ไปยังส่วนลงคะแนน

ส่วนอภิปราย

  1. เท่าที่ผมลองอ่านดูในกรุเก่าๆ เหมือนว่าชื่อบทความกษัตริย์ยังไม่ได้ข้อยุติน่ะครับ เช่น ใช้ พระเจ้า สมเด็จพระเจ้า ฯลฯ ก็เลยอยากมาถามว่า ควรใช้อะไรกันให้เป็นบรรทัดฐานครับ
    ปล.ถ้าผมอ่านไม่ละเอียด (จากข้อมูลเก่าๆ) และมีข้อสรุปแล้วก็ขออภัยล่วงหน้าด้วยครับ ;)
    --V i P 20:25, 24 มีนาคม 2553 (ICT)
  2. รบกวนช่วยตรวจสอบสำหรับการใช้คำว่า "กษัตริย์" กับ "พระมหากษัตริย์" ด้วยครับ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า "King" เหมือนกัน แต่ไหงภาษาไทยกลับใช้สะเปะสะปะ
    --Horus | พูดคุย 21:16, 24 มีนาคม 2553 (ICT)
  3. ใช้เอกสารหลักฐานและอื่นๆ ตามสมควร คงไม่สามารถใช้คำนำหน้าอย่างหนึ่งอย่างใดได้อย่างเดียว
    --m̈assgo AquaCS4 04:04, 31 มีนาคม 2553 (ICT)
  4. ต้องใช้ตามความนิยมด้วยครับ ปัจจุบันใช้ "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" แต่หนังสือเก่า ๆ ของ อ.นิธิ ยังใช้ "พระรามคำแหง" เป็นต้น
    --taweethaも 04:47, 31 มีนาคม 2553 (ICT)
  5. ผมว่าน่าใช้คำว่ากษัตริย์กับกษัตริย์ของต่างประเทศ และใช้ พระมหากษัตริย์กับกษัตริย์ของประเทศไทยนะครับ ความเหฌนส่วนตัว :-D
    --Jo Shigeru 08:01, 31 มีนาคม 2553 (ICT)
  6. เห็นด้วยกับคุณโจ ชิเงรุครับ ส่วน พระเจ้า ก็น่าจะใช้เรียกขึ้นต้นกับกษัตริย์ต่างประเทศเป็นส่วนมากนะครับ (ความคิดเห็นส่วนตัว) เช่น พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นต้น ส่วนในไทยก็ใช้พระเจ้าบ้าง เช่น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นต้น ยุคสมัยก็อาจจะเกี่ยวนะครับ อย่างในสมัยอยุธยานิยมเรียกว่า สมเด็จพระ เป็นส่วนมาก เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เป็นต้น ส่วนสมัยรัตนโกสินทร์นิยมใช้ พระบาทสมเด็จพระ เช่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นครับ
    -- มารวย บางสิม 12:13, 31 มีนาคม 2553 (ICT)
  7. มันแล้วแต่กรณีนะครับ อย่างเช่นกษัตริย์ของกัมพูชาก็มี คำนำหน้านาม กำหนดไว้อยู่แล้ว เช่น พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ส่วนคำว่า พระมหากษัตริย์ ไม่มีในพจนานุกรม เพราะเราเติม พระมหา ที่แปลว่า ยิ่งใหญ่ ลงไปข้างหน้า กษัตริย์ เพื่อเป็นการยกย่องสรรเสริญ ผมไม่เห็นด้วยว่าผู้ใช้วิกิพีเดียภาษาไทยจะยกย่องแต่กษัตริย์ของไทยอย่างเดียว แต่การตัดคำว่าพระมหาออกก็ไม่ได้เป็นการหมิ่นแต่อย่างไร ดังนั้นผมจึงเห็นว่าเมื่อกล่าวถึง king โดยทั่วไปควรใช้ กษัตริย์ ครับ
    --octahedron80 12:47, 31 มีนาคม 2553 (ICT)
  8. ความคิดเห็นของคุณ octahedron80 เข้าท่าดีนะครับ เห็นด้วยๆ
    -- มารวย บางสิม 13:01, 31 มีนาคม 2553 (ICT)
  9. เรื่องนี้
    1. สำหรับประเทศไทยเอง ตอนยึดอำนาจจากประชาธิปก แล้วเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในกฎหมายก็เรียก "กษัตริย์" เฉย ๆ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "King" (ดู รัฐธรรมนูญฉบับแรกสุด เป็นต้น) พอระยะหลัง ๆ ฝ่ายนิยมเจ้าได้ครองอำนาจอีกจนปัจจุบัน จึงเปลี่ยนไปใช้ "พระมหากษัตริย์" เพื่อเยินยอมากขึ้น แต่ก็ตรงกับคำว่า "King" อยู่ (เช่น หัวคำพิพากษาที่มักว่า "ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์" = "In the Name of the King")
