วัดคูหาสุวรรณ มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยมด้านทิศตะวันตก ตรงข้ามกับวัดราชธานี เป็นวัดที่หลวงพ่อห้อม อมโร (พระราชพฤฒาจารย์) เคยดำรงตำแหน่งอดีตเจ้าอาวาส และอดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยหลวงพ่อห้อม อมโร [1]เป็นศิษย์ของหลวงพ่อสมฤทธิ์ เทโว แห่งวัดฤทธิ์ศิริราษฎร์เจริญธรรม [2]ที่เป็นศิษย์สายตรงของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อีกชั้นหนึ่ง[3]

วัดคูหาสุวรรณ
แผนที่
ชื่อสามัญวัดคูหาสุวรรณ
ที่ตั้ง6 ตรอกคูหาสุวรรณ ตำบลธานี อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 64000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท
เจ้าอาวาสพระครูวิบูลศุกภิจ (ลมูล อํสุธโร)
กิจกรรมศาสนสถานในพระพุทธศาสนาที่มีกิจกรรมเชิงพุทธตลอดปี
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

ประวัติ

แก้

วัดคูหาสุวรรณสร้างขึ้นตั้งแต่รัชสมัยพระยาไสสือไทราว พ.ศ. 1920 เดิมชื่อ “วัดโพธานี” ต่อมาใช้ “วัดคูหาสุวรรณาราม” โดยถือเอาเหตุที่มีถ้ำอยู่หน้าวัด ครั้งถึง พ.ศ. 2480 คงใช้เพียงนามว่า “วัดคูหาสุวรรณ” มาจนทุกวันนี้[4] เป็นวัดที่มีความสำคัญในฐานะเป็นศูนย์กลางของชุมชน รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการบริหารกิจการคณะสงฆ์นับแต่อดีตนับแต่พระครูศุขวโรทัย (ประดับ) อดีตเจ้าคณะเมืองสุโขทัย และพระราชพฤฒาจารย์ (ห้อม อมโร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย ก็มีวัดคูหาสุวรรณเป็นศูนย์กลางในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในช่วงเวลาดังกล่าว

พระยารณชัยชาญยุทธ (ครุฑ หงษ์สนันท์) เป็นบุคคลต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2442 ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองกิตติมศักดิ์ เป็นผู้นำในการสร้างโบสถ์วัดคูหาสุวรรณ (วัดตระพังทอง และศาลาการเปรียญวัดไทยชุมพล)

ศิลปวัตถุและศาสนสถาน

แก้
  • พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางลีลา ศิลปสมัยสุโขทัย ขนาด 1.8 เมตร
  • ศาลาการเปรียญ ที่สร้างในสมัยหลวงพ่อห้อม อมโร
  • อุโบสถ (ดำเนินการบูรณะปรับปรุงใหม่)
  • กุฎิที่พักสงฆ์
  • ศาลาธรรมสังเวช / เมรุ
  • วิหารหลวงพ่อขาว

ทำเนียบเจ้าอาวาส

แก้
  • พระปลัดทองดี (ไม่ทราบปีที่ดำรงตำแหน่ง)
  •  
    พระราชพฤฒาจารย์ (ห้อม อมโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดคูหาสุวรรณ และอดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย ระหว่าง ๒๕๒๙ ๒๕๔๑
    พระอาจารย์มุก (ไม่ทราบปีที่ดำรงตำแหน่ง)
  • พระปลัดทองสุก (ไม่ทราบปีที่ดำรงตำแหน่ง)
  • พระปลัดทิพย์ (ไม่ทราบปีที่ดำรงตำแหน่ง)
  • พระครูสุขวโรทัย (ประดับ อินฺทโชโต) พ.ศ. 2439-2477 [5]
  • พระราชพฤฒาจารย์(หลวงพ่อห้อม อมโร) พ.ศ. 2478-2541 [6] พ.ศ. 2529 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539 เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชพฤฒาจารย์ [7]
  • พระครูปลัดชาญณรงค์ โชติธมฺโม หรือต่อมาเป็นพระครูสุธรรมไพโรจน์ (รักษาการเจ้าอาวาส) พ.ศ. 2541
  • พระครูวิบูลย์ศุภกิจ (ละมูล อํสุธโร) พ.ศ. 2541-
  • พระครูโสภิตกิจจานุกูล (ชั้น อุปสนฺโต) รองเจ้าอาวาส

อ้างอิง

แก้
  1. "เว็บไซต์หลวงพ่อห้อม อมโร แห่งวัดคูหาสุวรรณ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-29. สืบค้นเมื่อ 2010-10-04.
  2. http://www.luangporhom.ob.tc/page8.htm[ลิงก์เสีย] ประวัติหลวงพ่อสัมฤทธิ์ เทโว ผู้เป็นอาจารย์ของหลวงพ่อห้อม อมโร.
  3. ดิเรก ด้วงลอย พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร. (2563). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบ้านสวน สุโขทัย-Local History of  Bansuan Sukhothai Province เก็บถาวร 2020-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.  สุโขทัย  : กองทุนพระครูสุพัฒนพิธาน (ทองดี มหาวีโร/อานใหญ่). ISBN : 978-616-568-180-3
  4. กองพุทธศาสนสถาน,กรมการศาสนา,กระทรวงศึกษาธิการ,ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ 7,กรุงเทพฯ โรงพิมพ์การศาสนา,2531. หน้า 508-9.
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/041/1100.PDF แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกศึกษามณฑล เรื่อง จัดการย้ายโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคมมาปลูกสร้างในวัดราชธานี ข้อความว่า "พระครูศุขวโรทัย เจ้าคณะเมืองศุโขทัย เงิน ๔๗ บาท" ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 24 ตอน 41 วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2450 หน้า 1100
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 94, ตอนที่ 3 ง, 6 มกราคม 2520, หน้า 6 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2520/D/003/1.PDF
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 113, ตอนที่ 23 ข, 5 ธันวาคม 2539, หน้า 17 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/B/023/14.PDF เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน