พูดคุย:วันชาติ (ประเทศไทย)

วันชาติ (ประเทศไทย) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ วันชาติ (ประเทศไทย) หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

การย้อนบทความ แก้

ดิฉันขอย้อนบทความกลับไปสู่ข้อความที่มีการอ้างอิงครบถ้วนนะคะ ส่วนข้อความที่ไม่มีอ้างอิงนั้น ค่อนข้างที่จะเป็นข้อความที่เขียนขึ้นจากความรู้สึกและยังหาอ้างอิงมารองรับไม่ได้ ถ้าหากมีการอ้างอิงสมบูรณ์ค่อยนำกลับมาใหม่นะคะ --ฉัตรา (พูดคุย) 22:03, 13 เมษายน 2555 (ICT)

ในวิกิพีเดียไทยนี้ มีข้อความที่เป็นปัญหาดังที่คุณอ้างคือ "เป็นข้อความที่เขียนขึ้นจากความรู้สึก และยังหาอ้างอิงมารองรับไม่ได้" อยู่มากมาย ส่วนมากมีเพียง{{อ้างอิง}} ลงไว้ท้ายประโยคเท่านั้นด้วยซ้ำไป แต่ข้อความเหล่านั้นก็ยังดำรงอยู่ได้จนถึงวินาทีนี้ ดังนั้นคุณควรดำเนินการกับข้อความที่เข้าข่ายดังกล่าว "ทั้งหมด" ด้วยมาตรฐานเดียวกับข้อความ "ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนัยแห่งการเฉลิมฉลองไปในทางเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย มากกว่าจะแสดงออกถึงการเชิดชูสถาบันชาติ" หรืิอไม่เช่นนั้นก็ต้องปล่อยไว้เช่นนั้น (พร้อมทั้งแม่แบบ{{อ้างอิง}}ต่อท้าย) จนกว่าจะมีลิงก์อ้างอิงที่คุึณเห็นว่าชัดเจนและสมบูรณ์มากำกับต่อไป ดังนั้นจึงชอบด้วยความถูกต้องที่จะนำข้อความดังกล่าวกลับมา เพราะนัยสำคัญของวันที่ถูกยกเลิก และนัยสำคัญของวันที่ได้รับการประกาศทดแทน นั้นก็ชัดเจนในตัวของมันเองอยู่แล้ว ที่จริงไม่จำเป็นต้องมีอ้างอิงใดๆ เสียด้วยซ้ำ ข้อความที่มีปัญหาก็เป็นเพียงการขยายความจากข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่เพียงเท่านั้น ผู้ใดก็ตามที่อ้างเหตุว่าไม่มีอ้างอิงและใช้ความรู้สึก ผู้นั้นต่างหากที่ใช้ความรู้สึกโดยปราศจากการอ้างอิงใดๆ ในการตัดสินความเหมาะควรของการดำรงอยู่ซึ่งข้อความนั้น -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิทสโมสร | 20:16, 14 เมษายน 2555 (ICT)

คำว่า "คุณ" ในข้อความ "ดังนั้นคุณควรดำเนินการกับข้อความที่เข้าข่ายดังกล่าว "ทั้งหมด"" หมายถึงดิฉันหรือเปล่าคะ ถ้าหมายถึงดิฉัน ดิฉันขอเรียนว่า บทความในวิกิพีเดียมีมากกว่า 70,000 บทความในปัจจุบัน โดยทางวิกิพีเดียนั้นเปิดช่องทางให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ไข และดิฉันคือผู้หนึ่งที่อาสาสมัครเข้ามาร่วมแก้ไขบทความในวิกิพีเดียแห่งนี้ การที่คุณกล่าวว่าให้ดิฉันดำเนินการข้อความที่เข้าข่ายดังกล่าวทั้งหมด ดิฉันไม่สามารถทำได้เพียงลำพังคะ แต่ถ้าทุกคนร่วมมือกันแก้ไขข้อความที่เข้าข่ายดังกล่าวก็อาจจะสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้คะ

ดิฉันไม่เห็นด้วยในตรรกะที่ว่า ถ้าบทความอื่นผิดได้ บทความนี้ก็ต้องผิดได้เช่นกัน เพราะสิ่งที่ผิด ถึงแม้จะมีผู้กระทำมากมายเพียงใด มันก็ยังคงเป็นสิ่งที่ผิดคะ และถ้าเราทำให้บทความนี้ถูกต้อง เราจะสามารถลดบทความที่ผิดได้หนึ่งบทความ แต่ถ้าเราทำให้บทความนี้ผิดเหมือนบทความอื่น เราจะได้บทความที่ผิดเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งบทความคะ คงมีเพียงผู้ด้อยด้วยปัญญาเท่านั้นคะที่จะไม่พยายามแก้ไขสิ่งที่ผิดให้ถูกต้องตามที่ควรจะเป็น--ฉัตรา (พูดคุย) 20:33, 14 เมษายน 2555 (ICT)