    2. ส่วนการใช้คำนั้น ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี (คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาจัดทำหนังสือ "ราชาศัำพท์" ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ. (๒๕๔๕). ราชาศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. ISBN 9749545508. หน้า ๘-๑๐.) สรุปได้ว่า
      1. ปัจจุบัน กษัตริย์ไทยที่ราชาภิเษกแล้ว ใช้คำนำหน้าชื่อ (อย่างเดียวกับที่คนทั่วไปใช้ "นาย" หรือ "นาง" เป็นต้น) ว่า "พระบาทสมเด็จพระ" ("His Majesty King") ถ้ายังไม่ราชาภิเษก ใช้ "สมเด็จพระ" ("King") เฉย ๆ
      2. กษัตริย์ไทยในอดีต ใช้ "สมเด็จพระ" แต่บางทีก็ใช้ตามความนิยม เช่น "ขุนหลวง," "พ่อขุน," "พระยา"
      3. ส่วนกษัตริย์ต่างด้าว บอกแค่ว่า "...จำเป็นต้องสังเกตจำตามที่ทางราชการใช้" แล้วยกตัวอย่าง เช่น "พระจักรพรรดิ" (พระจักรพรรดิไฮเลเซลาส ที่ ๑), "สมเด็จพระเจ้า" (สมเด็จพระเจ้าจอร์จ ที่ ๕), "สมเด็จพระ" (สมเด็จพระศรีสวัสดิ์มณีวงศ์), "พระเจ้า" (พระเจ้าอชาตศัตรู) เท่านั้น ก็สรุปว่ายังเอาอะไรแน่ไม่ได้จากทางราชการ แต่เหมือนตอนฉลองครองราชย์ ๖๐ ปี กระทรวงการต่างประเทศเคยวางเกณฑ์เรียก "สมเด็จพระราชาธิบดี" "สุลต่าน" ฯลฯ อะไรพวกนี้ไว้
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๓.๓๑, ๑๓:๑๖ นาฬิกา (ICT)
  10. มีปัญหาเพิ่มอีกหนึ่งอย่าง รายพระนามกษัตริย์ที่ได้รับสมัญญานามมหาราช ต้องเติมคำว่า "มหาราช" สำหรับการตั้งชื่อบทความด้วยหรือไม่ เพราะส่วนนี้หากแก้แล้วก็ต้องแก้หน้าย่อยด้วย ปัญหาจะตามมาอีก--octahedron80 03:13, 2 เมษายน 2553 (ICT)
  11. สำหรับ ประเทศไทย ในกฎหมาย แม้กษัตริย์จะได้รับสมญา "มหาราช" ก็ไม่คำนึง ทั้งสมัยโบราณและปัจจุบัน โดยสรุปการอ้างถึงกษัตริย์ได้ดังนี้
    1. ปัจจุบัน เขียนชื่อใน ๓ รูปแบบ วางเป็นระเบียบแล้ว คือ
      1. "อย่างยิ่ง" เขียนเต็มตามสุพรรณบัฏ ซึ่งใช้ในกฎหมายสำคัญ ๆ เช่น รัฐธรรมนูญ เท่านั้น เช่น
        "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร" (รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐)
      2. "อย่างกลาง" เอาคำสร้อยในชื่อออกบ้าง ใช้ในกฎหมายลำดับรองลงมา เช่น ราชโองการ เช่น
        "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร" (ราชโองการตั้งหัวหน้า คปค.)
      3. "อย่างย่อ" ย่อเหลือแต่ส่วนสำคัญของชื่อ ไม่พึงย่อกว่านี้อีกแล้ว ใช้ในกฎหมายทั่ว ๆ ไป เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา เช่น
        "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
    2. โบราณ ก็สรุปยากนะ แต่เท่าที่สังเกตจากกฎหมายสมัยโบราณ เห็นว่า คล้าย ๆ กับปัจจุบัน กล่าวคือ
      1. "อย่างยิ่ง" ใช้ในกฎหมายสำคัญ ๆ เช่น พระธรรมศาสตร์ (ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญในสมัยโบราณ) เช่น
        "สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาศกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาลาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลยคุณอกณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิเบศร์ โลกเชฐวิสุทธิ์ รัตนมงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธิเจ้าอยู่หัว อันเสด็จปราบดาภิเษกผ่านพิภพกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย"
        (ประกาศพระราชปรารภให้ชำระกฎหมายตราสามดวง - เป็นชื่อของ "รัชกาลที่ ๑")
      2. "อย่างกลาง" ใช้ในกฎหมายลำดับรองลงมา หรือเอกสารสำคัญ เช่น ราชโองการ จดหมายหาประมุขต่างด้าว เช่น
