รถไฟรางเดี่ยว หรือ โมโนเรล (อังกฤษ: monorail) เป็นระบบขนส่งทางรางชนิดหนึ่ง ต่างจากระบบเดิมแทนที่จะมีราวเหล็กสองราวประกอบเป็นราง กลับมีลักษณะเป็นคานเหล็กหรือคอนกรีตเส้นเดียวให้รถวิ่งผ่าน คำว่า monorail มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2440[1] โดยอ็อยเกิน ลังเงิน (Eugen Langen) วิศวกรชาวเยอรมัน โดยประสมคำว่า mono (เดี่ยว) และ rail (ราวเหล็กสำหรับประกอบรางรถไฟ) เข้าด้วยกัน

รถรางเดี่ยวในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย

รถที่ใช้รางเดี่ยวจะวิ่งบนทางที่มีขนาดแคบกว่าตัวรถ[2] โดยอาจมีครีบสำหรับกอดรัดให้ตัวรถติดกับทางไว้ก็ได้ นิยมใช้เป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดกลาง จำนวนคนไม่มาก ต่างจากระบบรถรางหนัก (heavy rail) ซึ่งขนส่งคนได้ในปริมาณที่มากกว่า

ความแตกต่างจากระบบขนส่งรูปแบบอื่น

แก้

ความแตกต่าง

แก้

รถรางเดี่ยวแตกต่างจากรถรางและระบบรางเบา รางเดี่ยวสมัยใหม่มักจะมีการแบ่งพื้นที่จากช่องทางอื่นและคนเดินเท้าอย่างชัดเจน รางเดี่ยวสามารถเคลื่อนและรองรับได้ด้วยที่รองรับน้ำหนักเพียงส่วนเดียวแตกต่างจากระบบอื่น นอกจากนี้รางเดี่ยวยังไม่ต้องมีการรับไฟฟ้าจากเสาสาลี่อีกด้วย

รถไฟพลังแม่เหล็ก

แก้

รถไฟพลังแม่เหล็กบางส่วนใช้ในรูปแบบรางเดี่ยวเช่น Transrapid และ Linimo แต่มีความแตกต่างจากรถรางเดี่ยวรูปแบบอื่นที่รถไฟพลังแม่เหล็กจะไม่มีการสัมผัสกับรางโดยตรง

ประวัติ

แก้

ในปี พ.ศ. 2363 อีวาน เอลมานอฟ (Ivan Elmanov) นักประดิษฐ์ชาวรัสเซีย ได้คิดดัดแปลงรางรถไฟธรรมดาที่เคยมีราวเหล็กสองราวให้เหลือราวเหล็กเพียงเส้นเดียว ในเวลาต่อมา แนวคิดดังกล่าวได้รับการนำไปปรับใช้ที่อังกฤษในปีต่อมา โดยได้นำไปใช้ที่ท่าเรือเด็ตเฟิร์ด (Deptford Dockyard) กรุงลอนดอน และทางรถไฟสายเช็สซันต์ (Chesthunt) ซึ่งใช้สำหรับขนส่งหินจากเหมืองขุดหิน พร้อมไปกับการขนส่งคนโดยสารอีกด้วย ทางรถไฟสายเช็สซันต์ ถือเป็นทางรถไฟราวเดี่ยวสายแรกที่ขนส่งคนโดยสารสายแรกของโลก[3][4]

ในยุคแรก ๆ ทางรถรางเดี่ยวเป็นราวเหล็กรูปปากแตรคู่สำหรับให้ครีบล้อเกาะ แทนระบบเดิมที่ให้ล้อวางบนราวเหล็กสองเส้น บางทีอาจนำตู้โดยสารลงไปแขวนไว้กับล้อที่ติดบนราว แล้วให้ไหลไปตามราวก็ได้ เช่น ที่เมืองวุพเพอร์ทาล (Wuppertal) ประเทศเยอรมนี ในเวลาต่อมา รถรางเดี่ยวได้มีการพัฒนาให้มีล้อสองชุด ชุดหนึ่งทำหน้าที่ประคองตัวรถ อีกชุดทำหน้าที่ขับเคลื่อน รถรางเดี่ยวได้มีการใช้แพร่หลายมากขึ้นโดยลำดับ โดยในปี พ.ศ. 2499[5] ได้มีการทดสอบรถรางเดี่ยวที่เมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส ให้หลังจากนั้นก็มีการนำไปติดตั้งที่สวนสนุกดิสนีย์แลนด์[6] รวมไปถึงใช้เป็นระบบขนส่งมวลชนในกรุงโตเกียวอีกด้วย

ชนิดและลักษณะทางเทคนิค

แก้
 
Wuppertal Schwebebahn รางเดี่ยวแบบแขวนขบวนแรกของโลก

รถรางเดี่ยว สามารถจำแนกตามการจัดวางได้สองแบบคือแบบวางคร่อมราว (straddle-beam) กับแบบแขวนไว้กับราว (suspended)

