ลูกอีสาน (ภาพยนตร์)
ลูกอีสาน เป็นภาพยนตร์ไทยซึ่งผลิตและจัดจำหน่ายโดยไฟว์สตาร์โปรดักชั่น ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยสร้างจากนวนิยายรางวัลซีไรต์ประจำปี พ.ศ. 2522 เรื่องลูกอีสาน ผลงานของคำพูน บุญทวี [1] กำกับการแสดงโดย วิจิตร คุณาวุฒิ นำแสดงโดย องอาจ มณีวรรณ เจ้าของบท "ทองปาน โพนทอง" ในภาพยนตร์ต้องห้ามสะท้อนสภาพสังคมหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา เรื่อง ทองปาน[2] และ ด.ช. ตะแบก จีระดิษฐ์
ลูกอีสาน | |
---|---|
![]() | |
กำกับ | วิจิตร คุณาวุฒิ |
เขียนบท | บทประพันธ์ คำพูน บุญทวี บทภาพยนตร์ วิจิตร คุณาวุฒิ |
อำนวยการสร้าง | เจริญ เอี่ยมพึ่งพร( รับหน้าที่อำนวยการสร้างต่อจาก เกียรติ เอี่ยมพึ่งพร พี่ชายที่ถูก โส ธนวิสุทธิ์ ลอบยิงเสียชีวิต) |
นักแสดงนำ | องอาจ มณีวรรณ (ทองปาน โพนทอง) จันทร์เพ็ญ ศิริเทพ ด.ช.ตะแบก จีระดิษฐ์ ไกรลาศ เกรียงไกร ศรินทิพย์ ศิริวรรณ สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต ไพลิน โสมนภา ธงชัย ประสงค์สันติ คำพูน บุญทวี |
กำกับภาพ | พรนิติ วิรยศิริ |
ตัดต่อ | วิจิตร คุณาวุฒิ |
ดนตรีประกอบ | คณิต คุณาวุฒิ |
ผู้จัดจำหน่าย | ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น |
วันฉาย | พ.ศ. 2525 |
ความยาว | 119 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทยอีสาน |
ข้อมูลจาก IMDb |
อนึ่ง คำพูน บุญทวี ผู้ประพันธ์นวนิยายต้นฉบับ ได้ร่วมแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ในบทของ "ลุงกา"
โครงเรื่อง แก้ไข
ภาพยนตร์เรื่องลูกอีสานเป็นเรื่องราวของวิถีชีวิตชาวนาอีสานในหมู่บ้านโคกอีแหลว ซึ่งอยู่ในพื้นที่ตอนเหนือของจังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงทศวรรษ 2480[note 1] โดยบอกเล่าถึงการฟันฝ่าอุปสรรคจากภัยธรรมชาติ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และความเชื่อของผู้คนในสังคม ผ่านมุมมองของตัวละครหลัก 2 คน คือบักคูน เด็กชายที่ถอดมาจากชีวิตจริงของผู้ประพันธ์[note 2] และพ่อสุด พ่อของบักคูน
นักแสดง แก้ไข
- องอาจ มณีวรรณ (ทองปาน โพนทอง) - พ่อสุด
- จันทร์เพ็ญ ศิริเทพ - แม่ลุน
- ไกรลาศ เกรียงไกร - ทิดจุ่น
- ไพลิน สมนภา - คำกอง
- ด.ช. ตะแบก จีระดิษฐ์ - บักคูณ
- ศรินทิพย์ ศิริวรรณ - ป้าญวน
- สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต - ย่า
- วรรณพักต์ ก้อนภูธา - ป้าบัวศรี
- เพ็ญศรี เบิกสีไสย์ - วันด่าม
- ประจน โภคสุวรรณ - ลุงเข้ม
- ดอน ดงเค็ง - ลุงใหญ่
- สิน อัศวเมธี - ลุงเมฆ
- เสถียร สุนทรสัจ - ทิดฮาด
- ธงชัย ประสงค์สันติ - บักกาจ
- จำปา วงทิศา - เจ๊กอู๋
- บุตรศรี จารุภาส - บักจันดี
- ขนิษฐา แรกเรียง - บัวลา
- อรสา วงศาโรจน์ - ป้าขาว
- กิมน้อย เย็นรำ - เมียเจ๊กอู๋
- ด.ญ. บุญทิวา แว่นเกตุ - ยี่สุ่น
- ด.ญ. กัญรัตน์ แสงสุริ - บุญหลาย
- เทวา จันทร์พวง - หมอลำหนู
- สมคิด สายหอม - หมอลำอัมพร
นักแสดงเกียรติยศรับเชิญ แก้ไข
- ศรีมงคล - หลวงพ่อเคน
- คำพูน บุญทวี - ลุงกา
รางวัล แก้ไข
- รางวัลตุ๊กตาทองพระสุรัสวดี ครั้งที่ 14 ประจำปี 2525 (มอบรางวัล 25/12/2525)
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม - ทองปาน โพนทอง (เข้าชิง)
- นักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม - ศรินทิพย์ ศิริวรรณ ได้รับรางวัล ,จันทร์เพ็ญ ศิริเทพ (เข้าชิง)
- ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม - วิจิตร คุณาวุฒิ
- บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม - วิจิตร คุณาวุฒิ
- รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2525 (มอบรางวัล 10/4/2526)
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม - ทองปาน โพนทอง
- ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม - วิจิตร คุณาวุฒิ
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม - วิจิตร คุณาวุฒิ
- การลำดับภาพยอดเยี่ยม - วิจิตร คุณาวุฒิ
เชิงอรรถ แก้ไข
- ↑ ในภาพยนตร์มีฉากเปิดแผ่นเสียงเพลงรักเมืองไทย ซึ่งแต่งโดยหลวงวิจิตรวาทการ เมื่อ พ.ศ. 2479 [1] เก็บถาวร 2008-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ คำพูน บุญทวี เดิมชื่อ คูน เป็นชาวตำบลทรายมูล กิ่งอำเภอทรายมูล จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งปัจจุบันคืออำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ "ลูกอีสาน". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-22. สืบค้นเมื่อ 2007-10-22.
- ↑ วีระยศ สำราญสุขทิวาเวทย์. หนังกับหนังสือ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ห้องสมุด, 2552. 286 หน้า. ISBN 978-974-642-677-0
แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข
- Luk e-san ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- ลูกอีสาน ที่เว็บไซต์ ThaiFilmDb