รถธง (อังกฤษ: Flagship Car) หมายถึง รถรุ่นที่ได้ชื่อว่า ดีที่สุด มีชื่อเสียงเกียรติยศมากที่สุด และเป็นความภาคภูมิใจของบริษัทรถแต่ละยี่ห้อ

คำว่า รถธง หรือ Flagship Car มาจากคำว่า เรือธง หรือ Flagship ซึ่งมาจากในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 และก่อนหน้านั้น การทำสงครามยังไม่มีเครื่องบิน จึงมีการรบเฉพาะทางบกและทางน้ำ ในการรบทางน้ำ จะต้องใช้เรือเป็นหลัก การรบนั้นคงจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากส่งกองกำลังไปครั้งละหลายๆ ลำ หรือ กองเรือ (fleet of vessels) และเรือลำหนึ่งในฝูงเรือทั้งหมด จะได้รับเลือกให้เป็นที่ตั้งของหน่วยบัญชาการรบ ซึ่งถือเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลัก เป็นเอกลักษณ์ เป็นจุดสำคัญ และเป็นความภาคภูมิใจของกองเรือนั้น เป็นศัพท์เฉพาะที่เรียกว่า เรือธง (Flagship)

เรือที่จะได้รับเลือกเป็นเรือธง จะต้องมีคุณสมบัติที่มีขนาดใหญ่ที่สุด หรือเร็วที่สุด หรือใหม่ที่สุด หรือติดอาวุธป้องกันตัวมากที่สุด และมีห้องประชุมขนาดใหญ่พอที่จะรับรองกัปตันของเรือทุกลำในกองเรือ เพื่อที่จะเป็นการสะดวกที่จะใช้เป็นหน่วยบัญชาการรบ และทหารในกองทัพ ต้องใส่ใจและปกป้องเรือธงของพวกเขาไว้อย่างสุดความสามารถ ต่อมาคำว่า Flagship กลายเป็นคำศัพท์แสลงในหลายวงการ ซึ่งจะมีความหมายถึงสิ่งที่เป็นหัวใจหลักขององค์กร

เช่นเดียวกับในวงการธุรกิจรถยนต์ ซึ่งเปรียบบริษัทรถยนต์ว่าเป็นกองเรือ รถรุ่นต่างๆที่ค่ายรถยนต์ผลิตคือเรือรบลำน้อยใหญ่ในกองเรือ และรถรุ่นที่เป็นรถธงคือเรือธง ซึ่งเป็นรุ่นที่ได้ชื่อว่าดีที่สุด มีเกียรติยศมากที่สุดในบรรดารถทุกรุ่น และเป็นความภาคภูมิใจของค่ายรถยนต์ต้นสังกัด

โดยทั่วไปแล้ว รถรุ่นที่ได้รับเลือกให้เป็นรถธง มักเป็นรถรุ่นที่ใหญ่ที่สุด หรูหราที่สุด แพงที่สุดของยี่ห้อนั้น แต่ก็มีบ้างบางยี่ห้อที่ตั้งให้รถขนาดกลางหรือขนาดอื่นๆ เป็นรถธงของพวกเขา ซึ่งแต่ละยี่ห้อได้มีการตั้งรถรุ่นที่เป็นรถธงดังนี้

