สำเนียงโคราช

(เปลี่ยนทางจาก ภาษาไทยโคราช)

ภาษาไทยสำเนียงโคราช เป็นภาษาไทยกลุ่มหนึ่งที่ใช้พูดกันในจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดใกล้เคียง เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาไทยกลาง ที่ออกสำเนียงเหน่อ และมีคำศัพท์ร่วมกับภาษาไทยกลาง และรับคำมาใช้จากภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาลาว และภาษาเขมร

ภาษาถิ่นโคราช
สำเนียงโคราช, ไทยเบิ้ง
ภูมิภาค
จำนวนผู้พูดไม่ทราบจำนวน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียน
รหัสภาษา
ISO 639-3

ลักษณะทางสัทศาสตร์

แก้

ภาษาไทยสำเนียงโคราช เป็นภาษาไทยถิ่นกลาง คำศัพท์ทั่วไปตรงกับภาษาไทยถิ่นกลาง มีสำเนียงค่อนข้างเหน่อและห้วนสั้นแบบภาคกลาง แต่มีการผันคำต่ำ-สูงที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นกลางบ้าง โดยมักใช้เสียงวรรณยุกต์เอก (เสียงต่ำ) แทนเสียงวรรณยุกต์โท (เสียงสูง) เช่น "โม่" แทน "โม้" หรือ "เสื่อ" แทน "เสื้อ" เป็นต้น นอกจากนี้ยังยืมคำในภาษาไทยถิ่นอีสานมาใช้ปะปนกันด้วยเล็กน้อย และเมื่อพูดจบประโยคจะลงท้ายด้วยคำว่า "เบิ้ง, เหว๋ย, ด๊อก"

ต้นกำเนิด

แก้

เชื่อกันว่าบรรพบุรุษของชาวไทโคราชอพยพมาจากอยุธยา และแถบจังหวัดชายทะเลตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี ระยอง นครนายก เป็นต้น เข้ามาในบริเวณจังหวัดนครราชสีมาและพื้นที่ใกล้เคียง และได้ผสมกลมกลืนกับกลุ่มคนพื้นเมืองเดิม ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็น ไท-เสียม หรือไทสยามลุ่มน้ำมูล เกิดเป็นวัฒนธรรมไทโคราช เรียกตนเองว่า ไทโคราช ไทเบิ้ง หรือ ไทเดิ้ง ต่อมาได้มีการติดต่อค้าขายกับชาวลาว ชาวไทยอีสานและชาวเขมร และมีการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวลาว ชาวไทยอีสานและชาวเขมรเข้ามาทีหลัง ทำให้เกิดการวิวัฒนาการของภาษา โดยมีการยืมคำไทยอีสาน และคำเขมรปะปนเข้ามาใช้ เกิดเป็นคำไทโคราช ซึ่งแตกต่างจากภาษาไทยถิ่นอิสานโดยทั่วไป เพราะยังคงรักษารากศัพท์เดิมไว้คือภาษาไทยถิ่นกลางนั่นเอง

ไทโคราชนั้นเป็นชื่อเผ่าชนพื้นเมืองที่เรียกกันโดยรวม ซึ่งเกิดจากการจำแนกภาษา การแต่งกาย วัฒนธรรมและอื่นๆ โดยหากกล่าวถึงเรื่องภาษานั้น ภาษาไทโคราชจะคล้ายไปทางภาษากลาง มีปนอิสานบ้าง เขมรบ้าง แต่หากฟังจากสำเนียง และคำแต่ละคำนั้นจะเห็นได้ว่า สำเนียงภาษาไทโคราชนั้นจะเบนไปทางสำเนียงอิสาน และภาษานั้นส่วนใหญ่จะเป็นภาษาเขมร ปนภาษาอิสาน ซึ่งภาษาเขมร และภาษาอิสานล้วนแล้วแต่เป็นสำเนียงภาษาแม่ของแถบประเทศไทย หากลองสังเกตคำง่ายๆเช่น "ทองคำ" แยกได้เป็น "ทอง" เป็น เป็นภาษาแถบทางมอญ "คำ"เป็นภาษาอิสาน รวมกันเป็นภาษาไทยคือ "ทองคำ" ซึ่งก็เป็นทำนองเดียวกันกับภาษาไทโคราช เช่นคำว่า "จิ" (แปลว่า จะ) "จะ" เป็นภาษากลาง "สิ" เป็นภาษาอิสาน ภาษาไทโคราชคือ "จิ" เกิดจากการกร่อนเสียงของคำสองคำที่นำมารวมกัน "เดิ๋น" (แปลว่า เดิน) "ดำเนิน" เป็นภาษาเขมร ส่วนในภาษาไทโคราชคือ "เดิน" หรือ "เดิ๋น" ตามสำเนียงท้องที่ "ซะ" (แปลว่า สระน้ำ) "สระ" มาจากภาษาเขมร ส่วนภาษาไทโคราชคือ "สระ" หรือ "ซะ" ออกเสียงตรงตัวตามภาษาต้นแบบ คำลงท้ายเพื่อเน้นย้ำในภาษานั้นคือ "เด้อ" ซึ่งเป็นภาษาทางไทลาว "ทอง" เป็นภาษาตระกูลมอญ ดังนั้นจะเป็นได้ว่าภาษาไทโคราชนั้นเกิดจากหลายสำเนียงภาษามารวมกัน ซึ่งเกิดจากการกร่อนคำบ้าง ผสมคำบ้าง ตัดทองลดคำบ้าง ทำให้เกิดเป็นภาษาไทโคราช

การกระจายตัว

แก้

เป็นภาษาที่ใช้มากในจังหวัดนครราชสีมาเกือบทุกอำเภอ ยกเว้นบางอำเภอที่มีชาวไทยอีสานอยู่เป็นจำนวนมากกว่า เช่น อำเภอปักธงชัย อำเภอสูงเนิน อำเภอบัวใหญ่ เป็นต้น นอกจากนี้พบว่ามีการใช้ภาษาไทยสำเนียงโคราชในประชากรบางส่วนของจังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสระแก้ว จังหวัดปทุมธานี อีกด้วยเนื่องจากมีประชากรไปอาศัยอยู่มาก

อ้างอิง

แก้