วงศ์ปลาไหลนา
วงศ์ปลาไหลนา | |
---|---|
ปลาไหลนา หรือปลาไหลบึง (Monopterus albus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Synbranchiformes |
วงศ์: | Synbranchidae |
สกุล | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
วงศ์ปลาไหลนา (อังกฤษ: Swamp eel, Amphibious fish; เบงกอล: কুঁচেমাছ) เป็นวงศ์ปลากินเนื้อ พบในน้ำจืดและน้ำกร่อยของทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา โดยกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในเขตอบอุ่น พบตั้งแต่พื้นที่ชุ่มน้ำและถ้ำในทวีปแอฟริกา, ตะวันออกกลาง, เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงโซนโอเชียเนีย ใช้ชื่อวงศ์ว่า Synbranchidae (/ซิน-แบรน-ชิ-ดี้/) โดยพบอยู่ทั้งหมด 18 ชนิด
มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายงู ตามีขนาดเล็ก มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นเส้นเลือดฝอยในคอหอย ไม่มีครีบหรืออวัยวะใด ๆ ที่ช่วยในการว่ายน้ำ เว้นแต่บริเวณปลายหางจะแผนแบนคล้ายใบพาย ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด
มีลำตัวลื่นมาก เพราะมีเมือกเยอะ เกล็ดมีขนาดเล็กฝังในลำตัว เมื่อยังเล็กจะมีครีบอก เมื่อโตขึ้นจะหายไป เป็นปลาที่สามารถ เปลี่ยนเพศได้ (Hermphrodite) โดยช่วงแรกจะเป็นเพศเมีย และจะกลายเป็นเพศผู้เมื่อโตขึ้น ด้านน้ำหนักเพศเมียจะมีน้ำหนักตั้งแต่ 100-300 กรัม เพศผู้มีน้ำหนักมากกว่า 400 กรัม ออกหากินในเวลากลางคืน กินเนื้อเป็นอาหาร โดยสามารถกินอาหารได้หลากหลาย แม้กระทั่งซากสัตว์หรือซากพืชที่เน่าเปื่อย
มีพฤติกรรมขุดรูอยู่ในพื้นโคลนตม หรือตามตลิ่งน้ำ ชอบรวมตัวกันอาหาร เป็นปลาที่สามารถปรับสภาพให้อาศัยอยู่ได้ในทุกสิ่งแวดล้อม ในฤดูร้อน สามารถขุดรูลึกลงไป 1-1.2 เมตร เพื่อจำศีลได้
สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 3 ชนิด คือ
- ปลาไหลแดง หรือ ปลาหล่อย (Macrotema caligans)
- ปลาไหลนา (Monopterus albus) ซึ่งเป็นปลาที่คนไทยรู้จักดี
- ปลาไหลหลาด หรือ ปลาไหลงู (Ophisternon bengalense)
เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงในเชิงพาณิชย์เป็นปลาเศรษฐกิจ โดยรวบรวมพ่อแม่พันธุ์จากธรรมชาติ โดยเฉพาะปลาไหลนา