        "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ สุทธสมมุติเทพยพงศ วงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ผู้เป็นใหญ่แก่ประเทศราชต่าง ๆ ที่ใกล้เคียง คือ เมืองลาว เมืองกำโพชา เมืองมลายู หลายเมือง แลที่อื่น ๆ"
        (จดหมายหากษัตริย์ฝรั่งเศส - เป็นชื่อของ "รัชกาลที่ ๔"; เรื่องเมืองบริวารนี้ จะใส่ก็ได้ไม่ใส่ก็ได้ แต่สมัยนั้นมีปัญหาเรื่องแย่งชิงอาณานิคม ต้องบอกให้รู้ว่าแผ่นดินนี้ของใคร แต่ถึงกระนั้นก็ถูกแย่งอยู่ดีตอนจบ)
      3. "อย่างย่อ" ใช้ในกฎหมายทั่ว ๆ ไป เช่น ประกาศ หมายรับสั่ง พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ฯลฯ (คำว่า "พระราชบัญญัติ, พระราชกำหนด, พระราชกฤษฎีกา ฯลฯ" พวกนี้ มีความหมายต่างปัจจุบัน) เช่น
        "พระบาทสมเด็จพระเจ้าเอกาทศรถ อิศวรบรมนาถ บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัวผู้ทรงทศพิธราชธรรมอันมหาประเสริฐ"
        (พระราชบัญญัติพระอัยการลักษณะอุทธรณ์ จ.ศ. ๑๕๕๕ (สมัยอยุธยา - เป็นชื่อของ "เอกาทศรถ"))
      4. แต่สมัยโบราณ การใช้ข้างต้นไม่ตายตัว บางทีกฎหมายไม่สำคัญก็ระบุชื่อเต็ม กฎหมายสำึคัญระบุึชื่อย่อ ก็มี
    3. สรุปได้ว่า
      1. ประเทศไทย ไม่ควรใส่ "มหาราช" เพราะอย่างเป็นทางการและโดยปรกติไม่ใส่คำนี้
      2. กษัตริย์ปัจจุบัน ควรใช้ "อย่างย่อ" หรืออย่างที่นิยมกัน ดังที่บทความทั้งหลายใช้กันอยู่ในปัจจุบันก็ดีแล้ว (เช่น "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" หรือ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" แทนที่จะเป็น "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ " ฯลฯ)
      3. กษัตริย์ในอดีต ควรใช้ตามความนิยม (โดยไม่มี "มหาราช" เว้นแต่รู้จักกันในสมญานี้มากกว่า) หรือจะใช้ "อย่างย่อ" อย่างที่ปัจจุบันใช้อยู่ก็ดีแล้ว (เช่น "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ", "สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘", "พ่อขุนศรีอินทราทิตย์" ฯลฯ)
      4. ปัจจุบันชื่อกษัตริย์ไทยก็คงไม่เป็นปัญหาอะไร
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๔.๐๒, ๑๘:๕๔ นาฬิกา (ICT)
  12. ตอนนี้หมายกำหนดการ/กำหนดการต่าง ๆ ที่ออกมาจากทางการออกพระนามรัชกาลที่ 1 ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และออกพระนามสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชคะ ดิฉันคิดว่าน่าจะยึดประกาศของทางการดีกว่าค่ะ เหมือน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งก็เติมมหาราช เช่นกัน สำหรับรัชกาลที่ 5 นั้น พระองค์ได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยะมหาราช ซึ่งไม่ได้เติมคำว่า มหาราช หลังพระนามของพระองค์ แต่เติมหลังพระราชสมัญญานาม แต่ทางวิกิพีเดียตั้งชื่อบทความโดยใช้พระนามเป็นหลัก ดังนั้น ชื่อบทความของรัชกาลที่ 5 ดิฉันคิดว่าไม่จำเป็นต้องเติมมหาราชคะ --ฉัตรา 12:07, 3 เมษายน 2553 (ICT)
  13. ความจริงถ้าใช้ชื่อจริง ๆ ไปเลยเหมือนวิกิฯ ฝรั่ง เช่น "ภูมิพลอดุยเดช", "อานันทมหิดล", "กัลยาณิวัฒนา", "สิริกิติ์" (ในสารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน ว่า "พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, พระบาทสมเด็จพระ" เป็นต้น) ฯลฯ ก็คงไม่เป็นปัญหาอะไร แต่พวกนิยมเจ้าคงรับไม่ได้ ประกอบกับการที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกคำนำหน้าชื่อ (พระบาทสมเด็จ ฯลฯ) ก่อนชื่อ (ซึ่งก็คำนำหน้าชื่อนี้แหละที่เป็นปัญหา เพราะทำให้ต้องลามไปโลมเลียกษัตริย์ต่างด้าวด้วย จะเพราะด้วยมารยาทหรืออะไรก็ตาม)
