ราชวงศ์กัมโพช (เขมร: រាជត្រកូលកម្ពុ, อักษรโรมัน: Kamboja Dynasty; เรียจฺตระกูลกัมโพช) หรือราชวงศ์กัมโพช-สุริยวงศ์[1] สถาปนาโดย พระเจ้าศรุตวรมัน พระมหากษัตริย์แห่งเจนละตามหลักฐานพบว่าต้นวงศ์ของพระองค์ทรงสืบสายราชวงศ์มาจาก พราหมณ์กัมพูสวยัมภูวะ และ พระนางอัปสรเมรา ทรงร่วมกันก่อตั้งราชวงศ์กัมโพช-สุริยวงศ์ของกัมพูชา ในราวคริสตศตวรรษที่ 1 พราหมณ์กัมพูสวยัมภูวะเป็นบรรพบุรุษของชาวกัมพุชเทศมีต้นกำเนิดในอินเดียตอนใต้[2]

ราชวงศ์กัมโพช
ภาษาเขมร: រាជត្រកូលកម្ពុ
พระราชอิสริยยศพระมหากษัตริย์แห่งเจนละ
ปกครองอาณาจักรเจนละ
บรรพบุรุษพราหมณ์กัมพูสวยัมภูวะ
สาขาไศวนิกาย
เชื้อพระวงศ์ที่สำคัญพระเจ้าศรุตวรมัน
พระเจ้าภววรมันที่ 1
ประมุขพระองค์แรกพระเจ้าศรุตวรมัน
ประมุขพระองค์สุดท้ายพระเจ้ามหิปติวรมัน
สถาปนาค.ศ. 550
ล่มสลายค.ศ. 802
เชื้อชาติเจนละ

ต่อมาราชวงศ์นี้ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของ อาณาจักรฟูนัน ช่วงการครองราชย์ของพระเจ้าภววรมันที่ 1 และ พระเจ้ามเหนทรวรมัน ราชวงศ์กัมโพช-สุริยะวงศ์มีความเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดโดยพระองค์สามารถขยายดินแดนของเจนละเข้าไปในดินแดนของฟูนันนำไปสู่การล่มสลายของอาณาจักรฟูนัน[3] และขยายอาณาจักรเจนละครอบคลุมจรดดินแดนของฟูนันเดิมทั้งหมด จากการโจมตีของ ราชวงศ์โจฬะแห่งชวา ทำให้อาณาจักรเจนละแตกออกเป็นสองอาณาจักรคือเจนละบกปกครองโดยราชวงศ์กัมโพช-สุริยวงศ์ และเจนละน้ำปกครองโดยราชวงศ์เกาฑิณยะ-จันทรวงศ์ ราชวงศ์กัมโพชล่มสลายลงเมื่อพระเจ้ามหิปติวรมันถูกพระเจ้าสัญชัยกษัตริย์แห่งชวาตัดพระเศียร ต่อมา พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เชื้อพระวงศ์พระองค์หนึ่งของราชวงศ์เกาฑิณยะ - จันทรวงศ์ ทรงรวบรวมดินแดนขึ้นใหม่ในนามจักรวรรดิเขมรและประกาศเอกราชจากชวาสำเร็จ

พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์กัมโพช[4]

แก้
ปกครอง พระนาม ครองราชสมบัติ นคร/ราชสกุล เหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย
อาณาจักรเจนละ พระเจ้าศรุตวรมัน ค.ศ. 435 - 495 เศรษฐปุระ
อาณาจักรเจนละ พระเจ้าเศรษฐวรมัน ค.ศ. 495 - 530 เศรษฐปุระ
อาณาจักรเจนละ พระนางกัมพุชราชลักษมี ค.ศ. 575 – 580 เศรษฐปุระ
อาณาจักรเจนละ พระเจ้าภววรมันที่ 1 ค.ศ. 550 - 600 ภวปุระ ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ
อาณาจักรเจนละ พระเจ้ามเหนทรวรมัน ค.ศ 600 - 616 ภวปุระ
อาณาจักรเจนละ พระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 ค.ศ. 616 - 635 อิศานปุระ
อาณาจักรเจนละ พระเจ้าภววรมันที่ 2 ค.ศ. 639 - 657 อิศานปุระ
อาณาจักรเจนละ พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 ค.ศ. 657 - 690 อิศานปุระ
อาณาจักรเจนละ พระนางเจ้าชัยเทวี ค.ศ. 690 - 713 อิศานปุระ
อาณาจักรเจนละ พระเจ้าสัมภูวรมันที่ 1 ค.ศ. 713 – 716 สัมภูปุระ
อาณาจักรเจนละ พระเจ้าบุษกรักษา ค.ศ. 716 – 730 อนินทิตปุระ
อาณาจักรเจนละ พระเจ้าสัมภูวรมันที่ 2 ค.ศ. 730 – 760 อนินทิตปุระ
อาณาจักรเจนละ พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 1 ค.ศ. 760 – 780 อนินทิตปุระ
อาณาจักรเจนละ พระเจ้ามหิปติวรมัน ค.ศ. 780–788 อนินทิตปุระ อาณาจักรชวาครองอาณาจักรเจนละ
จักรวรรดิเขมร พระเจ้าชัยวรรมันที่ 6 ค.ศ 1090 – 1107 มหิธรปุระ ปฐมกษัตริย์แห่งราชสกุลมหิธรปุระ
จักรวรรดิเขมร พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1 ค.ศ. 1107 – 1113 มหิธรปุระ
จักรวรรดิเขมร พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ค.ศ. 1113 – 1145 มหิธรปุระ
จักรวรรดิเขมร พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 ค.ศ. 1150 – 1160 มหิธรปุระ
จักรวรรดิเขมร พระเจ้ายโศวรมันที่ 2 ค.ศ. 1160 – 1165 มหิธรปุระ พระองค์ถูกขุนนางชาวจีนยึดอำนาจ
จักรวรรดิเขมร พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ค.ศ. 1181 – 1218 มหิธรปุระ สถาปนานครธมเป็นเมืองหลวง
จักรวรรดิเขมร พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 ค.ศ. 1219 – 1243 มหิธรปุระ
จักรวรรดิเขมร พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ค.ศ.1243 – 1295 มหิธรปุระ
จักรวรรดิเขมร พระเจ้าอินทรวรมันที่ 3 ค.ศ. 1295 – 1308 มหิธรปุระ
จักรวรรดิเขมร พระเจ้าอินทรชัยวรมัน ค.ศ. 1308 – 1327 มหิธรปุระ
จักรวรรดิเขมร พระเจ้าชัยวรมันที่ 9 ค.ศ. 1327 – 1336 มหิธรปุระ สิ้นสุดการปกครองโดยราชสกุลมหิธรปุระ

อ้างอิง

แก้
  1. Louis-Frédéric (1977) Encyclopaedia of Asian Civilizations, Louis Publisher: Original from the University of Michigan Volume 3 of Encyclopaedia of Asian Louis-Frédéric
  2. Sailendra Nath Sen (1999). Ancient Indian History and Civilization. ISBN 9788122411980. สืบค้นเมื่อ January 14, 2018.
  3. Claude Jacques, “'Funan', 'Zhenla'. The reality concealed by these Chinese views of Indochina”, in R. B. Smith and W. Watson (eds.), Early South East Asia: Essays in Archaeology, History, and Historical Geography, New York, Oxford University Press, 1979, pp. 371–9, p. 373.
  4. Kenneth T. So. "Preah Khan Reach and The Genealogy of Khmer Kings" (PDF). Cambosastra. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-08. สืบค้นเมื่อ March 2, 2017.