ลัทธิจุลนิยม

(เปลี่ยนทางจาก มินิมัลลิสม์)

ลัทธิจุลนิยม หรือ ลัทธิมินิมัลลิสม์ (ภาษาอังกฤษ: Minimalism) คือขบวนการทางศิลปะและการออกแบบโดยเฉพาะจักษุศิลป์และคีตศิลป์ ที่เริ่มราวหลังสงครามโลกครั้งที่สองในศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะจักษุศิลป์ของสหรัฐอเมริกา ราวปลายคริสต์ทศศตวรรษ 1960 และ ต้นคริสต์ทศศตวรรษ 1970 งานลัทธิจุลนิยมจะเป็นงานที่ปอกรายละเอียดจนเหลือแต่แก่น ซึ่งมีผลต่องานศิลปะหลายแขนงรวมทั้งจิตรกรรม, ประติมากรรม และคีตกรรม ศิลปินผู้มีบทบาทในขบวนการนี้ก็ได้แก่ โดนัลด์ จัดด์ (Donald Judd), คาร์ล อันเดร (Carl Andre) และ ริชาร์ด เซร์รา (Richard Serra) ลัทธิจุลนิยมเป็นความคิดรากฐานของการลดลง (reductive aspect) ของลัทธิสมัยใหม่ (Modernism) บางครั้งจึงตีความหมายว่าเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม (Abstract Expressionism) และเป็นสะพานเชื่อมไปยังแนวคิดหลังยุคนวนิยม (Postmodernism)

“Dillingen Serra”[1] ประติมากรรมโดย ริชาร์ด เซร์รา

คำว่า “ลัทธิจุลนิยม” ครอบคลุมไปถึงขบวนการเปลี่ยนแปลงทางดนตรีซึ่งจะใช้การเล่นซ้ำและขยายจากแกนเช่นงานของ สตีฟ ไรค์ (Steve Reich), จอห์น แอดัมส์ (John Adams), ฟิลลิป กลาส (Philip Glass) และ เทอร์รี ไรลีย์ (Terry Riley)

คำว่า “ลัทธิจุลนิยม” มักจะใช้ในภาษาพูดที่หมายถึงสิ่งที่เปลือยจากรายละเอียดต่าง ๆ และบางครั้งก็ใช้บรรยายบทละครที่เขียนโดย ซามูเอล เบคเคท (Samuel Beckett), ภาพยนตร์โดย โรเบิร์ต เบรสซัน (Robert Bresson) และงานเขียนเรื่องเล่าของ เรมอนด์ คาร์เวอร์ (Raymond Carver), งานสถาปัตยกรรมของ ลุดวิก ฟอน เดอร์ โรห์ (Ludwig Mies van der Rohe) หรือแม้แต่การออกแบบรถยนต์โดย โคลิน แชพแมน (Colin Chapman)

อ้างอิง

แก้
  1. Dillinger.de: Richard Serra’s "Viewpoint" for Dillingen[1] เก็บถาวร 2007-12-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

ตัวอย่างงาน

แก้

หมายเหตุ: งานจิตรกรรมหรือประติมากรรมส่วนใหญ่ในหัวข้อนี้เป็นงานที่ยังสงวนลิขสิทธิ์จึงไม่สามารถนำมาแสดงให้ดูในบทความนี้ได้ แต่ถ้าจะดูภาพงานเขียนลักษณะนี้ก็ลิงก์ไปยังรูปได้ตรงหลังชื่อรูป

  • “ไม่มีชื่อ”[2] ประติมากรรม โดย โดนัลด์ จัดด์ ค.ศ. 1990
  • “ระดับทะเล”[3] (Sealevel) ประติมากรรม โดย ริชาร์ด เซร์รา, ประเทศเนเธอร์แลนด์
  • “ศาลาเยอรมัน”[4] สถาปัตยกรรม โดยลุดวิก ฟอน เดอร์ โรห์ ค.ศ. 1929, บาร์เซโลนา
  • “Memantra”[5] ประติมากรรม โดยแฟรงค์ สเตลลา (Frank Stella)
  • “ Wissenschaftsparks”[6] สถาปัตยกรรม โดยแดน เฟลวิน (Dan Flavin)
  • “Lotus Mk 2”[7] รถยนต์สร้างโดย โคลิน แชพแมน ค.ศ. 1949 จากชาสซิส Austin 7

สมุดภาพ

แก้