Fitna เป็นภาพยนตร์โดยเคร์ต วิลเดร์ส นักการเมืองชาวดัตช์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้นับถือศาสนาอิสลามและคำสอนในอัลกุรอาน เผยแพร่ครั้งแรกวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551 ในอินเทอร์เน็ต[1] ชื่อของภาพยนตร์มาจากคำในภาษาอาหรับ

ฟิตน่า
กำกับเคร์ต วิลเดร์ส
เขียนบทเคร์ต วิลเดร์ส
อำนวยการสร้างเคร์ต วิลเดร์ส
วันฉาย27 มีนาคม พ.ศ. 2551
ความยาว16:48
ประเทศเนเธอร์แลนด์
ภาษาดัตช์
ข้อมูลจาก IMDb

วิลเดร์สเผยแพร่ภาพยนตร์นี้ครั้งแรกในเว็บไซต์วิดีโอ Liveleak เมื่อเวลา 7 นาฬิกาของวันที่ 27 มีนาคม ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศเนเธอร์แลนด์ อย่างไรก็ตาม Liveleak ถอดวิดีโอนี้ออกจากเว็บไซต์ในเวลาต่อมา ให้เหตุผลว่าเพื่อปกป้องพนักงานขององค์กรจากคำขู่[2] ภาพยนตร์นี้แสดงบางบท (ซูเราะหฺ) จากอัลกุรอาน ประกอบกับข่าวหนังสือพิมพ์และคลิปสื่อต่างๆ[3]

ปัจจุบันกูเกิลได้มีการนำมาวิดีโอจาก Liveleak โฮสต์ไว้ให้ผู้เข้าชมได้ที่เว็บกูเกิลวิดีโอ[4]

ปฏิกิริยาก่อนการเผยแพร่ แก้

ปฏิกิริยาจากเนเธอร์แลนด์ แก้

ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในสื่อของเนเธอร์แลนด์ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเผยแพร่ภาพยนตร์นี้[5] โดยได้ทำแผนอพยพให้กับสถานกงสุลและสถานทูตทั่วโลก ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินจากภาพยนตร์ที่กำลังจะออกเผยแพร่ และเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้แน่นหนาขึ้นกับค่ายทหารในต่างประเทศ[6]

นายกรัฐมนตรี ยัน เปเตอร์ บัลเกอเนนเดอ ของเนเธอร์แลนด์ แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลสะท้อนที่จะเกิดกับพลเมืองและผลประโยชน์ของเนเธอร์แลนด์[7] ซึ่งวิลเดร์สก็ได้กล่าวหาว่า บาลเกเนนเดยอมก้มหัวให้กับอิสลาม[8] กระทรวงยุติธรรมของเนเธอร์แลนด์สืบสวนการเผยแพร่ภาพยนตร์นี้ เพื่อหาว่าสามารถขัดขวางการเผยแพร่นี้ได้หรือไม่ ซึ่งไม่สามารถกระทำได้[9]

ในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2551 รัฐบาลเนเธอร์แลนด์เพิ่มระดับความเสี่ยงจากการก่อการร้ายจากระดับจำกัดเป็นระดับสูง เนื่องจากกลัวว่าผู้ก่อการร้ายมุสลิมจะโจมตีเป้าหมายของยุโรปโดยอ้างภาพยนตร์นี้[10][11] มีการประท้วงที่จัตุรัสดามในอัมสเตอร์ดัมในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2551[12]

ปฏิกิริยาจากนานาชาติ แก้

สหภาพยุโรปแจ้งเตือนภารกิจทางการทูตทั่วโลกให้ระวังปฏิกิริยาจากการเผยแพร่ภาพยนตร์นี้[13] นาโตกล่าวว่ากลัวว่าผลจาก Fitna จะกระทบกับความปลอดภัยของกองกำลังในอัฟกานิสถาน[14] Zabihullah Mujahid ได้เน้นว่ากลุ่มฏอลิบานอาจเพิ่มการโจมตีกองทัพและกลุ่มมนุษยธรรมของเนเธอร์แลนด์หากมีการเผยแพร่ภาพยนตร์[15]

Ahmad Badr al-Din ผู้นำศาสนาของประเทศซีเรีย กล่าวว่าหากมีภาพการเผาอัลกุรอานในภาพยนตร์นี้ ชาวดัตช์จะต้องรับผิดชอบและอาจมีการโจมตีผลประโยชน์ของชาติตะวันตก[16] มีรายงานว่าอัลกออิดะฮ์เรียกร้องให้ชาวมุสลิมสังหารวิลเดร์ส[17] ประเทศอิหร่านขู่ที่จะทบทวนจุดยืนทางการทูตกับเนเธอร์แลนด์ หากภาพยนตร์เรื่องนี้ออกอากาศ[18] มีการประท้วงในคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน[19][20] ในขณะที่ประเทศอียิปต์เผ้าจับตามองสถานการณ์นี้อย่างใกล้ชิด[21]

