มีนาฏจิจุนตเรจุวรรรโกยิล (ทมิฬ: மீனாட்சி சுந்தரேசுவரர் கோயில்) เรียกโดยย่อว่า มีนาฏจิโกยิล (மீனாட்சி கோயில்) เป็นโบสถ์พราหมณ์เก่าแก่ ตั้งอยู่บนฝั่งทิศใต้ของแม่น้ำไวไก (Vaigai River) ในเมืองมตุไร รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย[1] สร้างถวายพระแม่มีนากษี ซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่งของพระปารวตี และถวายพระสุนทเรศวร อวตารปางหนึ่งของพระศิวะ สวามีของพระองค์[2][3]

มีนาฏจิโกยิล

แม้โบสถ์มีที่มาเก่าแก่ แต่สิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ในปัจจุบันสร้างขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 14 ทั้งมีการบูรณะและต่อเติมอีกในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ตามบัญชาของติรุมาลัย นายก (Thirumalai Nayak) เจ้าเมืองมตุไร[4][5] เพราะช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 กองทัพมุสลิมจากรัฐสุลต่านเดลี (Delhi Sultanate) เข้าโจมตีโบสถ์ แล้วปล้นเอาของมีค่า ก่อนทำลายศาสนสถานแห่งนี้ลงพร้อมกับแห่งอื่น ๆ ทั่วภาคใต้ของอินเดีย[6][7][8] โบสถ์ที่เห็นในบัดนี้เป็นผลมาจากการสร้างขึ้นใหม่ภายใต้ดำริของกษัตริย์หลายพระองค์แห่งจักรวรรดิวิชัยนคร[6][9] การต่อเติมครั้งสำคัญเกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ตามคำสั่งของวิศวนาถ นายก (Vishwanatha Nayak) และผู้สืบต่อตำแหน่งของเขา ปัจจุบัน ในเทวสถานประกอบด้วยโคปุระหรือซุ้มประตู 14 หลัง สูงราว 45–50 เมตร โคปุระหลังใต้มีความสูงมากที่สุด คือ 51.9 เมตร นอกจากนี้ ในโบสถ์ยังมีอาคารเสาสลักหลายหลัง และมีศาลอีกมากมายซึ่งสร้างถวายเทวดาในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในศาลเหล่านี้มีวิมานตั้งอยู่เหนือครรภคฤห์หรือหอศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งปิดทอง เป็นที่ประทับของพระมีนากษีกับพระสุนทเรศวร[9][10][11]

โบสถ์แห่งนี้เป็นจุดมุ่งหมายหลักในการแสวงบุญตามประเพณีลัทธิไศวะ ซึ่งถือพระศิวะเป็นใหญ่ แต่ก็มีสิ่งหลายสิ่งเกี่ยวข้องกับลัทธิไวษณพ ซึ่งถือพระวิษณุเป็นใหญ่ ทั้งนี้ เพราะถือว่าพระวิษณุเป็นพระภราดาของพระมีนากษี[12] ในโบสถ์ยังมีเทวรูปของเทพองค์อื่น เช่น พระลักษมี ชายาพระวิษณุ, พระกฤษณะทรงขลุ่ย, นางรุกมินี ชายาพระกฤษณะ, พระพรหม, พระสรัสวดี ชายาพระพรหม, และเทพตามคัมภีร์ปุราณะ พร้อมด้วยงานศิลปะเกี่ยวข้องกับวรรณกรรมฮินดู นับเป็นที่หมาย (landmark) สำคัญที่สุดในเมืองมตุไร แต่ละวันมีผู้เข้าชมหลักหมื่น[13] และเฉพาะช่วงสิบวันแห่งเทศกาลมีนากษีติรุกัลยาณัง (Meenakshi Tirukalyanam) ในเดือนจิตระ ซึ่งตกราวเดือนเมษายนหรือพฤษภาคมตามปฏิทินสุริยคติ จะมีผู้เข้าเยี่ยมชมเทวสถานรวมหลักล้าน[14]

อ้างอิง แก้

  1. Vijaya Ramaswamy (2017). Historical Dictionary of the Tamils. Rowman & Littlefield Publishers. pp. 9–10, 103, 210, 363–364. ISBN 978-1-5381-0686-0.
  2. Rajarajan, R.K.K. 2005. Minaksi or Sundaresvara: Who is the first principle? South Indian History Congress Annual Proceedings XXV, Madurai Kamaraj University, Madurai, pp. 551-553.
  3. Bharne, Vinayak; Krusche, Krupali (2014-09-18). Rediscovering the Hindu Temple: The Sacred Architecture and Urbanism of India (ภาษาอังกฤษ). Cambridge Scholars Publishing. ISBN 9781443867344.
  4. King 2005, pp. 72–74.
  5. D. Uma 2015, pp. 39–40.
  6. 6.0 6.1 Madurai, Encyclopedia Britannica, Quote: "The [Meenakshi] temple, Tirumala Nayak palace, Teppakulam tank (an earthen embankment reservoir), and a 1,000-pillared hall were rebuilt in the Vijayanagar period (16th–17th century) after the total destruction of the city in 1310."
  7. Michell 1995, pp. 9-10
  8. Tara Boland-Crewe; David Lea (2003). The Territories and States of India. Routledge. p. 401. ISBN 1-135-35624-6., Quote: "By the beginning of the 14th century south India was exposed to the depredations of Muslim raiders from the north, and even Madurai was destroyed in 1310, by Malik Kafur, briefly becoming the seat of a sultanate thereafter."
  9. 9.0 9.1 Christopher Fuller (2003). "Madurai". ใน George Michell (บ.ก.). Temple Towns of Tamil Nadu. Marg. pp. 94–113. ISBN 978-81-85026-213.
  10. Brian A. Hatcher (2015). Hinduism in the Modern World. Routledge. pp. 20–21. ISBN 978-1-135-04631-6.
  11. D. Uma 2015, pp. 34–47.
  12. V. K. Subramanian (2003). Art Shrines of Ancient India. Abhinav Publications. pp. 95–96. ISBN 978-81-7017-431-8.
  13. Gopal 1990, p. 181.
  14. Diana L. Eck (2013). India: A Sacred Geography. Random House. pp. 277–279. ISBN 978-0-385-53192-4.