วัฒนธรรมหงชาน (จีนตัวย่อ: 红山文化; จีนตัวเต็ม: 紅山文化; พินอิน: Hóngshān wénhuà, อังกฤษ: Hongshan culture) เป็นวัฒนธรรมยุคหินใหม่ ในลุ่มแม่น้ำเหลียว แหล่งโบราณคดีหงชานพบในพื้นที่ที่ทอดยาวจาก มองโกเลียใน ถึง เหลียวหนิง และมีช่วงอายุตั้งแต่ 4,700 ถึง 2,900 ปีก่อนคริสตกาล

วัฒนธรรมหงชาน
Map showing the extent of the วัฒนธรรมหงชาน
ชื่อภาษาท้องถิ่น红山文化
ภูมิภาคมองโกเลียใน และ เหลียวหนิง , ประเทศจีน
สมัยยุคหินใหม่
ช่วงเวลา4,700 ถึง 2,900 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้าวัฒนธรรม Xinglongwa (6,200 – 5,400 ปีก่อนคริสตกาล) วัฒนธรรม Xinle (5,300 – 4,800 ปีก่อนคริสตกาล) วัฒนธรรม Zhaobaogou (5,400 – 4,500 ปีก่อนคริสตกาล)
ถัดไปยุคสำริด
มังกรหยก ขดเป็นวงรูปตัว C ของวัฒนธรรมหงซาน

วัฒนธรรมนี้ตั้งชื่อตามหงชานโฮ่ว ( จีนตัวย่อ: 红山后; จีนตัวเต็ม: 紅山後; พินอิน: Hóngshān hòu) ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีที่อยู่ในเขตหงชาน ฉือเฟิง แหล่งโบราณคดีหงชานโฮ่วถูกค้นพบโดย Torii Ryūzō นักโบราณคดีชาวญี่ปุ่นในปี 1908 และถูกขุดสำรวจขนานใหญ่ในปี 1935 โดย Kōsaku Hamada และ Mizuno Seiichi [1]

บริบททางประวัติศาสตร์ แก้

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนก่อนหน้าวัฒนธรรมหงชาน คือ วัฒนธรรมซิงหลงวา (兴隆洼; 6,200 – 5,400 ปีก่อนคริสตกาล) วัฒนธรรมซินเล่อ (新乐文化; 5,300 – 4,800 ปีก่อนคริสตกาล) วัฒนธรรมเจ้าเป่าโกว (赵宝沟文化; 5,400 – 4,500 ปีก่อนคริสตกาล) ทั้งนี้วัฒนธรรมหงชานอาจร่วมสมัยกับซินเล่อ และที่เกิดหลังจากนั้นเล็กน้อย

วัฒนธรรมหย่างเฉาที่กินอาณาบริเวณขนาดใหญ่ อยู่ร่วมสมัยกับวัฒนธรรมหงชาน (ดูแผนที่) วัฒนธรรมทั้งสองนี้มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

พันธุศาสตร์และเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ แก้

การศึกษาโดย Yinqiu Cui et al. ในปีพ.ศ. 2556 พบว่าร้อยละ 63 ของกลุ่มตัวอย่างพันธุศาสตร์ที่คละกันจากแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ ของวัฒนธรรมหงชาน ถูกระบุเป็นพันธุกรรมแบบ subclade N1 (xN1a, N1c) ของ กลุ่ม haplogroup N-M231 (แฮ็ปโลกรุ๊ป N - พันธุกรรมเด่นที่พบในมนุษย์จากการถ่ายทอดผ่านทางฝ่ายชาย ส่วนมากใช้ชีวิตในแถบยูเรเชียตอนเหนือ) จากการคำนวณ N (ค่าบ่งชี้หลักของพันธุกรรมแฮ็ปโลกรุ๊ป N) สูงถึงร้อยละ 89 ซึ่งโดดเด่นออกจากชาติพันธุ์อื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกในช่วงยุคหินใหม่ และพบว่าอัตราส่วน N จะค่อย ๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ปัจจุบันมนุษย์ที่มีพันธุกรรม แฮ็ปโลกรุ๊ป N นี้พบมากที่สุดในฟินแลนด์ รัฐบอลติก และในกลุ่มชาติพันธุ์ทางเหนือของไซบีเรียเช่น ยาคุทส์ (Yakuts)