ประธานาธิบดีนีกอลา ซาร์กอซี ของฝรั่งเศส ประกาศอย่างเป็นทางการว่าฝรั่งเศสจะให้การสนับสนุนทุกอย่างที่จำเป็นกับเนเธอร์แลนด์ในการหยุดยั้งความรุนแรงจากกลุ่มมุสลิมที่เป็นผลจากการเผยแพร่ Fitna[22]

การแบนยูทูบของปากีสถาน แก้

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ปากีสถานได้แบนเว็บไซต์ยูทูบเป็นเวลาหลายวัน เนื่องจากมีคลิปวิดีโอซึ่งอ้างว่าเป็นตัวอย่างของ Fitna ต่อมากูเกิลได้ยอมตามการประท้วงของปากีสถานและนำคลิปนี้ออก[23][24][25] ซึ่งผลจากการบล็อก ปากีสถานได้ทำให้ยูทูบไม่สามารถเข้าได้จากทั่วโลกเป็นเวลาสองชั่วโมง[26][27]

ปฏิกิริยาหลังจากการเผยแพร่ แก้

ยัน เปเตอร์ บัลเกอเนนเดอ นายกรัฐมนตรีของเนเธอร์แลนด์ ได้มีปฏิกิริยาในนามของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์[28] โดยส่วนหนึ่งระบุว่า

"ภาพยนตร์นี้เทียบอิสลามกับความรุนแรง เราปฏิเสธการตีความนี้ ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ปฏิเสธความสุดโต่งและความรุนแรง ในความเป็นจริง ในบรรดาเหยื่อก็มีชาวมุสลิมด้วย ดังนั้นเราจึงเสียใจที่นายวิลเดร์สได้เผยแพร่ภาพยนตร์นี้ เราเชื่อว่ามันไม่ได้ทำอะไรเลยนอกจากทำให้เกิดความขุ่นเคือง"[28]

คูร์ต เวสเตร์การ์ด ผู้เขียนการ์ตูนชาวเดนมาร์ก หนึ่งในผู้เขียนการ์ตูนล้อเลียนมุฮัมมัด ได้แสดงว่าความกังวลเกี่ยวกับการใช้การ์ตูนของเขาในภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์[29] สหภาพนักหนังสือพิมพ์ของเดนมาร์กกล่าวว่า สหภาพจะยื่นฟ้องในนามของเวสเตร์การ์ด เนื่องจากเวสเตร์การ์ดยังคงซ่อนตัวอยู่จากคำขู่เอาชีวิต[30] เวสเตร์การ์ดกล่าวว่า การ์ตูนของเขามุ่งเป้าไปที่ผู้ก่อการร้ายชาวมุสลิม ไม่ใช่ตัวศาสนาอิสลาม[31]

ปัน กีมุน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้มีถ้อยแถลงในวันที่ 28 มีนาคม ประณามภาพยนตร์นี้ว่า "ต่อต้านอิสลามอย่างน่ารังเกียจ" "รับรู้ความพยายามของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ในการยุติการเผยแพร่ภาพยนตร์นี้ และเสริมว่า "เสรีภาพในการแสดงออกไม่ได้กำลังสูญเสียไปจากเหตุนี้" และ "เสรีภาพจะต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบต่อสังคมเสมอ"[32][33]อิหร่าน ปากีสถาน และอินโดนีเซียได้ประณามภาพยนตร์เรื่องนี้[34][35] ปากีสถานได้เรียกให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับภาพยนตร์นี้ในการประชุมสุดยอดขององค์การการประชุมอิสลาม (OIC) [36]

