ม่อจื๊อ (จีน: 墨子; พินอิน: Mòzǐ; เวด-ไจลส์: Mo Tzu; ป. 470 ป. 391 ปีก่อน ค.ศ.)[1] เป็นนักปรัชญาชาวจีน คู่แข่งของขงจื๊อ หลักคำสอนของม่อจื๊ออยู่ในหนังสือที่มีชื่อเดียวกับชื่อของเขา คือ ม่อจื๊อ ประกอบด้วยข้อเขียน 53 บท เป็นทั้งข้อเขียนของเขาเองและที่สานุศิษย์ช่วยกันเรียบเรียงต่อเติม และมามีอิทธิพลต่อชาวจีนหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้วประมาณ 500 ปี

墨翟
ภาพวาดม่อจื๊อ
ภาพวาดม่อจื๊อ
เกิดป. 470 ปีก่อน ค.ศ.
รัฐหลู่ ราชวงศ์โจว (ปัจจุบันอยู่ในเถิงโจว มณฑลซานตง)
เสียชีวิตป. 391 ปีก่อน ค.ศ. (79 ปี)
ยุคปรัชญาโบราณ
แนวทางปรัชญาจีน
สำนักลัทธิม่อ
ความสนใจหลัก
ปรัชญาศีลธรรม/จริยธรรม, ปรัชญาสังคมและการเมือง, ตรรกะ, ญาณวิทยา
แนวคิดเด่น
ลัทธิม่อ
ม่อจื๊อ
"ม่อจื๊อ" ในอักษรจีนแบบตราประทับ (บน) และแบบทั่วไป (ล่าง)
ภาษาจีน墨子
ความหมายตามตัวอักษรท่านม่อ
มั่ว ตี๋
ภาษาจีน
ความหมายตามตัวอักษร(ชื่อตัว)

ประวัติ

แก้

ม่อจื๊อ มีชื่อจริงว่า มั่ว ตี๋ (墨翟) สถานที่เกิดไม่แน่นอน บ้างก็ว่ามาจากแคว้นสุ้ง (ปัจจุบันอยูระหว่างมณฑลเหอหนานและมณฑลซานตง) บ้างก็ว่ามาจากแคว้นเดียวกับขงจื๊อ คือมาจากแคว้นหลู่

แนวความคิดของม่อจื๊อเป็นปฏิปักษ์อย่างรุนแรงต่อแนวความคิดของขงจื๊ออย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าความต้องการที่เหมือนกันคือ เพื่อปรับปรุงให้สังคมดีขึ้น แต่ม่อจื๊อไม่นิยมวิธีการของขงจื๊อ โดยโจมตีว่า "เป็นวิธีการที่ไม่ได้ผลและเสียเวลา" ม่อจื๊อเน้นถึง ประโยชน์และความใช้ได้ของขนบธรรมเนียมประเพณีมากกว่าจะต้องยึดถือตามขงจื๊อทั้งหมด เชื่อในความเป็นไปของโลกหน้า สนับสนุนให้มนุษย์มีความรักซึ่งกันและกัน เขาเชื่อว่าความรักโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ วรรณะ ชนชั้น หรือความยากดีมีจน ประณามการทำสงคราม

ความแตกต่างระหว่างแนวความคิดของขงจื๊อกับม่อจื๊อนี้ ทำให้ขงจื๊อได้รับขนานนามว่า "เป็นนักประมวลขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีมาใช้" แต่ม่อจื๊อเป็น "นักวิจารณ์ นักติชม" นอกจากนี้ม่อจื๊อยังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำความรู้ทางด้านตรรกศาสตร์เข้ามาใช้ในจีนเป็นคนแรก[2] เกี่ยวกับตำแหน่งผู้ปกครองม่อจื๊อมีความเห็นว่า "ผู้ปกครองควรได้ตำแหน่งเพราะความดีและความสามารถส่วนตัวมากกว่าได้มาโดยการสืบตำแหน่ง ถ้าผู้ปกครองไม่มีความสามารถก็ควรจะยกตำแหน่งนี้ให้ที่ปรึกษาจะดีกว่า"

อ้างอิง

แก้
  1. Průšek, Jaroslav and Zbigniew Słupski, eds., Dictionary of Oriental Literatures: East Asia (Charles Tuttle, 1978): 119-120.
  2. Quale, G.Robina : Eastern Civilization (Prentice Hall, Inc., Englewood Cliffs, New Jersey, 1975) P. 364

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้