ลินคอล์น ทาวน์ คาร์

ลินคอล์น ทาวน์ คาร์ (อังกฤษ: Lincoln Town Car) เป็นรถธง ของบริษัทรถยนต์ลินคอล์น (เป็นบริษัทรถยนต์ในสังกัดของ ฟอร์ดมอเตอร์) เป็นรถยนต์นั่งประเภทหรูหราขนาดใหญ่ (อังกฤษ: Full-size Luxury Sedan)

ลินคอล์น ทาวน์ คาร์
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตลินคอล์น (ฟอร์ดมอเตอร์)
เริ่มผลิตเมื่อค.ศ. 1981 - 2011
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งประเภทหรูหราขนาดใหญ่ (Full-size Luxury Car)
รูปแบบตัวถังซีดาน 4 ประตู
คูเป้ 2 ประตู
รุ่นที่คล้ายกันเอาดี้ เอ8
เล็กซัส แอลเอส
อินฟินิที คิว45
บีเอ็มดับเบิลยู 7 ซีรีส์
ลินคอล์น คอนติเนนทัล
จากัวร์ เอ็กซ์เจ
มาเซราตี ควอตโตรปอร์เต
โตโยต้า คราวน์ มาเจสตา
นิสสัน ซิมา
เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอส-คลาส
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์4.6-5.0 ลิตร V8
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าลินคอล์น คอนติเนนทัล (1980)
รุ่นต่อไปลินคอล์น มาร์คเอส (2008 - 2016)
ลินคอล์น คอนติเนนทัล (2017 - 2020; indirect)

ชื่อของลินคอล์น ทาวน์ คาร์ ปรากฏขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1922 โดยเป็นรถส่วนบุคคลที่ผลิตเป็นกรณีพิเศษให้กับ เฮนรี ฟอร์ด ผู้ก่อตั้งและประธานคนแรกของฟอร์ดมอเตอร์ ไม่มีการออกจำหน่าย แล้วชื่อทาวน์คาร์ก็หายไปพักหนึ่ง จนชื่อ ทาวน์ คาร์ มาปรากฏอีกครั้งโดยเป็นชื่อของทริมของรถรุ่น ลินคอล์น คอนติเนนทัล ในปี ค.ศ. 1959 แต่ชื่อทาวน์ คาร์ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก

ต่อมาในปี ค.ศ. 1974 ชื่อของทาวน์ คาร์ เด่นชัดขึ้นเมื่อลินคอล์น คอนติเนนทัล รุ่นที่ 4 มีการแบ่งประเภทของรุ่นรถออกเป็น 2 ประเภทอย่างชัดเจน โดยรถคูเป้ 2 ประตู ใช้ชื่อว่า "คอนติเนนทัล ทาวน์ คูเป้" ส่วนรถซีดาน 4 ประตู จะใช้ชื่อว่า "คอนติเนนทัล ทาวน์ คาร์"

ต่อมา ใน ค.ศ. 1981 ทาวน์ คาร์ ได้แยกตัวออกมาเป็นรถรุ่นใหม่ เป็นอิสระ ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของคอนติเนนทัลอีกต่อไป โดยหลังจากแยกรถทาวน์คาร์ออกมาจากรุ่นคอนติเนนทัล ทาวน์ คาร์ จูกจัดเกรดว่าเป็นรถหรูหราขนาดใหญ่ และคอนติเนนทัลถูกลดเกรดลงจากรถหรูหราขนาดใหญ่เป็นรถหรูหราขนาดกลาง (อังกฤษ: Mid-size Luxury Car)

ปัจจุบัน ทาวน์ คาร์ เป็นรถลีมูซีนยอดนิยมในแถบอเมริกาเหนือ มีราคาที่ถูกกว่ารถเกรดเดียวกันของยี่ห้ออื่นๆ ที่ขายในเฉพาะในแถบยุโรป แต่มีราคาแพงที่สุดเมื่อเทียบกับรถเกรดเดียวกันของยี่ห้ออื่นๆ ในสหรัฐอเมริกา โดยมีราคาของรุ่นมาตรฐานประมาณ 46,000 ดอลลาร์สหรัฐ และรุ่นเกรดสูงๆ ขึ้นไปก็มีราคาแพงขึ้น และมีชุดอุปกรณ์เสริมให้เลือกมากมาย หนึ่งในนั้นคือ ชุดแต่งแบบเกราะกันกระสุน ทำให้รถมีความปลอดภัยได้เทียบเท่ารถระดับประธานาธิบดี มีราคาเกือบ 100,000 ดอลลาร์ (เฉพาะชุดแต่ง ยังไม่รวมราคารถ)

