วรรณา บัวแก้ว ชื่อเล่น นา เป็นอดีตนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ตำแหน่งตัวรับอิสระ และตัวเชต เธอเคยเป็นหนึ่งในนักวอลเลย์บอลทีมชาติไทยที่ได้เล่นวอลเลย์บอลอาชีพกับสโมสรจอห์นสัน สเปซาโน ในประเทศอิตาลี วรรณา บัวแก้ว เป็นนักกีฬาที่มีความมุ่งมั่นสูงสังเกตได้จากที่อายุมากแล้วก็ยังรักษามาตรฐานของตัวเองจนสามารถรับใช้ทีมชาตินับสิบปี มีผลงานรับใช้ทีมชาติในระดับโลกมากมาย เช่น เวิลด์กรังปรีด์ เวิลด์แชมเปี้ยนชีพ เวิลด์คัพ และอีกหลายรายการ วรรณา บัวแก้ว ถือเป็นนักกีฬาสายเลือดเก่าในยุคของแอนนา ไภยจินดา พัชรี แสงเมืองและพัฒนาฝีมือการเล่นร่วมกับชุดปัจจุบันได้อย่างลงตัว จนทีมชุดปัจจุบันเป็นทีมหนึ่งในแนวหน้าของโลก

วรรณา บัวแก้ว
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเล่นนา
เกิด2 มกราคม พ.ศ. 2524 (43 ปี)
จังหวัดสระแก้ว ประเทศไทย
ส่วนสูง1.72 เมตร (5 ฟุต 8 นิ้ว)
น้ำหนัก61 กิโลกรัม (134 ปอนด์)
กระโดดตบ292 เซนติเมตร (115 นิ้ว)
บล็อก277 เซนติเมตร (109 นิ้ว)
มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
ข้อมูล
ตำแหน่งตัวรับอิสระ
ทีมชาติ
1996–2016ไทย ทีมชาติไทย

ประวัติ แก้

วรรณา บัวแก้ว เป็นชาวจังหวัดสระแก้ว บิดาชื่อแดง (เสียชีวิตหลังจากที่เธอติดทีมชาติเพียงไม่กี่ปี) และมารดาชื่อสนิท ซึ่งวรรณาสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต (อาร์แบค) เริ่มเล่นวอลเลย์บอลตั้งแต่เรียนระดับประถมศึกษา ขณะเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนหนองกะพ้อ จังหวัดสระแก้ว หลังจากจบชั้นประถมศึกษา ก็เดินทางเข้ามาศึกษาที่กรุงเทพฯ โดยศึกษาชั้นมัธยมที่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ พร้อมกับเล่นให้แก่หลายสโมสรจนกระทั่งติดทีมชาติ ใน พ.ศ. 2552 วรรณาได้ทำงานที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในฝ่ายสังคมและสิ่งแวดล้อม ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบาย

นอกจากนี้ วรรณา บัวแก้ว ยังเป็นนักกีฬาต้นแบบของนริศรา แก้วมะ รวมถึงเคยสอนเทคนิคการเล่นวอลเลย์บอลให้แก่นริศราด้วยเช่นกัน[1]

ผลงาน แก้

เข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์แกรนด์แชมป์เปี้ยนคัพ

  • พ.ศ. 2552 (อันดับ 6) ประเทศไทยในฐานะแชมป์ทวีปเอเชีย
  • พ.ศ. 2556 (อันดับ 5) ประเทศไทยในฐานะแชมป์ทวีปเอเชีย

เข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก

  • พ.ศ. 2553 (ผ่านเข้ารอบสุดท้าย) ประเทศญี่ปุ่น
  • พ.ศ. 2545 (อันดับ 18) ประเทศเยอรมนี
  •   2014 : ลำดับที่ 17

เข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์

  • พ.ศ. 2556 (อันดับ 13)
  • พ.ศ. 2555 (อันดับ 4)
  • พ.ศ. 2554 (อันดับ 6)
  • พ.ศ. 2553 (อันดับ 10)
  • พ.ศ. 2552 (อันดับ 8)
  • พ.ศ. 2551 (อันดับ 11)
  • พ.ศ. 2549 (อันดับ 11)
  • พ.ศ. 2548 (อันดับ 12)
  • พ.ศ. 2547 (อันดับ 10)
  • พ.ศ. 2546 (อันดับ 9)
  • พ.ศ. 2545 (อันดับ 8)

เข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย

  • พ.ศ. 2556 (อันดับ 1)
  • พ.ศ. 2554 (อันดับ 4)
  • พ.ศ. 2552 (อันดับ 1)
  • พ.ศ. 2550 (อันดับ 3)
  • พ.ศ. 2548 (อันดับ 6)
  • พ.ศ. 2546 (อันดับ 4)
  • พ.ศ. 2544 (อันดับ 3)

เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก

  • ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2550 ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (อันดับ 4)

สโมสร แก้

รางวัลที่ได้รับ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. น้องป๊อปดาวดวงน้อยแห่งวงการลูกยางไทย : SMMOnline.net[ลิงก์เสีย]
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ให้แก่นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยและเจ้าหน้าที่[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๖
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๓๓, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น แก้