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๔.๐๓, ๑๒:๒๘ นาฬิกา (ICT)
  14. ประเทศไหนก็มีวัฒนธรรมและการปฏิบัติบัติเป็นของตัวเองคะ ประเทศไทยก็ย่อมมีธรรมเนียมการปฏิบัติเป็นของตนเช่นกันคะ ดิฉันว่าการพูดคุยกันแบบนี้เราควรจะหาทางออกที่ดีที่สุด มากกว่าจะมานั่งเสียดสีกันว่า ใครนิยมเจ้า ใครต่อต้านเจ้า นะคะ เพราะนั่นไม่เกิดประโยชน์อะไรต่อการพัฒนาบทความคะ --ฉัตรา 12:45, 3 เมษายน 2553 (ICT)
  15. สรุปว่ากษัตริย์ต่างประเทศจะใช้กันยังไงครับ ผมว่าเมื่อมาคุยกันแล้วก็อยากให้มีบทสรุปไปครอบคลุมทุกเรื่องเลยครับ พวก "พระจักรพรรดิ" (พระจักรพรรดิไฮเลเซลาส ที่ ๑), "สมเด็จพระ" (สมเด็จพระศรีสวัสดิ์มณีวงศ์) ยกไว้ก่อนก็ได้ครับเป็นหลักตายตัวอยู่แล้ว แต่ในส่วนของ "สมเด็จพระเจ้า" กับ "สมเด็จพระราชาธิบดี" เนี่ยจะใช้กันยังไงครับ แล้วยังจะ "สมเด็จพระเจ้า" กับ "พระเจ้า" อีก-- tONa~22 @ คุยคุ้ยเขี่ย 22:22, 5 เมษายน 2553 (ICT)
  16. เรื่อง มหาราช ยังไม่มีความเห็น เพราะส่วนตัว ถ้ามหาราชไปต่ท้ายพระนามหลัก(ตามที่รับการกรอกหูมา) เช่น พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระเจ้าอเล็กซานเตอร์มหาราช ก็คงใช้อยู่อย่างนั้น แต่ถ้าเป็นพระนามรอง เช่น พระปิยมหาราช ก็ไม่ใช้
    1. เรื่องนี้ไม่ได้อ้างลอยๆ เพราะ En.วกพด ที่ปกติจะไม่ตั้งชื่อบทความเยิ่นเย้อ ก็ยังใช้ใน Alexander the Great
    2. เรื่องพระรามคำแหง นั่นอยู่ที่บริบท ถ้าเอ่ยถึงพระราชวัติ หรือประวัติศาสตร์ ก็ควรเรียกอย่างสมัยนั้นเป็นหลัก ไม่ควรเติมมหาราชไปในรายละเอียด ตัวอย่าง ย่อหน้าแรกของ อาณาจักรสุโขทัย ผมใช้พระนามของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ว่า บางกลางหาว เพราะสมัยนั้นยังทรงไม่ได้พระนามนี้ --m̈assgo AquaCS4 15:00, 6 เมษายน 2553 (ICT)
  17. จากข้อ 13 หากจะเขียน "พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, พระบาทสมเด็จพระ" นั้น ส่วนตัวคิดว่า เรื่องคำนำหน้านาม และสามานยนาม เมื่อก่อนเคยคุยกันแล้วว่า เอาคำนำหน้า ตำแหน่ง และสามานยนาม ขึ้นต้นตามคำพูดปกติ หากจะเอาชื่อมาขึ้นต้น ต้องเปลี่ยนทั้งหมดทั้งวิกิพีเดีย ทั้ง "พหลโยธิน, ถนน" ทั้งบรรดาศักดิ์ "ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ" ฯลฯ ซึ่ง หากเห็นดังนี้ ก็คงเหนื่อยหน่อย --m̈assgo AquaCS4 02:38, 6 เมษายน 2553 (ICT)
    คงมิได้หมายความอย่างนั้น แต่ใช้หลักการตามหลักบรรณานุกรม คือ นำพระนามหรือชื่อขึ้น และตามด้วยฐานันดรศักดิ์หรือยศ --Horus | พูดคุย 18:44, 6 เมษายน 2553 (ICT)
  18. สำหรับของประเทศไทย ควรใช้ตามประกาศของทางการเป็นหลักครับ เช่น รัชกาลที่ ๑ ปัจจุบัน ทางการออกพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (อ้างจาก หมายกำหนดการ ที่ ๑๖/๒๕๕๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครบ ๒๐๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๕๒ หรือ ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ออกใช้เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก พระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นต้น)
  19. ตอนนี้ผมได้เมล์ไปถามราชบัณฑิต ถ้ายังไงลองรอดูก่อนนะฮะ --Jo Shigeru 14:01, 10 เมษายน 2553 (ICT)

