสนกิจของ พระคุณท่าน พระครูสุวรรณโสภณ (หลวงพ่อมหาคำ อโสโก,ป.ธ.3) เจ้าคณะตำบลน้ำเขียว-โพนโก ในสมัยนั้น

รายนาม/ราชทินนามเจ้าอาวาส แก้

  • ไม่ปรากฏรายนามเจ้าอาวาสรูปแรกชื่ออะไรพึ่งมาปรากฏในยุคหลังๆ
  1. พระสมบูรณ์ ธมฺมจารี (พ.ศ. 2480-พ.ศ. 2484)
  2. พระสำเภา กลฺลยาโณ (พ.ศ. 2485-พ.ศ. 2486)
  3. พระสร้อย กวิวํโส (พ.ศ. 2494-พ.ศ. 2496)
  4. พระยา เตชธมฺโม (พ.ศ. 2499-พ.ศ. 2500)
  5. พระมหาชรินทร์ เทวมินฺโท (พ.ศ. 2501-พ.ศ. 2508)
  6. พระพูน ปสุโต (พ.ศ. 2509-พ.ศ. 2512)
  7. พระครูโพธิปัญญาโสภณ (อินทร์ อินทปญฺโญ) (พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2544)
  8. พระอธิการอ่อนศรี ธนปาโล( พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน)

สิ่งก่อสร้าง แก้

  • อุโบสถ์ ก่อสร้างตั้ง พ.ศ. 2478 ก่อสร้างด้วยความเรียบง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายของคนในยุคนั่นและฉาบเปลือกห้อยตำละเอียด (บูรณะใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2555)
  • หอระฆัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารไม้ กว้าง 12 เมตร ยาว 15 เมตร
  • กุฏิใหญ่ไม้ 2 ชั้น กว้าง 24 เมตร ยาว 35 เมตร (ประสบอัคคีภัย เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2555 เวลาประมาณ 15.00 น. ไฟไหม้เสียหายทั้งหลัง[4])
  • กุฏิสงฆ์(วัดโพธิ์เย็นสามัคคี) เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2ชั้น สร้างใหม่
  • กุฏิน้อย 1 หลัง
  • เมรุ 1 หลัง[5]

อ้างอิง แก้

  1. "วัดโพธิ์เย็นบ้านเปือยป่าน". e-service.dra.go.th.
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2489/A/011/81.PDF
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2489/A/011/81.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 63 ตอนที่ 11 19 กุมภาพันธ์ 2489 หน้า 81 , ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 63 ตอนที่ 11 19 กุมภาพันธ์ 2489 หน้า 87
  4. "ชมคลิปและภาพ "ไฟไหม้ศาลา วัดบ้านเปือยป่าน สุรินทร์"..ขอเชิญร่วมบุญสร้างวิหารทาน". www.madchima.org.
  5. "สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด". surin.m-culture.go.th.
  • ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 16,กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ,พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศาสนา ก.ท.ม.,พ.ศ. 2540