บริษัท รถธง
อเมริกันมอเตอร์ส์คอร์ปอเรชัน (American Motors Corporation:AMC) แอมบาสซาเดอร์ (AMC Ambassador)
แอสตันมาร์ติน (Aston Martin) แวนควิช (Aston Martin Vanquish)
เอาดี้ (Audi) เอ8 (Audi A8), เอส8 (Audi S8) และ วี8 (Audi V8)
เบนท์ลีย์ (Bentley) อาร์เนจ (Bentley Arnage), อซูรี (Bentley Azure) และมุลซานน์ (Bentley Mulsanne) เฉพาะรุ่นปี 2010
บีเอ็มดับเบิลยู (BMW) ซีรีส์ 7 (BMW 7 Series)
บูอิค (Buick) ลูเซิร์น (Buick Lucerne)
คาดิลแลค (Cadillac) โบรอาม (Cadillac Brougham), เอสทีเอส (Cadillac STS) และ เอสทีเอส-วี (Cadillac STS-V)
เชฟโรเลต (Chevrolet) อิมพาลา (Chevrolet Impala) และ ทาโฮ (Chevrolet Tahoe)
ไครส์เลอร์ (Chrysler) 300 (Chrysler 300)
ซีตรอง (Citroën) ซี6 (Citroën C6)
เดมเลอร์ (Daimler) โซเวอไรน์ (Daimler Soverign)
ดอดจ์ (Dodge) ไวเปอร์ (Dodge Viper)
ฟอร์ด (Ford) เอ็กซ์พิดิชัน (Ford Expidition) และ ไฟว์ ฮันเดร็ด (Ford Five Hunderd)
ฮอนด้า (Honda) เลเจนด์ (Honda Legend)
ฮุนได (Hyundai) อีคัวส (Hyundai Equus)
อินฟินิที (Infinity) คิว45 (Infinity Q45)
จากัวร์ (Jaguar) เอ็กซ์เจ (Jaguar XJ)
จิ๊ป (Jeep) คอมมานเดอร์ (Jeep Commander)
เล็กซัส (Lexus) แอลเอส (Lexus LS)
ลินคอล์น (Lincoln) คอนติเนนทัล (Lincoln Continental), ทาวน์ คาร์ (Lincoln Town Car)
มาเซราตี (Meserati) ควอตโทรปอร์เต (Maserati Quattroporte)
มายบัค (Maybach) 57 (Maybach 57), 62 (Mayback 62) และ เซปเปอลิน (Maybach Zeppelin)
เมอร์เซเดส-เบนซ์ (Mercedes-Benz) เอส-คลาส (Mercedes-Benz S-Class)
เมอร์คิวรี (Mercury) แกรนด์ มาร์ควิส (Mercury Grand Marquis)
มิตซูบิชิ (Mitsubishi) ดิกนิตี (Mitsubishi Dignity)
นิสสัน (Nissan) ซิมา (Nissan Cima) และ เพรซิเดนท์ (Nissan President)
แลนด์โรเวอร์ (Land Rover) เรนจ์ โรเวอร์ (Range Rover)
ลัมโบร์กีนี (Lamborghini) อะเวนตาโดร์ (Aventador)
โรลส์-รอยซ์ (Rolls-Royce) แฟนท่อม (Rolls-Royce Phantom)
เอสอีเอที (SEAT) เอกซีโอ (SEAT Exeo)
สโกดา (Škoda) ซูเปิร์บ (Škoda Superb)
ซูบารุ (Subaru) เลกาซี (Subaru Legacy)
โตโยต้า (Toyota) อวาลอน (Toyota Avalon) (เฉพาะตลาดแถบอเมริกาเหนือ)
เซนจูรี รอยัล (Toyota Century Royal) (ผลิตชั่วคราว มีจำนวนจำกัด)
คราวน์ มาเจสตา (Toyota Crown Majesta) (รถธงรุ่นหลัก ให้ความสำคัญมากที่สุด)
โฟล์กสวาเกน (Volkswagen) แฟตอน (Volkswagen Phaeton)
วอลโว (Volvo) เอส80 (Volvo S80)
แซดไอแอล (ZIL) 41047 (ZIL-41047)

[1]

จากการที่รถธงส่วนใหญ่ มักมีราคาแพง ทำให้รถธงเกือบทุกรุ่น ไม่ใช่รถที่มียอดขายสูงนักเมื่อเทียบกับรุ่นอื่นๆ ในยี่ห้อเดียวกัน แต่รถธงก็ถือเป็นความภาคภูมิใจของค่ายรถต้นสังกัด ค่ายรถส่วนใหญ่จะใส่ใจการผลิตรถธงของเขาอยู่มาก เพราะเป็นรุ่นที่แสดงเอกลักษณ์ของค่ายรถยนต์ที่ชัดเจน เป็นดั่งเรือธงในพาฝูงเรือของพวกเขาการต่อสู้ในสมรภูมิการค้า และเป็นเกียรติประวัติของค่ายรถยนต์ต่อไป

อ้างอิง แก้