  • ผมได้มีส่วนแก้ไขบทความนี้ด้วย และเป็นนำใส่ซึ่งอ้างอิง และลบข้อมูลที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงออก ส่วนที่นำออกและนำเข้าก็คือ สาเหตุว่าทำไมวันชาติของไทยจึงเป็นวันที่ 5 ธันวาคม ก็แค่นั้นเอง ผมปฏิบัติตามนโยบายว่าด้วยแหล่งอ้างอิงหากไม่แน่ใจให้อ่านที่แม่แบบต้องการอ้างอิงระบุไว้ชัดว่า เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก แล้วผมก็นำเนื้อหาที่ไม่มีอ้างอิงออก เอาเนื้อหาซึ่งมีแหล่งอ้างอิงใส่เข้าไป ก่อนแก้ไขตอบโจทย์ให้ได้ก่อนว่าแก้อะไร แค่ต้องการแก้ว่าสาเหตุที่ใช้วันนี้เป็นวันชาติ หากมีเหตุอื่นก็นำใส่เข้าไปพร้อมระบุแหล่งอ้างอิงที่พิสูจน์ได้ และไม่จำเป็นที่จะต้องนำข้อมูลเดิมออก เพราะส่วนนี้คือเหตุที่ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงวันชาติได้เขียนเอาไว้ ตามราชกิจจานุเบกษา ไม่ใช่คำวิจารณ์ของผู้ใด แก้ไขบทความโดยไม่มีแหล่งอ้างอิงแล้วใส่แม่แบบต้องการอ้างอิงไว้ไม่ต่างอะไรกับการที่เขาเรียกว่านั่งเทียนเขียนข่าว จะพิสูจน์ได้อย่างไรว่านี่ไม่ใช่ความเห็นของผู้เขียนเอง หรือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่ในบทความ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 00:01, 15 เมษายน 2555 (ICT)
การเอาข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและมีแหล่งอ้างอิงออก แล้วเอาสิ่งที่(ยัง)พิสูจน์ไม่ได้ใส่ลงไปแทน การทำอย่างนี้ไม่ได้ช่วยพัฒนาบทความ แต่ทำให้บทความลดคุณภาพลงครับ ถ้าคุณทั้งหลายมีแนวคิดอื่นที่ต่างจากราชกิจจานุเบกษา ก็นำมาเพิ่มประกอบไว้เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ไม่ใช่เอามาแทนที่ครับ เพราะราชกิจจานุเบกษาก็เป็นความจริงที่ไม่ตาย (คุณเซนิทควรตระหนักว่าราชกิจจานุเบกษาคืออะไร) ส่วนแนวคิดอื่นที่ติดแท็กต้องการอ้างอิง ก็อาจมีคนเอาเนื้อหานั้นออกก็ได้ในอนาคต ไม่คงอยู่ตลอดไป แสดงว่าไม่ได้รับการยอมรับจากผู้อ่าน ซึ่งเป็นกลไกการตรวจสอบตามปกติของวิกิพีเดีย --浓宝努 00:26, 15 เมษายน 2555 (ICT)
นอกจากนี้แล้ว เมื่อมีข้อกังขาเกิดขึ้น การพิสูจน์ยืนยันควรเป็นหน้าที่ของผู้ที่นำข้อมูลมาใส่ หวังว่าคงจำได้นะครับ --浓宝努 01:14, 15 เมษายน 2555 (ICT)
การแก้ไขบทความ ผู้เขียนควรปฏิบัติตนเสมือนเป็นศาลยุติธรรรม แม้รู้ข้อเท็จจริงด้วยสายตาตนเอง ก็มิอาจตัดสินให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะคดีตามที่สายตาเราเห็นได้ จงตัดสินตามหลักฐานที่นำเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์ ผมเองก็เคยปฏิบัติผิดนโยบายวิกิพีเดียมาก่อน เมื่อเข้าใจนโยบายว่าด้วยแหล่งอ้างอิง(หลักฐาน) ก็ไม่เคยนำใส่ข้อมูลซึ่งไม่มีแหล่งอ้างอิงในอันที่จะทำให้สาระสำคัญเปลี่ยนแปลงอีกเลย บทความนี้ก็เช่นกันก่อนแก้ไขผมได้ค้นหาข้อมูลแล้ว ไม่พบสาเหตุอื่นนอกจากที่เขียนไว้ราชกิจานุเบกษา จึงแก้ไปตามนั้นครับ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 01:31, 15 เมษายน 2555 (ICT)
ถ้าเช่นนั้น ผมจะไม่ก้าวล่วงในส่วนของเนื้อหา แต่สำหรับส่วนนำเรื่อง ก็คงไว้แค่ ปัจจุบันเป็นวันอะไร ก่อนหน้านี้เป็นวันอะไร แล้วก็จบแค่นั้น เนื่องจากในเนื้อหาแต่ละหัวข้อก็มีระบุอยู่แล้ว ว่าเพราะเหตุใดอย่างไร จึงไม่จำเป็นต้องมีข้อความในลักษณะที่เป็น "สะพานเชื่อม" ไปสู่การยกยอปอปั้นอย่างไม่จำเป็น เพื่อให้เป็นข้อยุติแบบ "ถอยกันคนละก้าว" ก็แล้วกันนะครับ -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิทสโมสร | 16:50, 15 เมษายน 2555 (ICT)
  • ยกเหตุ 24 มิ.ย. แล้ว สมควรบยกเหตุล้มล้างวันที่ 24 ด้วย ว่าแรงจุงใจใดที่ทำให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลง วันชาติ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 20:11, 15 เมษายน 2555 (ICT)
ส่วนนำที่ผมเขียนนั้น ก็ให้ข้อความที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายแล้ว จึงควรจะพึงพอใจได้แล้ว -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิทสโมสร | 20:36, 15 เมษายน 2555 (ICT)
  •   จะแก้ยังไงก็ว่ากันไปตามข้อมูลที่มี ไม่ได้ขัดข้อง และไม่ยึดติดกับสิ่งที่ตนเองทำไว้ เพราะทำใจแล้วว่าที่นี่วิกิพีเดีย ทุกอย่างพร้อมที่จะถูกแก้ไขทันทีที่กดบันทึก --Sasakubo1717 (พูดคุย) 11:21, 16 เมษายน 2555 (ICT)