อ้างอิง แก้

  1. "Dutch MP posts Islam film on web". BBC. March 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-03-27. (อังกฤษ)
  2. "Threats push anti-Qur'an film Fitna offline". Radio Netherlands Worldwide. March 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-31. สืบค้นเมื่อ 2008-03-28. (อังกฤษ)
  3. Blokker, Bas (March 2008). "Fitna the Movie: not hyperbole or metaphor but repetition". NRC Handelsblad. สืบค้นเมื่อ 2008-03-28. (อังกฤษ)
  4. "Fitna ที่กูเกิลวิดีโอ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-31. สืบค้นเมื่อ 2008-03-30.
  5. Jansen, Paul (2007-11-27). "Provocerende film Wilders". De Telegraaf. สืบค้นเมื่อ 2008-03-22. (ดัตช์)
  6. de Jong, Perro (2008-01-23). "Wilders and his film worry Dutch expats". NowPublic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-09. สืบค้นเมื่อ 2008-03-08. (อังกฤษ)
  7. Tran, Mark (March 2008). "Dutch government could ban anti-Islam film". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-03-08. (อังกฤษ)
  8. "Wilders: Premier is beroepslafaard". elsevier.nl. 2008-02-23. สืบค้นเมื่อ 2008-03-08. (ดัตช์)
  9. Pipes, Daniel (2007-12-29). "Will Geert Wilders Show His Film on the Koran?". สืบค้นเมื่อ 2008-03-08. (อังกฤษ)
  10. "Nederland vreest aanslagen wegens film Wilders". hln.be. March 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-03-08. (ดัตช์)
  11. "Dutch Raise Terror Threat Level After Film Stokes Muslim Hostility". dw-world.de. March 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-03-09. (อังกฤษ)
  12. "Dutch protest against Islam film". BBC. March 2008. (อังกฤษ)
  13. "EU braces for outrage over Dutch lawmaker's anti-Koran film". The Associated Press. March 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-03-25. (อังกฤษ)
  14. "Nato fears over Dutch Islam film". BBC. March 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-03-08. (อังกฤษ)
  15. "Taliban threatens attacks because of Wilders film". Algemeen Nederlands Persbureau]publisher=Expatica News. 2008-02-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-04. สืบค้นเมื่อ 2008-03-08. (อังกฤษ)
  16. "Geert Wilders Fitna Movie Timeline". FeceOnAir.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-06. สืบค้นเมื่อ 2008-03-08. (อังกฤษ)
  17. "'Al Qaeda Fatwa against MP Wilders'". NIS News Bulletin. 2008-02-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-02. สืบค้นเมื่อ 2008-03-08. (อังกฤษ)
  18. Park, Michael (2008-01-21). "Iran Warns Netherlands Not to Air Controversial 'Anti-Muslim' Film". FOX News. สืบค้นเมื่อ 2008-03-08. (อังกฤษ)
  19. Masood, Ahmad (March 2008). "Afghans chant death in cartoon protest". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2008-03-24. (อังกฤษ)
  20. "Afghans protest Danish cartoons". Press TV. March 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-16. สืบค้นเมื่อ 2008-03-24. (อังกฤษ)
  21. "Egypt 'monitoring attacks on Islam ahead of Dutch TV film'". Agence France-Presse. Google. 2008-02-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-09. สืบค้นเมื่อ 2008-03-08. (อังกฤษ)
  22. "Frankrijk belooft Nederland steun na Wilders-film". hln.be. March 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-03-08. (ดัตช์)
  23. "Pakistan blocks YouTube website". BBC. 2008-02-24. สืบค้นเมื่อ 2008-03-08. (อังกฤษ)
  24. "Pakistan lifts the ban on YouTube". BBC. 2008-02-26. สืบค้นเมื่อ 2008-03-08. (อังกฤษ)
  25. Waterman, Shaun (2008-02-26). "Pakistan unblocks YouTube after video goes". United Press International. Middle East Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-09. สืบค้นเมื่อ 2008-03-29. (อังกฤษ)
  26. "Pakistan move knocked out YouTube". CNN. 2008-02-05. สืบค้นเมื่อ 2008-03-08. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help) (อังกฤษ)
  27. "Pakistan's YouTube ban briefly affected global access". Agence France-Presse. Inquirer.net. 2008-02-26. สืบค้นเมื่อ 2008-03-27. (อังกฤษ)
  28. 28.0 28.1 "(Dutch) Government's reaction to Wilders' film". Ministry of General Affairs. March 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-03-27. (อังกฤษ)
  29. "Journalistforbund hjælper Westergaard". Ritzau. March 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-03. สืบค้นเมื่อ 2008-03-28. (เดนมาร์ก)
  30. Moore, Matthew (March 2008). "Danish cartoonist to sue Dutch MP over anti-Islamic film". The Daily Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-31. สืบค้นเมื่อ 2008-03-28. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help) (อังกฤษ)
  31. McLaughlin, Kim (March 2008). "Danish Prophet cartoonist says has no regrets". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2008-03-27. (อังกฤษ)
  32. "Condemning 'offensively anti-Islamic' video, Ban Ki-moon appeals for calm". UN News Centre. March 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-03-29. (อังกฤษ)
  33. Krauskopf, Lewis (March 2008). "U.N.'s Ban condemns Dutch film as anti-Islamic". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2008-03-28. (อังกฤษ)
  34. Marquand, Robert (2008-03-26). "'Fitna': Dutch leader's anti-Islam film brings strife". The Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ 2008-03-30. (อังกฤษ)
  35. "Iran, Indonesia Condemn Anti-Islamic Dutch Film". Voice of America. 2008-03-28. สืบค้นเมื่อ 2008-03-30. (อังกฤษ)
  36. "Pakistan summons Dutch ambassador". Radio Netherlands Worldwide. 2008-03-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-08. สืบค้นเมื่อ 2008-03-30. (อังกฤษ)