กลุ่มพันธุกรรมอื่น ๆ ที่ถูกระบุในการศึกษา ได้แก่ C และ O2a (O2a2) ซึ่งทั้งสองกลุ่มพันธุกรรมนี้มีอิทธิพลเหนือประชากรในปัจจุบัน

รายงานการศึกษาปี 2563 โดยเนลสันและคณะ พยายามเชื่อมโยงวัฒนธรรมหงชาน กับบริบททางภาษา "Transeurasian" (ดู ถาษา Altaic )

โบราณวัตถุ แก้

 
เรือเครื่องปั้นดินเผาทรงกระบอกทาสีวัฒนธรรมหงชาน (ราว 4700–2900 ปีก่อนคริสตกาล) เหลียวหนิงปี 1988 พิพิธภัณฑ์แห่งชาติจีน ปักกิ่ง

ศิลปวัตถุของวัฒนธรรมหงชานที่ถูกฝังใต้ดินที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด ได้แก่ ศิลปกรรมงานแกะหยก โดยเฉพาะที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางในเรื่อง หินหยกรูป มังกรหมู (หรือ ทารกมังกร) นอกจากนี้ยังพบตุ๊กตาดินเผา รูปตุ๊กดาหญิงตั้งครรภ์ทั่วพื้นที่วัฒนธรรมหงซาน ยังมีการขุดพบแหวนทองแดงขนาดเล็กด้วย [ต้องการอ้างอิง] [2]


ศาสนา แก้

แหล่งโบราณคดีที่ Niuheliang เป็นสถานที่ประกอบศาสนพิธีที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมหงชาน นักสำรวจโบราณคดีได้ค้นพบวิหารใต้ดินขนาดใหญ่ใน Niuheliang ซึ่งสำรวจพบ แท่นบูชา และ สถูปกองหิน นักโบราณคดีตั้งชื่อว่า วิหารเทพธิดา เนื่องจากมีการค้นพบดินปั้นรูปศีรษะของหญิงที่มีดวงตาฝังประดับด้วย หยก[7] โครงสร้างวิหารนี้ เป็นแบบวิหารใต้ดินซึ่งลึก 1 เมตร[8] ประกอบขึ้นด้วยแท่นหินและผนังเที่มีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง

โบราณวัตถุที่ตั้งอยู่ภายใน วิหารเทพธิดา คือ ประติมากรรมดินที่มีขนาดใหญ่ถึงสามเท่าของขนาดมนุษย์จริง[7] รูปแกะสลักที่มีขนาดใหญ่มากนี้สันนิษฐานว่าอาจเป็นรูปเคารพของ เทพ ซึ่งไม่ได้ปรากฏในศาสนา และ วัฒนธรรมจีน อื่น ๆ

การมีอยู่ของเครือข่ายการค้าที่ซับซ้อนและอนุสรณ์สถาน(ทางศาสนา) เช่น เนินสุสาน [ต้องการอ้างอิง] และ วิหารเทพธิดา อาจบ่งชี้ถึงนัยยะของการดำรงอยู่ของ "อาณาจักร"[9] ในชุมชน ก่อนประวัติศาสตร์ เหล่านี้

นอกจากนี้ยังมีการค้นพบ เครื่องปั้นดินเผา เขียนสีภายในวิหา [8] และขุดพบสุสานในบริเวณใกล้เคียงกว่า 60 แห่ง ทั้งหมดสร้างด้วยหินและปิดทับด้วยกองหินซึ่งมักรวมถึงสศิลปวัตถุจากหยกด้วย สถูปกองหิน สองกองถูกค้นพบบนยอดเนินสองแห่งที่อยู่ใกล้ ๆ โดยมีกลุ่มหลุมฝังศพทรงกลมหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัสซึ่งทำจากหินปูนซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ด้านในมีการฝ้งรูปแกะสลักของ มังกร และ เต่า [8]

มีการสันนิษฐานว่า อาจเริ่มมีการพลีกรรมทางศาสนาในวัฒนธรรมหงชาน[8]

ฮวงจุ้ย แก้

ตามข้อสันนิษฐานด้วยหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคติเรื่อง ฮวงจุ้ย ในยุคแรก ๆ นอกจากที่พบในแหล่ง วัฒนธรรมหย่างเฉา แล้ว ยังพบในแหล่งวัฒนธรรมหงชานอีกด้วย การปรากฏขึ้นของทั้งรูปทรงกลมและสี่เหลี่ยมที่อนุสรณ์สถานทางศาสนา แสดงให้เห็นถึงการปรากฏตัวของจักรวาลแบบ gaitian ("สวรรค์ทรงกลม, โลกสี่เหลี่ยม")[10]