ทำไมต้องพระมหากษัตริย์ แก้

คำตอบนี้ไม่ยากหากใช้มาตรฐานบทความวิกิพีเดียเป็นหลัก ดูบทความตัวอย่างเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ ล้วนเรียกว่าพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น ประเทศอื่นก็เช่นกัน --Sasakubo1717 (พูดคุย) 21:21, 16 เมษายน 2555 (ICT)

ผมช่วยแก้คำราชาศัพท์ให้แล้วครับ --浓宝努 21:29, 16 เมษายน 2555 (ICT)

เรื่องนี้มีการอภิปรายกันไปแล้วนะคะ วิกิพีเดีย:ศาลาชุมชน/อภิปราย/ชื่อบทความกษัตริย์--ฉัตรา (พูดคุย) 21:30, 16 เมษายน 2555 (ICT)

  •   ขอบคุณทั้งสองท่านครับ มัวแต่แก้บน ไม่ได้แก้ล่าง ศาลาชุมชนก็ไม่ทันเข้ามามีส่วนร่วม ตาสว่างขึ้นอีกหน่อย --Sasakubo1717 (พูดคุย) 21:36, 16 เมษายน 2555 (ICT)
มุมมองสากล!! -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิทสโมสร | 17:40, 17 เมษายน 2555 (ICT)
ใน มุมมองสากล ก็ยกตัวอย่าง เรื่อง ศาลในประเทศไทย อยู่แล้วครับ กรณีที่เขียนลงลึกเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับประเทศไทย บทความนี้ก็ไม่ต่างกันครับ --Lerdsuwa (พูดคุย) 01:29, 18 เมษายน 2555 (ICT)
มุมมองสากลไม่ได้เกี่ยวกับการใช้ภาษานะครับ การใช้ภาษาที่ถูกต้อง เนื้อหาสาระก็ยังเหมือนเดิม ไม่ได้กลายเป็นของประเทศไทย ในทางตรงข้าม การใช้คำสามัญ ก็ไม่ได้ทำให้เนื้อหาเป็นสากลมากขึ้น ถ้าเรื่องที่กำลังพูดถึงเกี่ยวกับประเทศไทย กรุณาแยกให้ออกด้วยครับ --浓宝努 16:55, 18 เมษายน 2555 (ICT)