กระแสตอบรับจากผู้ใช้ได้บอกว่า ทาวน์ คาร์ มีตัวถังใหญ่ ภายในที่กว้างขวาง หรูหราสะดวกสบาย วัสดุภายใน คุณภาพในการขับขี่ และระบบเบรกที่มีเสถียรภาพแม้บรรทุกน้ำหนักมาก เป็นที่น่าพอใจอย่างมาก แต่ยังต้องการให้ปรับปรุงในเรื่องของอัตราเร่ง(การเร่งแซง)

ปัจจุบัน ลินคอล์น ทาวน์ คาร์ มีวิวัฒนาการตามช่วงเวลาแบ่งได้ 3 รุ่น ดังนี้

รุ่นที่ 1 (ค.ศ. 1981 - 1989) แก้

 
ลินคอล์น ทาวน์ คาร์ รุ่นที่ 1

ทาวน์ คาร์ รุ่นที่ 1 มีรูปทรงเหลี่ยม ห้องโดยสารครึ่งหลังคบุลุด้วยหลังคาไวนิล ซึ่งดูภายนอกแล้วถือว่าตกยุคเล็กน้อย แต่ภายในรถเต็มไปด้วยอุปกรณ์ตกแต่งหรูหราล้ำสมัย เช่น หน้าปัทม์รถแสดงข้อมูลด้วยหน้าจอดิจิทัลแทนเข็มชี้ และสามารถคำนวณและแสดงผลให้ผู้ขับขี่ทราบได้ว่า ด้วยปริมาณเชื้อเพลิงคงเหลือในถัง สามารถใช้วิ่งต่อไปได้อีกกี่ไมล์ก่อนจะหมด และเมื่อผู้ขับขี่ใส่ระยะทางจากจุดเริ่มต้นถึงเป้าหมายเข้าไป ระบบของรถจะเก็บข้อมูลความเร็วของการขับขี่ แล้วประเมินและแสดงผลให้ผู้ขับขี่ทราบว่าจะใช้เวลาอีกเท่าไรจะถึงที่หมาย หากใช้ความเร็วเฉลี่ยดังที่ขับมา

นอกจากนี้ยังมีระบบคีย์แพด หากเจ้าของต้องการ จะสามารถเปลี่ยนระบบการล็อก ปลดล็อกประตู และกระโปรงหลังจากระบบกุญแจเป็นระบบกดรหัสผ่าน 5 หลัก จากแผงปุ่มที่ถูกติดตั้งไว้ในรถ รวมทั้งเก้าอี้ด้านหน้าที่ปรับตำแหน่งด้วยระบบไฟฟ้า (กดปุ่ม แล้วมอเตอร์จะเลื่อนตำแหน่งเก้าอี้) ซึ่งแทบจะหาไม่ได้เลยในรถในยุคเมื่อ 30 ปีก่อน หรือแม้แต่ยุคปัจจุบัน ใน ค.ศ. 1985 ได้มีการปรับโฉมแบบไมเนอร์เชนจ์ (การปรับโฉมเล็กน้อย) และในช่วงดังกล่าวราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก จึงได้ใช้โอกาสนี้โฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มยอดขาย ซึ่งค่อนข้างประสบความสำเร็จดีพอสมควร

ในช่วงนี้ ทาวน์ คาร์ ที่ขาย มี 3 ทริม คือ Base เป็นรุ่นมาตรฐาน, Signature เป็นรุ่นกลาง และ Cartier เป็นรุ่นท็อป เครื่องยนต์ที่ใช้เป็นเครื่องยนต์รุ่นวินเซอร์ วี8 ขนาด 5000 ซีซี ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ AOD 4สปีด พร้อมโอเวอร์ไดรฟ์

รุ่นที่ 2 (ค.ศ. 1990 - 1997) แก้

 
ลินคอล์น ทาวน์ คาร์ รุ่นที่ 2

ทาวน์ คาร์ รุ่นที่ 2 ในช่วงปีแรกหลังเปิดตัว ใช้เครื่องยนต์วินด์เซอร์ 5,000 ซีซี วี8 มี 3 ทริมแบบเดิม คือ Base, Signature และ Cartier รูปทรงลูกเล่นใหม่ที่ถูกติดตั้งเข้าไปคือ ระบบกระจกแบบ Electrochromic Dimming Mirror เมื่อแดดจัด กระจกจะเปลี่ยนสีเป็นสีดำ มีคุณสมบัติคล้ายฟีล์มกันแดดกันความร้อน และเมื่อแดดน้อยลง กระจกจะเปลี่ยนกลับเป็นกระจกใสมองเห็นทัศนัยภาพได้ชัดเจน, ระบบจดจำพฤติกรรมการขับรถ 2 คน จดจำลักษณะการขับรถของผู้ขับขี่ได้ สามารถบอกได้ว่าผู้ที่กำลังขับขี่เป็นใคร (หรือไม่ใช่ 2 คนที่สั่งให้ระบบจดจำไว้), เวลาปรับเบาะให้เอนนอนไปข้างหลัง จะมีเบาะสำรองที่อยู่บริเวณเอวพองขึ้นมาเพื่อลดมุมระหว่างเบาะนั่งกับเบาะหลัง