ลงคะแนน

ลงคะแนนกันเลยไหมครับ ไม่งั้นไม่ได้ข้อสรุป --Horus | พูดคุย 20:07, 5 เมษายน 2553 (ICT)

กรุณาอธิบายเพิ่มหากมีเงื่อนไขเฉพาะ --octahedron80 02:25, 6 เมษายน 2553 (ICT)

กรณีคำนำหน้าพระนามกษัตริย์ (เนื้อหาและชื่อบทความ)

  1. ให้กษัตริย์ไทยที่ราชาภิเษกแล้ว ใช้คำนำหน้าชื่อว่า "พระบาทสมเด็จพระ" ถ้ายังไม่ราชาภิเษก ใช้ "สมเด็จพระ"
  2. กษัตริย์ไทยในอดีต ใช้ "สมเด็จพระ" แต่อาจใช้ตามความนิยม เช่น "ขุนหลวง," "พ่อขุน," "พระยา"
  3. กษัตริย์ต่างประเทศ ให้ใช้ตามที่ทางราชการของประเทศนั้น ๆ ใช้

(จาก คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาจัดทำหนังสือ "ราชาศัพท์" ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ. (๒๕๔๕). ราชาศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. ISBN 9749545508. หน้า ๘-๑๐.)

  เห็นด้วย มีหลักฐาน --Horus | พูดคุย 20:11, 5 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย --m̈assgo AquaCS4 01:20, 6 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย ในบทความก็ใส่หมายเหตุเรื่องชื่อไว้ด้วยก็ดีครับ จะได้ไม่มีปัญหาทีหลัง และเพิ่มในหลักการตั้งชื่อบทความด้วย --octahedron80 02:16, 6 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย หลักการชัดเจนคะ--ฉัตรา 11:12, 6 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย เพราะเป็นคนเสนอเอง
—— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๔.๐๗, ๑๘:๕๐ นาฬิกา (ICT)
  เห็นด้วย --Jo Shigeru 15:30, 9 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 23:34, 9 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย --Pitt 11:28, 11 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย --Mda 9:50, 12 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 19:58, 12 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย -- มารวย บางสิม 17:49, 16 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย --Sry85 20:50, 22 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย --Pongsak ksm 22:38, 30 เมษายน 2553 (ICT)

หมายเหตุ: เพิ่มในวิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ แล้ว --Horus | พูดคุย 09:20, 18 เมษายน 2553 (ICT)

กรณีการใช้ "กษัตริย์-พระมหากษัตริย์" แทนพระนาม (เนื้อหา)

ใช้คำว่า "กษัตริย์" ทุกบทความ (ยกเว้นข้อความที่อ้างจากแหล่งอื่น)
  เห็นด้วย เพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกัน --Horus | พูดคุย 20:11, 5 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย เพราะต้องมีมาตรฐานเดียวกัน มีความเป็นกลาง -- มารวย บางสิม 20:47, 5 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย แต่เรื่องการอ้างถึงข้อความต้นฉบับ ก็ต้องคงไว้ตามเดิม เช่นคำพูด คำขวัญ หนังสือ หัวกฎหมาย จะแทนที่คำทีเดียวทั้งหมดเลยไม่ได้--octahedron80 02:16, 6 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย ดิฉันมองไม่เห็นความจำเป็นว่าทำไมทางวิกิพีเดียถึงต้องจำกัดการใช้ภาษาในเนื้อหาของแต่ละบทความให้เขียนเหมือนกันหมดคะ ดิฉันมองว่านอกจาก 2 คำนี้ คำอื่น ๆ เช่น พระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระพุทธเจ้าหลวง เป็นต้น ก็คือ King เช่นกัน ดังนั้น จึงไม่ควรจำกัดการใช้คำในเนื้อหาคะ--ฉัตรา 11:12, 6 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย ความจริงคำทั้งสอง (กษัตริย์-พระมหากษัตริย์) ก็ความหมายเดียวกัน บริบทก็ไม่ต่างกัน (เหมือนกับในบทความหนึ่งว่า "จักรพรรดิซวนถงทรง..." อีกบทความก็ว่า "สมเด็จพระจักรพรรดิซวนถงทรง..." ไม่ต่างกันเลย เพียงแต่อาจดูไม่เป็นระเบียบบ้าง) นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายคำที่ใช้เรียกได้ เช่น พระมหากษัตริยาธิราช พระราชา ฯลฯ ควรให้ผู้เขียนมีอิสระจะเลือกใช้คำให้ถูกกับบริบท ตราบที่ไม่ทำให้ใครเสียหาย ไม่เป็นผลเสียต่อบทความ และไม่ขัดต่อการอ้างอิงอะไรต่าง ๆ นานา
—— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๔.๐๗, ๑๘:๕๐ นาฬิกา (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Jo Shigeru 15:30, 9 เมษายน 2553 (ICT)
ความเห็น ที่ผมเสนอมานี้มิได้หมายความถึงพระนามของกษัตริย์นะครับ เพียงแต่หมายถึงการใช้คำ ๆ นี้โดด ๆ น่ะครับ อย่างเช่น "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ไทย" เปรียบเทียบกับ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทย" อย่างนี้เป็นต้นครับ ทั้งนี้ ไม่น่าหมายรวมถึง "รัฐจักรวรรดิ" ซึ่งมี "จักรพรรดิ" เป็นประมุขครับ นั่นมันคนละกรณีกับ "ราชาธิปไตย" ของ "รัฐชาติ" --Horus | พูดคุย 19:29, 7 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย เห็นด้วยกับความเห็นของคุณฉัตราและคุณ Clumsy --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 23:36, 9 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย เนื่องจากที่นี่เป็นวิกิภาษาไทย ก็ต้องใช้พระนามตามบริบทของเมืองไทยสิ เห็นด้วยกับคุณ ScorpianPK --Pitt 11:23, 11 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย เห็นด้วยกับความเห็นก่อนๆ Mda 9:50, 12 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 20:01, 12 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Sry85 20:50, 22 เมษายน 2553 (ICT)
ใช้คำว่า "กษัตริย์" กับกษัตริย์ต่างประเทศ และใช้ "พระมหากษัตริย์" กับกษัตริย์ของไทย
  เห็นด้วย --Jo Shigeru 15:30, 9 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย เพราะควรใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ไม่เข้าข้างฝ่ายใด -- มารวย บางสิม 20:47, 5 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย เพราะไม่มีการแบ่งได้ชัดเจน ว่า อะไรไทย อะไรไม่ไทย ควรใช้ตามบริบท --m̈assgo AquaCS4 01:24, 6 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย ที่จริงลงอันบนแล้ว ไม่ต้องลงอันนี้ก็ได้นี่--octahedron80 02:16, 6 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย ไม่ควรจำกัดคำที่ใช้ภายในเนื้อหาคะ--ฉัตรา 11:12, 6 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย เหตุผลเดียวกัน ๑
—— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๔.๐๗, ๑๘:๕๐ นาฬิกา (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 23:36, 9 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Pitt 11:28, 11 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Mda 9:50, 12 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 20:01, 12 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Sry85 20:50, 22 เมษายน 2553 (ICT)
ใช้คำว่า "พระมหากษัตริย์" ทุกบทความ
  ไม่เห็นด้วย เพราะไม่กะทัดรัด ยืดยาวเกินไป -- มารวย บางสิม 09:21, 6 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย ไม่ควรจำกัดคำที่ใช้ภายในเนื้อหาคะ--ฉัตรา 11:12, 6 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย เหตุผลเดียวกัน ๑
—— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๔.๐๗, ๑๘:๕๐ นาฬิกา (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Jo Shigeru 15:30, 9 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 23:36, 9 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Pitt 11:28, 11 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Mda 9:50, 12 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 20:01, 12 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Sry85 20:50, 22 เมษายน 2553 (ICT)