มุมมองสากลอะไรคะ สากลใช้คำว่า king เมื่อแปลเป็นภาษาไทยก็ใช้ตามศัพท์บัญญัติราชบัญฑิตสถานที่แปลคำว่าking = พระมหากษัตริย์ค่ะ --ฉัตรา (พูดคุย) 23:23, 17 เมษายน 2555 (ICT)

via รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ 10 มีนาคม 2555 "คำว่าแบบไทย หรือไทยไทย ถ้าเอาไปต่อท้ายคำใดก็ตาม มันจะปฏิเสธสิ่งที่อยู่ข้างหน้าเสมอ เช่น สมมติท่านบอกว่า ประชาธิปไตยแบบไทย มันคือไม่ใช่ประชาธิปไตย ถ้าท่านบอกว่า ความยุติธรรมแบบไทย มันคือไม่ใช่ความยุติธรรม เพราะฉะนั้น ถ้าท่านต้องการปฏิเสธอะไร ให้เอาคำว่าแบบไทย ไปใส่ในสิ่งที่เป็นมาตรฐานสากล มันคือการปฏิเสธสิ่งนั้น" (สำนักข่าวประชาธรรม)
ราชบัณฑิตยสถาน นอกจากจะเป็นที่รวมของคนชราผู้หลงยุค ที่อีกไม่กี่วันก็ตายแล้ว (เพราะนี่เป็นบ้านเมืองของ "คนรุ่นต่อไป" ต่างหาก!!) ยังเป็นอีกองค์กรหนึ่งที่เป็น "แบบไทย" ด้วยเช่นกัน -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิทสโมสร | 18:12, 18 เมษายน 2555 (ICT)

มุมมองสากล คือนโยบายวิกิพีเดียหมายถึง การกล่าวถึงเรื่องเดียวกันที่มีในภูมิภาคอื่นด้วยถ้าหากมี เช่น กฎหมายเกี่ยวกับหนี้ ดังนั้นเราไม่ควรเขียนเพียงแต่เรื่องกฎหมายของประเทศไทยในบทความนั้น แต่เขียนเรื่องเกี่ยวกับประเทศอังกฤษด้วย ฝรั่งเศสด้วย อิตาลีด้วย ฯลฯ เขียนให้ครอบคลุมแนวคิดที่เหมือนกัน แบบนี้คือมุมมองสากล มุมมองสากลมิได้หมายถึงภาษาสากล คุณเซนิทเข้าใจผิดและหลงประเด็นไปอย่างมาก เนื่องจากเข้าใจว่าภาษาสากลคือมุมมองสากล อย่างไรก็ดี บทความนี้ไม่สามารถเป็นมุมมองสากลได้ เพราะเกี่ยวแก่ประเทศไทยเท่านั้น --浓宝努 19:28, 18 เมษายน 2555 (ICT)

การแก้ประโยค แก้

ประโยค "ตามขนบประเพณีดั้งเดิม" คำว่า "ดั้งเดิม" สามารถตีความได้ 2 อย่างคะ 1. ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยทั่วไปจะถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติ 2. ประเทศไทยเคยใช้วันพระราชสมภพเป็นวันชาติมาก่อน

แต่เหตุผลที่เขียนในอ้างอิง คือ คณะกรรมการเห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามขนบประเพณีของประเทศที่พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ใช่เพราะประเทศไทยเคยใช้วันพระราชสมภพเป็นวันชาติมาก่อน ดังนั้น ดิฉันจึงเห็นว่า เพื่อให้ตรงกับเหตุผลที่คณะกรรมการระบุไว้มากที่สุด จึงควรเขียนให้ตรงตามอ้างอิงคะ จะได้ไม่ต้องมีใครมานั่งตีความเป็นอย่างอื่นอีก --ฉัตรา (พูดคุย) 16:05, 20 เมษายน 2555 (ICT)


บทความนี้เห็นด้วยให้เขียนตามอ้างอิง เพราะสามารถคัดลอกมาได้อยู่แล้ว ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่จำเป็นต้องดัดแปลงอะไรอีก เขียนไปโดยหลักการเขียนว่าด้วยการนำเสนอข้อมูลให้ครบถ้วน ไม่ต้องระลึกถึงอุดมการณ์ส่วนบุคคลของผู้เขียนเอง --Sasakubo1717 (พูดคุย) 16:10, 20 เมษายน 2555 (ICT)

