ภาษาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ภาษาราชการในประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีทั้งหมด 4 ภาษา ได้แก่ ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี และภาษารูมันช์[3] โดยภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอิตาลีได้รับการรับรองให้เป็นภาษาราชการของรัฐสภาสวิตเซอร์แลนด์อย่างเป็นทางการ ขณะที่ภาษารูมันช์ถูกใช้แค่ในการติดต่อราชการกับประชาชน[4] บางครั้งก็มีการใช้ภาษาละตินสำหรับกรณีที่เป็นทางการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อแสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ (อย่างคำว่า Confoederatio Helvetica)[5]

ภาษาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ภาษาราชการภาษาเยอรมัน, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาอิตาลี, ภาษารูมันช์
ภาษาประจำชาติ
ภาษาพื้นถิ่นภาษาบาวาเรีย, ภาษาฝรั่งเศสพรอว็องส์, ภาษาฝรั่งเศสสวิส, ภาษาฟร็องก์-กงเต, ภาษาเยอรมันวัลเซอร์, ภาษาเยอรมันสวิส, ภาษาเยอรมันสวิสมาตรฐาน, ภาษาอิตาลีสวิส, ภาษาลอมบาร์ด
ภาษาผู้อพยพ
ภาษามือภาษามือฝรั่งเศส, ภาษามือเยอรมันสวิส, ภาษามืออิตาลี[1]
รูปแบบแป้นพิมพ์
ฐานข้อมูลFSO[2]

จากสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2020 มีประชากรชาวสวิสที่ใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาแม่ถึงร้อยละ 62.3% ของทั้งหมด (ไม่ว่าจะเป็นภาษาเยอรมันสวิสหรือภาษาเยอรมันมาตรฐาน) ภาษาฝรั่งเศสประมาณร้อยละ 22.8% (ส่วนใหญ่เป็นภาษาฝรั่งเศสสวิส โดยนับรวมภาษาย่อยอย่างภาษาฝรั่งเศสพรอว็องส์ด้วย) ภาษาอิตาลีประมาณร้อยละ 8% (ส่วนใหญ่เป็นภาษาอิตาลีสวิส ในที่นี้นับรวมภาษาลอมบาร์ดด้วย); และภาษารูมันช์ประมาณร้อยละ 0.5%[6] โดยพื้นที่ที่ใช้ภาษาเยอรมัน (Deutschschweiz) จะตั้งอยู่ทางภูมิภาคตะวันออก เหนือ และตอนกลางโดยประมาณ ขณะที่พื้นที่ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (la Romandie) จะตั้งอยู่ทางภูมิภาคตะวันตก ส่วนพื้นที่ที่ใช้ภาษาอิตาลี (Svizzera italiana) จะตั้งอยู่ทางทางตอนใต้ของประเทศ โดยที่ยังมีประชากรในท้องถิ่นที่ใช้ภาษารูมันช์ในภูมิภาคตะวันออกของรัฐเกราบึนเดินอยู่บ้าง ภาษารูมันช์ได้รับการยกฐานะภายในรัฐฟรีบูร์ รัฐแบร์น และรัฐวาเลให้เป็นภาษาทางการร่วมกับภาษาเยอรมัน และได้รับการยกสถานะภายในรัฐเกราบึนเดินให้เป็นภาษาทางการร่วมกับภาษาเยอรมันและภาษาอิตาลี

ความเป็นมา แก้

ภาษาแม่ของชาวสวิสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 จนถึง 2015 คิดเป็นสัดส่วนดังนี้:[7]

ภาพรวมสัดส่วนภาษาแม่ของชาวสวิส
ปี ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี ภาษารูมันช์ ภาษาอื่น ๆ
2015 63.7% 22.7% 8.4% 0.6% 5.3%
2000 63.7% 20.4% 6.5% 0.5% 9.0%
1990 63.6% 19.2% 7.6% 0.6% 8.9%
1980 65.0% 18.4% 9.8% 0.8% 6.0%
1970 64.9% 18.1% 11.9% 0.8% 4.3%
1960 69.4% 18.9% 9.5% 0.9% 1.4%
1950 72.1% 20.3% 5.9% 1.0% 0.7%

ในปี ค.ศ. 2012 เป็นครั้งแรกที่ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถระบุภาษาที่พูดได้มากกว่าหนึ่งภาษาขึ้นไป ทำให้สัดส่วนในการทำแบบสอบถามมีมากกว่า 100%[7]

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถ แก้

อ้างอิง แก้

  1. [1] เก็บถาวร 10 เมษายน 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "Sprachen 2015" (ภาษาเยอรมัน, ฝรั่งเศส และ อิตาลี). Neuchâtel, Switzerland: Federal Statistical Office FSO. 31 January 2017. สืบค้นเมื่อ 13 June 2017.
  3. "SR 101 The Federal Constitution of the Swiss Confederation of 18 April 1999 (Status as of 12 February 2017): Art. 4 National languages". The portal of the Swiss government (Federal Law collection). Berne, Switzerland: The Federal Council. 12 February 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2014. สืบค้นเมื่อ 13 June 2017.
  4. "SR 441.1 Bundesgesetz über die Landessprachen und die Verständigung zwischen den Sprachgemeinschaften [Federal Act on the National Languages and Understanding between the Linguistic Communities] (Sprachengesetz, SpG) vom 5. Oktober 2007 (Stand am 1. Januar 2017): Art. 5 Amtssprachen". The portal of the Swiss government (Federal Law collection) (ภาษาเยอรมัน, ฝรั่งเศส, อิตาลี และ โรแมนซ์). Berne, Switzerland: The Federal Council. 1 January 2017. สืบค้นเมื่อ 13 June 2017.
  5. "Languages of instruction in Switzerland - Daily Research". www.dailyresearch.co.uk. Daily Research. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2022. สืบค้นเมื่อ January 20, 2022.
  6. "Languages". Office Federal Statistical (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-07-07.
  7. 7.0 7.1 "Die zehn häufigsten Hauptsprachen der ständigen Wohnbevölkerung" (official website) (ภาษาเยอรมัน, ฝรั่งเศส และ อิตาลี). Neuchâtel, Switzerland: Swiss Federal Statistical Office FSO. 28 February 2018. สืบค้นเมื่อ 18 November 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้