รูปแบบรางเดี่ยวที่นิยมใช้มากที่สุดในทุกวันนี้คือแบบวางคร่อมราว ซึ่งล้อยางจะติดตั้งไว้ที่ด้านใต้ท้องรถและกะบังข้างตัวรถ เพื่อให้ตัวรถสามารถหนีบยึดไว้กับราวคอนกรีตที่มีความกว้างราว 0.6-0.9 เมตรได้ โดยรางเดี่ยวรูปแบบนี้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายจากการนำไปใช้โดยบริษัทของเยอรมนีอย่างอัลเวก

สำหรับรถแบบแขวนไว้กับราว จะมีแคร่ล้อเหล็กซึ่งวิ่งบนราวเหล็ก ใต้แคร่จะแขวนตู้โดยสารไว้ ระบบดังกล่าวถูกบุกเบิกและนำไปใช้แพร่หลายโดยกลุ่มองค์กรเพื่อการศึกษาธุรกิจแห่งฝรั่งเศส (SAFEGE) และมีการใช้ที่เมืองแฝดบาร์เมินและเอ็ลเบอร์เฟ็ลท์ในหุบเขาวุพเพอร์ ประเทศเยอรมนี

พลังงาน

แก้

รถรางเดี่ยวขับเคลื่อนด้วยกระแสไฟฟ้าที่ส่งผ่านรางที่สามหรือรางไฟ (third rail) แต่บางครั้งอาจใช้เครื่องยนต์ดีเซลขับเคลื่อน[7] นอกจากนี้บางระบบในอดีตยังมีการใช้พลังงานในรูปแบบของรถจักรไอน้ำเช่น Lartigue Monorail

แรงแม่เหล็ก

แก้

ในรถรางเดี่ยวที่ทันสมัยขึ้นอาจใช้สนามแม่เหล็กยกรถให้ลอยเหนือราวแล้วผลักให้วิ่งไป เรียกว่ารถไฟพลังแม่เหล็กหรือแมกเลฟ (MAGLEV) ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นระบบรางที่มีความเร็วสูงที่สุดในโลก โดย JR-Maglev ของญี่ปุ่นเป็นเจ้าของสถิติอยู่ที่ 581 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ราวเกาะสำหรับรถไฟแมกเลฟอาจจะกว้างมากจนไม่อาจเรียกว่าราวเกาะแบบรางเดี่ยวก็ได้[8][9] นอกจากนี้รถไฟพลังแม่เหล็กที่มีความเร็วต่ำกว่านี้มักจะถูกใช้ในเมืองเป็นหลักเช่น Linimo ของญี่ปุ่น

สถิติที่น่าสนใจ

แก้
  • สายรถรางเดี่ยวที่มีคนโดยสารมากที่สุด: กรุงโตเกียว มีผู้โดยสาร 311,856 คนต่อวันทำงาน (ปี 2553)[10]
  • สายรถรางเดี่ยวที่ยาวที่สุด: เมืองฉงชิ่ง (สาย 2 และ 3) ระยะทาง 55.6 กิโลเมตร
  • สายรถไฟพลังแม่เหล็กที่ยาวที่สุด: เมืองเซี่ยงไฮ้ ระยะทาง 30.5 กิโลเมตร
  • สายรถรางเดี่ยวแบบคร่อมราวที่ยาวที่สุด: เมืองฉงชิ่ง สาย 3 ระยะทาง 39.1 กิโลเมตร
  • สายรถรางเดี่ยวแบบแขวนที่ยาวที่สุด: เมืองชิบะ, ระยะทาง 15.2 กิโลเมตร
  • สายรถรางเดี่ยวที่เก่าแก่ที่สุดและยังใช้งานอยู่: ชเวเบอบานวุพเพอร์ทาล (Schwebebahn Wuppertal) สร้าง พ.ศ. 2444

โครงการรถรางเดี่ยวในประเทศไทย

แก้
 
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
 
รถไฟฟ้าสายสีชมพู
โครงการในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
โครงการในต่างจังหวัด
โครงการในอดีต
  • รถรางลอยฟ้า ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ (ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้)
  • รถรางลอยฟ้า สวนสนุกลีโอแลนด์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลซิตี้ บางนา (เซ็นทรัลพลาซา บางนา ในปัจจุบัน) (ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้)

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Etymology Online entry for monorail". Etymonline.com. สืบค้นเมื่อ 2010-09-11.
  2. "Monorail Society, What is a monorail?". Monorails.org. สืบค้นเมื่อ 2010-09-11.
  3. Finchley Society (1997-06-26). "Finchley Society Annual General Meeting Minutes" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2009-04-03.
  4. Today in Science History. "June 25 - Today in Science History". สืบค้นเมื่อ 2009-04-03.
  5. "First U.S. Monorail Has Trial Run." Popular Mechanics, June 1956, p. 77.
  6. "Disneyland Adds Submarine and Monorail". Popular Mechanics. July 1959. สืบค้นเมื่อ 21 December 2010.
  7. "Metrail Test Track Photo Essay - page one of three". Monorails.org. 2002-10-18. สืบค้นเมื่อ 2010-09-11.
  8. Svensson, Einar. "Definition and Description of Monorail" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-06-24. สืบค้นเมื่อ 16 August 2012.
  9. society, monorail. "definition of monorail". monorail society. สืบค้นเมื่อ 16 August 2012.
  10. http://www.tokyo-monorail.co.jp/company/profile.html
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-11. สืบค้นเมื่อ 2022-02-01. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)