กรณีการใช้ "มหาราช" ต่อท้ายพระนาม (ชื่อบทความ)

ไม่ใช้ในกษัตริย์ของทุกประเทศที่ได้รับสมัญญานาม
  เห็นด้วย --octahedron80 02:16, 6 เมษายน 2553 (ICT)
  เป็นกลาง --Jo Shigeru 15:30, 9 เมษายน 2553 (ICT)
  เป็นกลาง เป็นการยากที่จะบอกได้ว่าไม่ใช้ในบทความทั้งหมด เช่น อเล็กซานเดอร์มหาราช, สมเด็จพระนเรศวรมหาราช, สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นต้น แต่คาดว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำให้บทความเป็นมาตรฐานเดียวกัน --Horus | พูดคุย 18:41, 6 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย เพราะบางคนก็เป็นที่รู้จักกันในนาม "มหาราช" มากกว่า และวิกิฯ ฝรั่งเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ยอมรับให้มีการใช้ "มหาราช" ได้
—— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๔.๐๗, ๑๘:๕๐ นาฬิกา (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 23:54, 9 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Pitt 11:28, 11 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย เห็นด้วยกับความคิดของคุณ Clumsy --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 20:06, 12 เมษายน 2553 (ICT)
ใช้ในกษัตริย์ไทยทุกพระองค์ที่ได้รับสมัญญานาม แต่ไม่ใช้ในกษัตริย์ของต่างประเทศ
  ไม่เห็นด้วย ควรใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด--ฉัตรา 11:12, 6 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย เหตุผลเดียวกัน ๒
—— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๔.๐๗, ๑๘:๕๐ นาฬิกา (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Jo Shigeru 15:30, 9 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 23:54, 9 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย เห็นด้วยกับคุณฉัตรา --Pitt 11:28, 11 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 20:06, 12 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Sry85 20:50, 22 เมษายน 2553 (ICT)
ใช้ในกษัตริย์ไทยบางพระองค์ที่ได้รับสมัญญานามตามความนิยม แต่ไม่ใช้ในกษัตริย์ของต่างประเทศ
  ไม่เห็นด้วย ควรใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด--ฉัตรา 11:12, 6 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย เหตุผลเดียวกัน ๒
—— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๔.๐๗, ๑๘:๕๐ นาฬิกา (ICT)
  เห็นด้วย --Jo Shigeru 15:30, 9 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 23:54, 9 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Pitt 11:28, 11 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 20:06, 12 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Sry85 20:50, 22 เมษายน 2553 (ICT)
ใช้เสมอในกษัตริย์ของทุกประเทศที่ได้รับสมัญญานาม
  เห็นด้วย เพราะเป็นมาตรฐานเดียวกัน และเป็นที่นิยม -- มารวย บางสิม 09:19, 6 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย ไม่น่าจะถึงกับต้องใช้ทุกพระนาม ใช้ชื่อที่เน้นความเข้าใจ --Horus | พูดคุย 18:41, 6 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย ไม่จำเป็น
—— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๔.๐๗, ๑๘:๕๐ นาฬิกา (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Jo Shigeru 15:30, 9 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 23:54, 9 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย --Pitt 11:28, 11 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 20:06, 12 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Sry85 20:50, 22 เมษายน 2553 (ICT)
ใช้เสมอหากอยู่ในพระนามหลัก และ ไม่ใช้เมื่ออยู่ในพระนามรอง และใช้หลักนี้ในกษัตริย์ของทุกดินแดน
  เห็นด้วย ตามการอธิบายข้อ 16 ข้างต้น --m̈assgo AquaCS4 14:45, 6 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย ตรงกับที่ดิฉันคิดไว้มากที่สุดคะ--ฉัตรา 09:44, 7 เมษายน 2553 (ICT)
  เป็นกลาง คือไม่ทราบว่าพระนามหลักนี่หมายถึงชื่อเต็มยาวๆ หรือชื่อที่ได้รับความนิยมหรือครับ -- มารวย บางสิม 17:02, 7 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Jo Shigeru 15:30, 9 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย แต่ไม่รู้จะกล่าวสุนทรพจน์อะไรดี --Horus | พูดคุย 23:48, 9 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย เท่าที่อ่านความเห็นของคุณฉัตราและธัญกิจด้านบน คิดว่าข้อนี้ดูเหมาะสมกว่าข้ออื่น ๆ นะครับ--ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 23:54, 9 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย --Pitt 11:28, 11 เมษายน 2553 (ICT)
  เป็นกลาง --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 20:06, 12 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย --Sry85 20:50, 22 เมษายน 2553 (ICT)

