ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2565–2566

ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2565–66 เป็นช่วงฤดูที่กำลังจะมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนภายในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ถึงทางตะวันออกของเส้น 160°ตะวันออก ฤดูกาลอย่างเป็นทางการเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ไปจนถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2566 อย่างไรก็ตาม พายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวได้ตลอดเวลาในระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 และจะถูกนับรวมไปเป็นส่วนหนึ่งของฤดูกาลด้วย ในตลอดฤดูกาลนี้ พายุหมุนเขตร้อนจะถูกตรวจสอบโดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (RSMC) ในนันจี และศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในบริสเบน, ออสเตรเลีย และ เวลลิงตัน, นิวซีแลนด์ นอกจากนั้นยังมี ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ซึ่งจะออกคำเตือนอย่างไม่เป็นทางการเพื่อความสนใจของชาวอเมริกัน

ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2565–2566
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัวฤดูกาลยังไม่เริ่มต้น
ระบบสุดท้ายสลายตัวฤดูกาลยังไม่เริ่มต้น
สถิติฤดูกาล
ผู้เสียชีวิตทั้งหมดไม่มี
ความเสียหายทั้งหมดไม่มี
ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้
2563–64, 2564–65, 2565–66, 2566–67, 2567–68

RSMC นันจี จะออกการเตือนภัยโดยแนบหมายเลขและตัวอักษร F ต่อท้ายให้กับพื้นที่ความแปรปรวนของอากาศที่ก่อตัวขึ้นภายในหรือเคลื่อนตัวเข้าสู่แอ่ง ในขณที่ JTWC จะให้รหัสเรียกขานกับพายุหมุนเขตร้อน และใช้ตัวอักษร P ต่อท้าย โดยกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี สำนักอุตุนิยมวิทยา และ เมทเซอร์วิส จะใช้มาตราพายุหมุนเขตร้อนของออสเตรเลียเป็นหลักและวัดความเร็วลมในช่วงสิบนาที ขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจะวัดความเร็วลมใน 1 นาที และใข้มาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน (SSHWS) มาเทียบเคียง

รายชื่อพายุ แก้

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ พายุดีเปรสชันเขตร้อนจะถูกตัดสินว่ามีกำลังเป็นพายุไซโคลนเมื่อมันมีความเร็วลมที่ 65 กม./ชม. และจะต้องมีการปรากฏชัดของพายุเกลขึ้นที่อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของศูนย์กลางพายุ โดยพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ทวีกำลังเป็นพายุไซโคลนภายในขอบเขตระหว่างเส้นศูนย์สูตรลงไปทางใต้ถึงเส้นขนานที่ 25 องศาใต้ และระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออก ถึง 20 องศาตะวันตก จะได้รับชื่อจากกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี (FMS) ขณะที่พายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ทวีกำลังเป็นพายุไซโคลนทางใต้ของเส้นขนานที่ 25 องศาใต้ในขอบเขตเส้นเมริเดียนเดียวกันกับข้างต้น จะได้รับชื่อจากเมทเซอร์วิซแห่งนิวซีแลนด์ (MetService) ซึ่งทำงานร่วมกันกับกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี ส่วนพายุไซโคลนใดที่เคลื่อนตัวมาจากแอ่งภูมิภาคออสเตรเลีย ซึ่งพายุเหล่านั้นจะได้รับชื่อจากสำนักอุตุนิยมวิทยามาก่อนแล้ว จะคงชื่อเดิมของพายุนั้นไว้[1]

  • เฮล (ยังไม่ใช้)
  • ไอรีน (ยังไม่ใช้)
  • จูดี (ยังไม่ใช้)
  • เควิน (ยังไม่ใช้)
  • โลลา (ยังไม่ใช้)
  • มัล (ยังไม่ใช้)
  • นัต (ยังไม่ใช้)
  • โอไซ (ยังไม่ใช้)
  • พีตา (ยังไม่ใช้)
  • เร (ยังไม่ใช้)

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. RA V Tropical Cyclone Committee (October 11, 2018). Tropical Cyclone Operational Plan for the South-East Indian Ocean and the Southern Pacific Ocean 2018 (PDF) (Report). World Meteorological Organization. pp. I–4 – II–9 (9–21). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-12. สืบค้นเมื่อ October 12, 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้