ทางออกหนึ่งที่แก้ปัญหานี้ได้อย่างถาวรคือ แสดงเนื้อหาไว้ในกรอบว่าเป็นการยกมาเหมือนต้นฉบับ เราก็จะได้ไม่ต้องมีปัญหาเรื่องภาษาให้เป็นสงครามแก้ไขกันอีก ดีไหมครับ ถ้ายังมีการย้อนกันอยู่อีก แสดงว่าเป็นปัญหาความไม่พอใจส่วนตัวแล้ว --浓宝努 16:14, 20 เมษายน 2555 (ICT)

ดิฉันเห็นด้วยนะคะ เพราะเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากการเลือกใช้คำตามความพึงพอใจของแต่ละคน ถ้าจะให้หมดปัญหาไปก็ควรเขียนตามคำที่ระบุไว้ในอ้างอิงเพื่อเป็นข้อยุติและไม่ต้องมานั่งตีความกันอีกจะดีกว่าคะ--ฉัตรา (พูดคุย) 16:25, 20 เมษายน 2555 (ICT)

ทางออกที่คุณoctahedron80 กล่าวมานั้น เป็นเรื่องดีและเห็นด้วย ในทางปฏิบัติเชื่อว่าไม่สามารถทำได้ ดูจากประวัติการแก้ไข เพราะยังมีความพยายามแก้ไขให้ตรงกับอุดมการณ์ในทางการเมืองของผู้เขียนเองอย่างต่อเนื่อง ขอให้ได้สักนิดก็เอา อย่างเช่น พระบรมราชสมภพ/ประสูติ พระมหากษัตริย์/กษัตริย์ ยังมีการใส่คำอธิบายอย่างย่อผิดวัตถุประสงค์อย่างร้ายแรง แม้ผมเองจะมีแนวความคิดแตกต่างก็ไม่เคยแก้ไขบทความเกี่ยวกับราชวงศ์เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านมุมมอง หากแหล่งอ้างอิงพิสูจน์ชัดแจ้ง แม้บางแหล่งอ้างอิงซึ่งเป็นหนังสือและมิอาจพบได้ในประเทศไทยซึ่งผมไม่สามารถพิสูจน์ได้ ก็ไม่เคยก้าวล่วงแก้ไขหากไม่เห็นแหล่งอ้างอิง หากทำได้ตามข้อเสนอแล้วหากมีการแก้ไขผิดไปจากเดิมจะดำเนินการอย่างไรต่อไป --Sasakubo1717 (พูดคุย) 17:17, 20 เมษายน 2555 (ICT)

เอาของเก่ามาเซฟ แก้

ดิฉันขอชี้แจงดังนี้คะ เฉพาะ "ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้พิจารณาแล้วเห็นว่า ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยทั่วไปจะถือเอาวันบรมพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติ แม้แต่ประเทศไทยก่อนหน้านี้ก็เป็นเช่นเดียวกัน และเพิ่งจะกำหนดเอาวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติเพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่งในระยะหลัง จึงเสนอว่า เพื่อให้เป็นไปตามขนบประเพณีดังที่กล่าวมา และเพื่อความสมัครสมานสามัคคี รวมจิตใจของบุคคลในชาติโดยทั่วกัน จึงสมควรถือว่าวันบรมพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ไทย เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย ทดแทนวันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย จึงลงมติให้ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 เรื่องวันชาติ และให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ไทย เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย

ทั้งนี้ วันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลปัจจุบัน คือวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ดังนั้นวันชาติในปัจจุบัน จึงตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี"

ที่เป็นของเก่า เพราะดิฉันเห็นว่าของเก่าถูกต้องกว่าคะ ของใหม่กลับมาใช้ กษัตริย์ ราชาธิปไตย อะไรเยอะแยะไปหมด ส่วนนอกนั้น ดิฉันแก้ไขใหม่เองคะ ถ้าคิดว่าของเก่าถูกต้องก็โอเคคะ ดิฉันจะไม่ทำการแก้ไขบทความนี้อีกต่อไปแล้วคะ พอกันที--ฉัตรา (พูดคุย) 19:42, 20 เมษายน 2555 (ICT)

เปลี่ยนไปเป็นการยกข้อความมาใส่ไว้ในกรอบ จะได้ไม่ต้องแก้จุบจิบกันอีกครับ --浓宝努 20:03, 20 เมษายน 2555 (ICT)

อย่างที่เรียนไว้ในหัวข้อก่อนนี้คะ ดิฉันเห็นด้วย แต่ก็คงต้องรอดูต่อไปว่าจะเป็นยังไงคะ --ฉัตรา (พูดคุย) 20:25, 20 เมษายน 2555 (ICT)

กลับไปที่หน้า "วันชาติ (ประเทศไทย)"