ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ พ.ศ. 2565–2566

ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ พ.ศ. 2565–2566 เป็นฤดูกาลในปัจจุบันของวัฏจักรรายปีของการก่อตัวพายุหมุนเขตร้อนและพายุหมุนกึ่งเขตร้อน โดยฤดูกาลเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 และไปสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เมษายน 2566 โดยมีข้อยกเว้นสำหรับมอริเชียสและเซเชลส์ ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 วันที่เหล่านี้เป็นช่วงเวลาตามธรรมเนียมนิยมซึ่งเป็นช่วงจำกัดของแต่ละปี ซึ่งมีพายุหมุนเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนก่อตัวภายในแอ่ง ภายในทางตะวันตกของเส้น 90 °ตะวันออก และทางใต้ของเส้นศูนย์สูตร พายุหมุนเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในแอ่งนี้จะได้รับการเฝ้าระวังโดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคในเรอูนียง

ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ พ.ศ. 2565–2566
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว25 กันยายน พ.ศ. 2565
ระบบสุดท้ายสลายตัวฤดูกาลดำเนินอยู่ในปัจจุบัน
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อบาลิตา
 • ลมแรงสูงสุด65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด996 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
ความแปรปรวนทั้งหมด2 ระบบ
พายุดีเปรสชันทั้งหมด2 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมด2 ลูก
ผู้เสียชีวิตทั้งหมดไม่มี
ความเสียหายทั้งหมดไม่มี
ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก–ใต้
2563–64, 2564–65, 2565–66, 2566–67, 2567–68

พายุ แก้

พายุโซนร้อนกำลังปานกลางแอชลีย์ แก้

พายุโซนร้อนกำลังปานกลาง (MFR)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 25 – 28 กันยายน
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

วันที่ 22 กันยายน ร่องความกดอากาศต่ำบริเวณใกล้ศูนย์สูตรได้สร้างหย่อมความกดอากาศต่ำเขตร้อนขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย แต่เดิมนั้นทางเมเตโอฟร็องส์คาดการณ์ว่าจะไม่มีการพัฒนาตัวเนื่องจากลมเฉือนที่ระดับบน[1] อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมได้เอื้ออำนวยมากขึ้นในช่วงสามวันต่อมา[2] และมีตัวหย่อมความกดอากาศต่ำได้มีการจัดระบบอย่างเพียงพอจนกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกแรกของฤดูกาลในวันที่ 26 กันยายน[3] ต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจัดให้ระบบเป็นพายุโซนร้อน 02S โดยอิงจากเครื่องวัดการกระจายซึ่งบ่งชี้ลักษณะลมแบบพายุโซนร้อนในเขตซีกตะวันตกและตะวันออกของวงพายุ[4] วันถัดมา พายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลาง และสำนักบริการอุตุนิยมวิทยามอริเชียสได้ใช้ชื่อกับพายุว่า แอชลีย์[5][6]

พายุโซนร้อนกำลังปานกลางบาลิตา แก้

พายุโซนร้อนกำลังปานกลาง (MFR)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 3 – 9 ตุลาคม
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุ แก้

ภายในมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ เมื่อพายุดีเปรสชันเขตร้อนและพายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อนใดที่ถูกประมาณว่ามีความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาทีที่ 65 กม./ชม. โดยการวัดของศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคในเกาะลาเรอูนียง ประเทศฝรั่งเศส (RSMC ลาเรอูนียง) พายุลูกดังกล่าวจะได้รับชื่อ อย่างไรก็ตาม ศูนย์เฝ้าระวังพายุหมุนเขตร้อนภูมิภาคย่อยในประเทศมอริเชียสและประเทศมาร์ดากัสการ์จะเป็นผู้กำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อนแทน โดยศูนย์เฝ้าระวังพายุหมุนเขตร้อนภูมิภาคย่อยในประเทศมอริเชียสจะกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน เมื่อพายุดีเปรสชันเขตร้อนทวีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลาง ในขอบเขตระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 55 องศาตะวันออกไปทางตะวันออกถึง 90 องศาตะวันออก ส่วนพายุดีเปรสชันเขตร้อนใดที่กำลังแรงเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลางในขอบเขตระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 30 องศาตะวันออกไปทางตะวันออกถึง 55 องศาตะวันออก พายุลูกนั้นจะได้รับชื่อจากศูนย์ย่อยในประเทศมาร์ดากัสการ์ ตั้งแต่ฤดูกาล 2559–2560 เป็นต้นมา ชุดรายชื่อที่ใช้ภายในมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้จะถูกนำมาวนใช้ในทุก ๆ สามปี โดยชื่อพายุจะถูกใช้เพียงครั้งเดียว ดังนั้นชื่อพายุใดที่ถูกนำมาใช้แล้วในฤดูกาลนี้จะถูกถอนออกจากการวนใช้ซ้ำ และจะมีการตั้งชื่อขึ้นมาทดแทนในฤดูกาล 2568–2569 ส่วนชื่อพายุใดที่ยังไม่ถูกใช้จะถูกนำไปใช้อีกครั้งในฤดูกาลหน้า[7]

  • แอชลีย์
  • บาลิตา
  • เชเนโซ (ยังไม่ใช้)
  • ดินกานี (ยังไม่ใช้)
  • เอนาลี (ยังไม่ใช้)
  • ฟาเบียน (ยังไม่ใช้)
  • เกซานี (ยังไม่ใช้)
  • โอราซีโอ (ยังไม่ใช้)
  • อินดูซา (ยังไม่ใช้)
  • จูลูกา (ยังไม่ใช้)
  • คุนได (ยังไม่ใช้)
  • ลีเซโบ (ยังไม่ใช้)
  • มิเชล (ยังไม่ใช้)
  • นูซฮา (ยังไม่ใช้)
  • โอลิเวีย (ยังไม่ใช้)
  • โพเกรา (ยังไม่ใช้)
  • ควินซี (ยังไม่ใช้)
  • เรบาโอเน (ยังไม่ใช้)
  • ซาลามา (ยังไม่ใช้)
  • ทริสตัง (ยังไม่ใช้)
  • อูร์ซูลา (ยังไม่ใช้)
  • ไวโอเลต (ยังไม่ใช้)
  • วิลสัน (ยังไม่ใช้)
  • ซีลา (ยังไม่ใช้)
  • เยเกลา (ยังไม่ใช้)
  • ซาอีนา (ยังไม่ใช้)

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Bulletin for Cyclonic Activity and Significant Tropical Weather in the Southwest Indian Ocean" (PDF). Météo-France. 22 September 2022. สืบค้นเมื่อ 26 September 2022.
  2. "Bulletin for Cyclonic Activity and Significant Tropical Weather in the Southwest Indian Ocean" (PDF). Météo-France. 25 September 2022. สืบค้นเมื่อ 26 September 2022.
  3. "Tropical Cyclone Forecast Warning (South-West Indian Ocean)" (PDF). Météo-France. 26 September 2022. สืบค้นเมื่อ 26 September 2022.
  4. Prognostic Reasoning for Tropical Cyclone 02S (Two) Nr 001 (Report). Joint Typhoon Warning Center. 26 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-27. สืบค้นเมื่อ 2022-09-28.{{cite report}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  5. "Moderate Tropical Storm Ashley". Mauritius Meteorological Services. 27 September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-27. สืบค้นเมื่อ 2022-09-28.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  6. Tropical Cyclone Forecast Warning (South-West Indian Ocean) (PDF) (Report). Météo-France. 27 September 2022. สืบค้นเมื่อ 27 September 2022.
  7. Regional Association I Tropical Cyclone Committee (2016). "Tropical Cyclone Operational Plan for the South-West Indian Ocean" (PDF). World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ 2016-10-05.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้