การดำเนินการ

 
การตอบกลับจากราชบัณฑิต

ผมว่าน่าจะเริ่มดำเนินการได้แล้วนะครับ --Horus | พูดคุย 09:17, 18 เมษายน 2553 (ICT)

การที่ตัดมหาราชออกไปจะเป็นการลดพระราชอิสริยายศของพระองค์ลงหรือไม่???? --Jo Shigeru 08:14, 1 พฤษภาคม 2553 (ICT)
ไม่ใช่ แต่ไม่มีความจำเป็นต้องระบุทุกบทความ --Horus | พูดคุย 15:55, 1 พฤษภาคม 2553 (ICT)
แล้วบทความไหนจะออกมั่ง?? แต่อย่างเอาของในหลวงองค์ปัจจุบันออก เราควรเฉลิมพระเกียรติพระองค์ --Jo Shigeru 21:07, 2 พฤษภาคม 2553 (ICT)
"เฉลิมพระเกียรติ" เราก็ทำกันอยู่แล้ว และอย่าลืมว่าสารานุกรมไม่ใช่ที่เขียนเฉลิมพระเกียรติ หากไปเขียนก็จะเป็นแค่ opinion ไม่ใช่ fact --Horus | พูดคุย 21:18, 2 พฤษภาคม 2553 (ICT)
แล้วเราจะตัดบทความไหนอกบ้าง --Jo Shigeru 08:22, 3 พฤษภาคม 2553 (ICT)
ราฃบัณฑิตตอบกลับการถามของผมแล้วครับ รอกันหน่อย --Jo Shigeru 15:50, 7 พฤษภาคม 2553 (ICT)

วาระ 2

กรณีการใช้คำว่า "กษัตริย์-พระมหากษัตริย์" ในชื่อบทความ/ชื่อแม่แบบ/หมวดหมู่

ใช้คำว่า "กษัตริย์" ทุกบทความ
  เห็นด้วย กำหนดเป็นมาตรฐาน --Horus | พูดคุย 20:14, 22 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย ด้วยเหตุผลเดียวกับการเขียนเนื้อหาที่เคยเลือกไว้ --octahedron80 20:20, 22 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย ควรใช้ตามการบัญญัติของราชบัณฑิตเป็นหลักครับ --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 09:26, 23 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย เมื่อราชบัณฑิตมีการบัญญัติไว้แล้ว ก็ควรใช้ตามราชบัณฑิตคะ--ฉัตรา 11:01, 24 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Jo Shigeru 16:06, 26 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย มาตรฐานเดียวกัน กะทัดรัด -- มารวย บางสิม | คุยกับสหายแมว 15:49, 29 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย ---  ~ Look-Narm ~ คุย 21:03, 2 พฤษภาคม 2553 (ICT)
ใช้คำว่า "กษัตริย์" กับกษัตริย์ต่างประเทศ และใช้ "พระมหากษัตริย์" กับกษัตริย์ของไทย
  เห็นด้วย --Jo Shigeru 16:06, 26 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลด้านบน --Horus | พูดคุย 20:14, 22 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --octahedron80 20:20, 22 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --ฉัตรา 20:23, 22 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 09:26, 23 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย -- มารวย บางสิม | คุยกับสหายแมว 15:49, 29 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย ---  ~ Look-Narm ~ คุย 21:03, 2 พฤษภาคม 2553 (ICT)
ใช้คำว่า "พระมหากษัตริย์" ทุกบทความ
  ไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลด้านบน --Horus | พูดคุย 20:14, 22 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --octahedron80 20:20, 22 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Jo Shigeru 16:06, 26 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย เนื่องจาก
  1. ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิต บัญญัติคำว่า King ให้ใช้คำว่า พระมหากษัตริย์ ทั้งในสาขารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
  2. พจนานุกรมของราชบัณฑิต กล่าวว่า พระมหากษัตริย์ คือ คำเต็มของกษัตริย์ ไม่ได้หมายความว่ายิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์แต่อย่างใด
  3. ประกาศทางการของไทย ใช้คำว่า พระมหากษัตริย์ในการเรียกประมุขของประเทศอื่นเช่นกัน อาทิ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ถวายเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์แด่พระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปถวายพระมหากษัตริย์แห่งประเทศเดนมาร์ก, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถวายเหรียญรัตนาภรณ์แด่พระมหากษัตริย์ต่างประเทศ, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีแห่งประเทศกรีซ เป็นต้น--ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 09:20, 23 เมษายน 2553 (ICT)
    • คุณสำคัญผิดไปแล้ว "ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์" หมายความว่าสามารถใช้ชื่ออย่างยาวได้ มิได้หมายความว่า กษัตริย์ เป็นคำย่อของ พระมหากษัตริย์ เพราะจากรูปศัพท์นั้น มีอยู่แค่ กฺษตฺริย คำเดียว แล้วเอาคำอื่นเข้ามาประกอบ นั่นคือ
      • พระ - ใช้ประกอบหน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง
      • มหา - ใหญ่, ยิ่งใหญ่
      • กษัตริย์ - พระเจ้าแผ่นดิน
    • จริงอยู่ที่ พระมหากษัตริย์ มิได้แปลว่า "ยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์" แต่แปลว่า "กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่" ต่างหาก เราจำเป็นต้องเติมความเป็น "ผู้ยิ่งใหญ่" ให้กับชื่อทั่วไปด้วยไหมครับ (ถ้าปรากฏในวรรณกรรม ละคร การ์ตูน เป็นต้น) เพราะขอบเขตนี้จะรวมทั้งหมด "ทุกบทความ" --octahedron80 09:46, 23 เมษายน 2553 (ICT)
  • ขอบคุณที่ อธิบายครับ สำหรับข้อ 2 นี้ ผมเอามาเพื่ออธิบายถึงการใช้พระมหากษัตริย์ไม่ได้ยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์อย่างที่บางคนเข้าใจครับ ทั้งสองคำเป็นคำทีมีความหมายในระดับเดียวกัน และเราใช้จนเป็นที่คุ้นเคยและแพร่หลาย แต่จุดสำคัญของการสนับสนุนในข้อนี้คือ ข้อแรก เพราะเป็นการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตที่เราใช้เป็นหลักอ้างอิงครับ ส่วนข้อ 3 ก็บอกไว้ค่อนข้างชัดเจนว่า เรายังใช้คำว่า พระมหากษัตริย์ กับ "ประเทศอื่น ๆ" ด้วย ไม่เฉพาะประเทศไทย ดังนั้น ผมจึงสนับสนุนให้ใช้ คำศัพท์ที่บัญญัติโดยราชบัณฑิตในทุก ๆ บทความ ครับ--ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 10:08, 23 เมษายน 2553 (ICT)
  • ขอบคุณที่ชี้แจงให้กระจ่าง ทั้งนี้ ส่วนใหญ่แล้วผมเห็น King ต่างประเทศใช้เพียง "กษัตริย์" ไม่มากที่ใช้ "พระมหากษัตริย์" อีกประการหนึ่ง ก็ปรากฏในงานเขียนเช่นกันที่เรียก King ของไทยว่าเป็น "กษัตริย์" --Horus | พูดคุย 12:13, 23 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย เมื่อราชบัณฑิตมีการบัญญัติไว้แล้ว ก็ควรใช้ตามราชบัณฑิตคะ--ฉัตรา 11:01, 24 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย เหตุผลเดียวกับคุณฮอรัส -- มารวย บางสิม | คุยกับสหายแมว 15:49, 29 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย เหตุผลตามข้อ 1 ของคุณ scorpion - 2T 09:36, 30 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย ---  ~ Look-Narm ~ คุย 21:03, 2 พฤษภาคม 2553 (ICT)

