สามก๊ก เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิวรรณศิลป์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับวรรณคดี วรรณกรรม โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย เรื่องสั้น นวนิยาย และอื่น ๆ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ สามก๊ก หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
สามก๊ก เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิสามก๊ก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับตัวละคร กลศึก สงคราม ฯลฯ เพื่อเป็นจุดศูนย์รวมของสามก๊ก ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ สามก๊ก หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
สามก๊ก เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศจีนและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศจีน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ สามก๊ก หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

Chang'an แก้

อยากทราบว่าเมือง Chang'an คือเมืองอะไรในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ครับ warut 06:39, 9 ธันวาคม 2007 (ICT)

เมืองฉางอานนั้นคนไทยรู้จักในนามเมืองเตียงอั๋น เตียงฮัน หรือเซ่งอั๋น จากเรื่องสามก๊ก สมัยนี้เรียกว่า ซีอาน แปลว่า สันติภาพตะวันตก ตัวเมืองตั้งอยู่ในมณฑลฉ่านซี --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 08:19, 9 ธันวาคม 2007 (ICT)

อ๋อ…เมืองเตียงอั๋นนั่นเอง ขอบคุณมากครับ warut 08:34, 9 ธันวาคม 2007 (ICT)

ชื่อบทความ แก้

เท่าที่พิจารณาเนื้อหาจากบทความซึ่งมีอยู่เดิม บทความนี้ควรเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อที่มีความหมายแคบขึ้น ได้แก่

  1. สามก๊กฉบับบทละคร  
  2. นิทานสามก๊ก
  3. สามก๊กฉบับหลอกว้านจง
  4. สามก๊กเอี้ยนหงี หรือ ซำก๊กเอี้ยนหงี (ภาษาฮกเกี้ยนตามแบบเจ้าพระยาพระคลัง)  
  5. ซานกว๋อเหยี่ยนยี่ (ภาษาจีนกลาง)  

เนื่องจากมีวรรณกรรมที่มุ่งเป้าไปที่เรื่องเดียวกัน คือ ซำก๊กจี่ หรือซานกว๋อจื้อ หรือสามก๊กฉบับพงศาวดาร ของตันสิ้ว หรือเฉินโส้ว แต่อย่างไรก็ดี เนื้อหายังต้องได้รับการแก้ไขให้มีความละเอียดและเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ เช่น เพิ่มในส่วนของเรื่องย่อ ฯลฯ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อบทความใหม่ (พร้อมเพิ่มบทความ "สามก๊กฉบับพงศาวดาร" ด้วย) ทั้งนี้หากท่านใดมีความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะประการใด โปรดแนะนำด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง Char 21:59, 8 เมษายน 2551 (ICT)

บทความนี้อันที่จริงก็คือ สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ซึ่งแปลมาจาก ซานกว๋อเหยียนยี่ คิดว่าน่าจะใช้ชื่อนี้นะคะ แล้วให้ "สามก๊ก" redirect มาที่นี่ เพราะเป็นชื่อที่รู้จักทั่วไป ส่วน ซานกว๋อจื้อ น่าจะแยกเป็น "จดหมายเหตุสามก๊ก" ซึ่งน่าจะตรงความหมายมากกว่าค่ะ --Tinuviel | พูดคุย 19:06, 26 เมษายน 2551 (ICT)

การพิมพ์ สามก๊ก ฉบับภาษาไทย แก้

ในบทความเขียนไว้ว่า สามก๊ก ฉบับภาษาไทย ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2345 อย่างไรก็ตาม ในสมัยนั้นการพิมพ์ยังไม่มีในประเทศไทย เพิ่งมีการพิมพ์ภาษาไทยครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๓ หนังสือเรื่องแรก ๆ ที่พิมพ์ด้วยตัวอักษรไทยนั้น เป็นเอกสารเผยแผ่ศาสนาคริสต์ที่คณะมิชชันนารีชาวอเมริกันได้พิมพ์มาจากสิงคโปร์ ราวปี พ.ศ. 2360 ส่วนเครื่องพิมพ์อักษรไทยที่นำเข้าประเทศสยามเป็นครั้งแรก ก็เป็นของหมอบรัดเลย์ และมีการพิมพ์เอกสารห้ามสูบยาฝิ่นของรัลกาลที่สามในปี พ.ศ. 2382 เพราะฉะนั้น ผมอยากจะถามเพื่อนชาววิกิีพีเดียว่า สมควรที่จะแก้ภาษาในบทความให้อ่านว่า "เผยแพร่ในปี" หรือ "แต่งในปี "แทน "ตีพิมพ์ในปี 2345" หรือไม่ (ผมไม่ใช่เจ้าของภาษา ก็เลยอยากฟังความคิดเห็นของคนไทยไว้ก่อนนะครับ) -- rikker 01:01, 1 กันยายน 2551 (ICT)

ก็ในนั้นเขาบอกว่า "แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยโดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ในปี พ.ศ. 2345 และได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้งภายใต้ชื่อ "หนังสือสามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภา" โดยโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ในปี พ.ศ. 2471"
ซึ่งก็ถูกต้องแล้วนี่ครับ ถ้ายังสงสัยอะไรอีก เชิญสอบถามได้ครับ
(English replying below is translated to you, in case you don't clearly understand).
In this article, states "translated and rearranged in Thai by Jao Phra Ya Phra Klang Hon, (เจ้าพระยาพระคลัง (หน); Hon the, minister of Finance), in B.E. 2345, which was in the era of King Buddha Yodfa Chulaloke, the great. And It is firstly printed for republishing in the name of "หนังสือสามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภา" (Book of the Romance of Three Kingdoms, by The Royal Institute - Thailand". This version was printed by Sophon Pipat Thanakorn Printing in BE 2471."
Thus, everything is alright. If you need something to be clarify, please feel free to leave a massage. Cheers,
--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง จงเหวิน) 06:12, 1 กันยายน 2551 (ICT)
ตารางในตอน "การแปลเป็นภาษาต่าง ๆ" บอกว่าฉบับภาษาไทย "ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2345" ผมก็เลยแก้เป็น "แปลเมื่อ พ.ศ. 2345 ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2408" ตามเนื้อหาในบทความ -- rikker 08:30, 1 กันยายน 2551 (ICT)

อ้อ ข้าพเจ้ารับทราบแล้ว ขอบคุณที่ช่วยกันทำมาหากินครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง จงเหวิน) 10:50, 1 กันยายน 2551 (ICT)

วรรณกรรม & นิยาย แก้

เห็นมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนกันบ่อยครั้ง ระหว่างการจัดประเภทของสามก๊กให้เป็นวรรณกรรมและนิยาย ซึ่งจริงแล้วสามก๊กจัดเป็นวรรณกรรม โดยคำว่าวรรณกรรมหมายถึงผลงานการประพันธ์ที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดีมีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ ถึงขนาด เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน มัทนะพาธา สามก๊ก เสภาเรื่องขุนช้าง ขุนแผน สำหรับนิยายหมายถึงงานประพันธ์ที่แต่งขึ้นจากจินตนาการ เพื่อความบันเทิงไม่ใช่เรื่องจริง เมื่อนำมาเป็นสำนวนจึงมีความหมายโดยปริยายว่าเรื่องไม่จริง--Se:Rinพูดคุย – 15:48, 16 กันยายน 2551 (ICT)

กลับไปที่หน้า "สามก๊ก"