ใน ค.ศ. 1991 ทาวน์ คาร์ เปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์รุ่นโมดูลาร์ 4,600 ซีซี วี 8 กำลังสูงสุด 190 แรงม้า แรงบิด 352.5 นิวตัน-เมตร และชื่อทริม ถูกเปลี่ยน โดยทริมมาตรฐาน คือ Executive ตามด้วย Signature และ Cartier ตามลำดับ ต่อมาในปี 1993 ได้ปรับปรุงเครื่องยนต์ให้มีสมรรถนะเพิ่ม โดยกำลังสูงสุดเพิ่มเป็น 210 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 366.1 นิวตัน-เมตร อัตราการใช้เชื่อเพลิงเฉลี่ย 7.65 กิโลเมตรต่อลิตร ในเมือง และ 10.6 กิโลเมตรต่อลิตรบนถนนโล่ง

รุ่นที่ 3 (ค.ศ. 1998 - 2011) แก้

 
ลินคอล์น ทาวน์ คาร์ รุ่นที่ 3

ทาวน์ คาร์ รุ่นที่ 3 มีการออกแบบใหม่โดยเปลี่ยนจากรถทรงเหลี่ยมเป็นแบบโค้งมน ตัวถังสั้นลง 3 นิ้ว แต่กว้างขึ้น 2 นิ้ว สูงขึ้น 1 นิ้ว และหนักขึ้น 270 กิโลกรัม

จากกระแสตอบรับจากผู้ใช้ พบว่า ทาวน์ คาร์ ยังต้องปรับปรุงในรูปลักษณ์ภายนอกที่ดูตกยุคเมื่อเทียบกับช่วงเวลาของแต่ละรุ่น ตั้งแต่รุ่นแรกถึงรุ่นปัจจุบัน อีกทั้งยังมีอัตราเร่งต่ำ สมรรถนะของเครื่องน้อยเกินไป(เมื่อเทียบกับน้ำหนักรถ) และระบบการเลี้ยวรถยังไม่ดีนัก แต่ถึงกระนั้น ทาวน์ คาร์ ก็มีการแสตอบรับว่าเป็นรถที่กว้างขวาง ให้ความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารได้อย่างที่ยี่ห้ออื่นทำไม่ได้ และเครื่องยนต์เดินเงียบ แทบไม่มีเสียงรบกวนในห้องโดยสารขณะวิ่งรถ และเป็นรถลีมูซีนที่พบเห็นได้มากที่สุดในสหรัฐอเมริกา

ใน ค.ศ. 2003 เป็นต้นมา มีการเปลี่ยนแปลงการจัดระบบทริมไปๆ มาๆ จนในปัจจุบัน ทริมที่เป็นปัจจุบัน คือ Signature แทนรุ่น Executive, Signature Limited แทน Signature, Designer เป็นทริมใหม่ แทรกระหว่าง Signature เก่า กับ Cartier เก่า, Signature L แทน Cartier และ L Series เป็นทริมใหม่ มีระยะฐานล้อยาวกว่ารุ่นอื่นๆ 6 นิ้ว

ลินคอล์น วางแผนที่จะพัฒนาในเรื่องภาพลักษณ์ภายนอกและสมรรถนะของเครื่องยนต์ แต่ทว่า ทาวน์ คาร์ ก็มีภาพลักษณ์ในเรื่องดังกล่าวในแง่ลบมาเกือบ 30 ปีแล้ว เมื่อพูดถึงชื่อทาวน์คาร์ ผู้ที่รู้จักแม้จะนึกถึงรถที่สะดวกสบาย แต่ก็จะนึกถังรถที่เชื่องช้า สมรรถนะต่ำ รูปทรงตกยุคด้วย หากจะออกแบบรถรุ่นใหม่โดยที่ปรับปรุงข้อเสียดังกล่าวได้ ชื่อของทาวน์ คาร์ ก็จะเป็นตัวถ่วงความมั่นใจของผู้ซื้อ ดังนั้น ฟอร์ดมอเตอร์ จึงตัดสินใจหยุดสายการผลิตทาวน์ คาร์ ในปี 2011 นี้

อ้างอิง แก้