กรณีการใช้คำว่า "ราชวงศ์-พระราชวงศ์" ในชื่อบทความ/ชื่อแม่แบบ/หมวดหมู่

ใช้คำว่า "ราชวงศ์" ทุกบทความ
  เห็นด้วย ไม่จำเป็นต้องใช้พระราชวงศ์คะ--ฉัตรา 20:28, 22 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย บทความที่มีอยู่ก็ใช้ราชวงศ์เฉยๆ --octahedron80 20:34, 22 เมษายน 2553 (ICT)
ดิฉันเห็นหมวดหมู่มีพระราชวงศ์คะ คิดว่าน่าจะรวบไปเลยในคราวนี้คะ--ฉัตรา 20:45, 22 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย พระราชวงศ์ ฟัง ๆ ดูเหมือนจะสื่อถึงสมาชิกในราชวงศ์มากกว่าจะสื่อถึงราชวงศ์มังครับ--ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 09:23, 23 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย เห็นด้วยกับคุณป่องครับ คำว่าพระราชวงศ์ น่าจะหมายความว่าสมาชิกในราชวงศ์มากกว่า ---m̈assgo AquaCS4 15:55, 26 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย --Jo Shigeru 08:24, 29 เมษายน 2553 (ICT)
  เห็นด้วย -- มารวย บางสิม | คุยกับสหายแมว 15:51, 29 เมษายน 2553 (ICT)
ใช้คำว่า "ราชวงศ์" กับกษัตริย์ต่างประเทศ และใช้ "พระราชวงศ์" กับกษัตริย์ของไทย
  เห็นด้วย --Jo Shigeru 08:24, 29 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --ฉัตรา 20:28, 22 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --octahedron80 20:34, 22 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 09:23, 23 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --m̈assgo AquaCS4 15:56, 26 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย -- มารวย บางสิม | คุยกับสหายแมว 15:51, 29 เมษายน 2553 (ICT)
ใช้คำว่า "พระราชวงศ์" ทุกบทความ
  ไม่เห็นด้วย --ฉัตรา 20:28, 22 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --octahedron80 20:34, 22 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 09:23, 23 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --m̈assgo AquaCS4 15:56, 26 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย --Jo Shigeru 08:24, 29 เมษายน 2553 (ICT)
  ไม่เห็นด้วย -- มารวย บางสิม | คุยกับสหายแมว 15:51, 29 เมษายน 2553 (ICT)