ฮวงจุ้ยในยุคแรกอาศัยดาราศาสตร์เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับจักรวาล[11]

พัฒนาการของอารยธรรมจีน แก้

นักโบราณคดีจีนบางคน เช่น กัวต้าชุน มองว่าวัฒนธรรมหงชานเป็นขั้นสำคัญของพัฒนาการของอารยธรรมจีนยุคแรก[12] [13] ไม่ว่าความสัมพันธ์ทางภาษาของผู้คนในสมัยโบราณนั้นจะเป็นอย่างไร แต่เชื่อกันว่าวัฒนธรรมหงชานมีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาอารยธรรมจีนในยุคแรก ๆ [14] และยังมีส่วนในการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานบนคาบสมุทรเกาหลีในสมัยโบราณ[15]

 
แผนที่วัฒนธรรมยุคกลางในประเทศจีน วัฒนธรรมหงซาน คือบริเวณหมายเลข 1 บนแผนที่

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Hamada, Kosaku and Mizuno Seiichi. "Chifeng Hongshanhou," Archaeologia Orientalis, ser. A, No. 6. Far-Eastern Archaeology Society of Japan, (1938).
  2. "Iindustries include ... copper." Encyclopedia of Prehistory: Volume 3: East Asia and Oceania, Ed.: Peter N. Peregrine, Melvin Ember, Springer Science & Business Media, 2001, p. 79
  3. 3.0 3.1 Le cartel précise : Liaoning Provincial Institute of Cultural Relics and Archaeology
  4. Objet similaire in : China. 5000 years : Innovation and Transformation in the Arts, Selected by Sherman Lee, Guggenheim museum 1998. page Jade : 1
  5. "Notice du Musée Guimet pour cet objet". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-06. สืบค้นเมื่อ 2020-08-31.
  6. . Appellation chinoise traditionnelle : pièce jue. L'objet est vraisemblablement originaire de la région de Hongshan. Réf. Elisseeff 2008, p. 124-125 . Notice 7. "Amulette en forme de larve au museau vaguement porcin" : Roberto Ciarla : Ciarla & de Luca 2005, p. 22.
  7. 7.0 7.1 Please refer to Niuheliang.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Sites of Hongshan Culture: The Niuheliang Archaeological Site, the Hongshanhou Archaeological Site, and Weijiawopu Archaeological Site unesco.org
  9. [1] University of Pittsburgh, Pennsylvania: Regional Lifeways and Cultural Remains in the Northern Corridor: Chifeng International Collaborative Archaeological Research Project. Cited references: Drennan 1995; and Earle 1987, 1997.
  10. [2] Sarah M. Nelson, Rachel A. Matson, Rachel M. Roberts, Chris Rock and Robert E. Stencel: Archaeoastronomical Evidence for Wuism at the Hongshan Site of Niuheliang, 2006.
  11. Sun, X. (2000) Crossing the Boundaries between Heaven and Man: Astronomy in Ancient China. In H. Selin (ed.), Astronomy Across Cultures: The History of Non-Western Astronomy. 423–454. Kluwer Academic.
  12. Guo, Da-Shun 1995. Hongshan and related cultures. In: The archaeology of Northeast China: beyond the Great Wall. Nelson, Sarah M. ed. 21–64. London and New York: Routledge.
  13. [3] เก็บถาวร 2013-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Roger Blench(2004), Stratification in the peopling of China: how far does the linguistic evidence match genetics and archaeology? p.9
  14. Kwang-chih Chang and Sarah Allan, The Formation of Chinese Civilization: An Archaeological Perspective, p. 65
  15. [4] Keith Pratt(2006), Everlasting Flower, p.30.

อ่านเพิ่มเติม แก้

  • Allan, Sarah (ed), การก่อตัวของอารยธรรมจีน: มุมมองทางโบราณคดี, ISBN 0-300-09382-9
  • จาง, กฺวางจื่อ . โบราณคดีของจีนโบราณ ISBN 0-300-03784-8
  • Nelson, Sarah Milledge (ed), The Archaeology of Northeast China: Beyond the Great Wall, ISBN 0-415-11755-0