วัดเพชรสมุทรวรวิหาร

วัดในจังหวัดสมุทรสงคราม

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร เดิมชื่อ วัดบ้านแหลมในอดีตชื่อ วัดศรีจำปา ตั้งอยู่ที่ ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นอารามหลวง ชั้นวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีพระสมุทรวชิรโสภณ เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน.

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร
วัดเพชรสมุทรวรวิหาร
แผนที่
ชื่อสามัญวัดเพชรสมุทรวรวิหาร
ที่ตั้งตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม
ประเภทพระอารามหลวง ชั้นวรวิหาร
นิกายเถรวาท
พระประธานหลวงพ่อวัดบ้านแหลม
กิจกรรมศาสนสถานในพระพุทธศาสนาที่มีกิจกรรมเชิงพุทธตลอดปี/ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
แผนที่วัดเพชรสมุทรวรวิหาร (วัดบ้านแหลม)

ประวัติ แก้

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร เดิมชื่อ "วัดศรีจำปา" สร้างขึ้นในราวรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยาตาม ตำนานเล่าว่า ในปี พ.ศ. 2307ชาวบ้านแหลมในเขตเมืองเพชรบุรีอพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือน อยู่บริเวณตำบล แม่กลองเหนือวัดศรีจำปา และเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านแหลม" ตามชื่อห มู่บ้านเดิมของตนชาวบ้านแหลมได้ช่วย กันบูรณะวัดศรีจำปาและเรียกวัดนี้ใหม่ว่า วัดบ้านแหลม" ต่อมาวัดบ้านแหลมได้ยกฐานะขึ้นเป็นอาราม หลวง ชั้นวรวิหาร ได้รับ พระราชทานนามว่า วัดเพชรสมุทรวรวิหาร

พระพุทธรูปสำคัญ หลวงพ่อบ้านแหลม แก้

พระรูปหล่อหลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทร เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร พระประจำวันเกิดวันพุธเวลากลางวัน หลวงพ่อบ้านแหลมเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกันกับหลวงพ่อโสธร กับหลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ สร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น หลวงพ่อวัดบ้านแหลม มีความสูง 167 เซนติเมตร

ประวัติหลวงพ่อบ้านแหลม แก้

ชาวบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีได้มาตีอวนหาปลาบริเวณแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสาคร ได้ลากอวนพบพระพุทธรูป 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ซึ่งได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานที่ วัดศรีจำปา (ปัจจุบันชื่อ วัดบ้านแหลม ทำให้ชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่าหลวงพ่อบ้านแหลมตั้งแต่นั้นมา พระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง ปางสมาธิ ชาวบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ได้นำกลับไปประดิษฐานที่วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี

ตำนานพระพุทธรูปห้าองค์อยู่บนแพลอยน้ำมาในแม่น้ำแม่กลองจากเมืองทางทิศเหนือของจังหวัดสมุทรสาคร คือ หลวงพ่อวัดบ้านแหลม หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อโต (บางพลี) หลวงพ่อวัดเขาตะเครา และหลวงพ่อวัดไร่ขิง ซึ่งชาวบ้านริมฝั่งน้ำที่ศรัทธาได้อัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถของวัด เพื่อสักการบูชา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จนมัสการ แก้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชศรัทธา เสด็จนมัสการพร้อมทั้งได้พระราชทานผ้าทอมาจากดิ้นทองจำนวนสองผืนเพื่อประดับไว้ที่องค์พระ ในวันสำคัญ เช่น วันสงกรานต์ วันถวายกฐินพระราชทานในเวลาต่อมา สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช ได้ถวายบาตรแก้วสีน้ำเงินให้กับองค์พระ เนื่องจากบาตรเดิมนั้นได้สูญหายไปในทะเลตั้งแต่คราวที่ชาวประมงได้พบหลวงพ่อในแม่น้ำแม่กลอง ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อบ้านแหลม แก้

ภายในบริเวณวัดเพชรสมุทรยังมีพิพิธภัณฑ์สงฆ์ จัดแสดงพระพุทธรูป และพระเครื่องสมัยต่าง ๆ โบราณวัตถุ เครื่องลายคราม และธรรมมาสน์บุษบกสมัยกรุงศรีอยุธยา

เทศกาลเกี่ยวกับหลวงพ่อบ้านแหลม แก้

งานประจำปีปิดทองหลวงพ่อบ้านแหลม จัดให้มีขึ้นปีละ 3 ครั้ง คือ ในวันที่ 13 เดือนเมษายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับเทศกาลสงกรานต์ของชาวไทยและชาวรามัญ และครั้งที่ 2 งานสาร์ท เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) และช่วงเทศกาลตรุษจีนโดยมีครั้งละ 7 วัน

ความเชื่อและวิธีการบูชา แก้

เชื่อกันว่าหากได้มาสักการะปิดทองคำเปลวหลวงพ่อบ้านแหลม แล้วจะช่วยเสริมอำนาจบารมีแก่ชีวิต บังเกิดแต่ความเป็นสิริมงคลสืบไป คำอธิษฐานของพรหลวงพ่อไว้จะได้สมความปรารถนาและกลับมาแก้บนหลวงพ่อด้วยการว่าจ้างคณะละครรำมารำแก้บนถวาย ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นการอนุรักษ์ศิลปะการเสดงละคร

ศาสนสถานภายในวัด แก้

  • โบสถ์
  • วิหาร
  • หลวงพ่อบ้านแหลม
  • กุฏิที่พักสงฆ์
  • ศาลาการเปรียญ

ลำดับเจ้าอาวาส แก้

ลำดับ นาม-ฉายา ดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.)
1. ไม่ปรากฏนาม
2. ไม่ปรากฏนาม
3. พระสนิธสมณคุณ (เนตร์)
4. พระมหาสิทธิการ (แดง)
5. พระมหาสิทธิการ (ทอง) 2454 - 2499
6. สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิธ เขมจารี) 2500 - 2515
7. พระราชสมุทรเมธี (ประสาร ปัญฺญาทีโป) 2515 - 2535
8. พระเทพสมุทรโมลี (ประยงค์ ปิยธมฺโม) 2535 - 2563
9. พระสมุทรวชิรโสภณ (โสภณ ธมฺมโสภโณ) 2563 - ปัจจุบัน

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°24′33″N 99°59′55″E / 13.40918855185442°N 99.9986743927002°E / 13.40918855185442; 99.9986743927002