พูดคุย:รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิรถไฟฟ้าและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับระบบรถไฟฟ้าและสถานีรถไฟฟ้าในเมืองสำคัญต่าง ๆ ทั่วโลก ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

รถไฟเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ แก้

รถไฟเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ


สยามรัฐ ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552


สุกัญญา เงาสุรัชนี

สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และวิเคราะห์ความเสี่ยงThe Institute of Strategies and Analysis of Risk

www.theistar.org


ในที่สุดโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) ก็มีกำหนดการเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในเดือนเมษายน 2553 หลังจากที่มีการเลื่อนหลายครั้ง โดยมีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นเจ้าของและเป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้ซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้าวิ่งบนทางยกระดับเลียบทางรถไฟสายตะวันออก เริ่มแรกคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน2550 แต่เนื่องจากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้าของ ร.ฟ.ท. ภาวะน้ำท่วมและภาวะเศรษฐกิจ ทำให้โครงการนี้ล่าช้าไป 2 ปีกว่า (โดยผู้รับเหมาไม่เสียค่าปรับใดๆ) ส่งผลให้ต้นทุนของโครงการที่เริ่มจาก25,907 ล้านบาท กลายเป็น 29,746 ล้านบาท (รวมค่าชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ หรือค่าเค 721 ล้านบาทและค่าก่อสร้างทางเดินยกระดับเชื่อมต่อกับสถานีพญาไทของบีทีเอสและสถานีเพชรบุรีของรถไฟฟ้ามหานคร 98 ล้านบาท)


โครงการนี้ให้บริการเดินรถ 2 แบบ คือรถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยาน (Express Line) เป็นรถคาดสีแดง วิ่งระหว่างสถานีสุวรรณภูมิ(อยู่ใต้อาคารผู้โดยสารของสนามบิน) กับสถานีมักกะสันโดยไม่จอดระหว่างทาง ระยะทาง 25.7 กม. ใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 15 นาทีโดยมีสถานีมักกะสันเป็นสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองหรือ City Air Terminal (CAT) หมายความว่าผู้ที่จะขึ้นเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิสามารถเช็กอินเพื่อขึ้นเครื่องบินได้ที่สถานีมักกะสัน หลังจากเช็กอินแล้ว กระเป๋าเดินทางจะถูกส่งเข้าตู้รถขนกระเป๋าเดินทางเพื่อแยกขึ้นเครื่องบินต่อไป ดังนั้นขบวนรถจะต่อเป็นแบบ 4 ตู้ต่อขบวน โดยมีตู้สุดท้ายเป็นตู้ขนกระเป๋าเดินทาง อีก3 ตู้เป็นตู้รถโดยสาร ที่นั่งภายในตู้รถโดยสารเป็นเบาะกำมะหยี่ตั้งตำแหน่งตามความกว้างของรถ แบ่งเป็น 2 แถวๆ ละ 2 ที่นั่ง ส่วนราคาคาดว่าจะเป็น 150 บาทต่อเที่ยว


แบบที่สองเรียกว่ารถไฟฟ้าท่าอากาศยาน (City Line) เป็นรถคาดสีน้ำเงิน วิ่งระหว่างสถานีสุวรรณภูมิกับสถานีพญาไท จอดแวะระหว่างทางรวม 6 สถานี ได้แก่ สถานีลาดกระบัง สถานีบ้านทับช้าง สถานีหัวหมาก สถานีรามคำแหง สถานีมักกะสันและสถานีราชปรารภ ระยะทาง 28.5 กม. ใช้เวลาประมาณ 30 นาที (ความเร็วเฉลี่ยน้อยกว่าแบบรถไฟฟ้าด่วน) ราคาคาดว่าจะอยู่ระหว่าง 15-45 บาทต่อเที่ยว รถขบวนนี้จะต่อแบบ 3 ตู้รถโดยสารต่อขบวน ที่นั่งภายในเหมือนบีทีเอส จุผู้โดยสารได้ 745 คน (นั่ง 150 ยืน 595)คาดว่าจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้จำนวน 14,000-50,000 คนต่อวันต่อทิศทาง


ถึงแม้จะล่าช้ามา 2 ปีกว่า แต่ในหลายๆ เรื่องก็ยังไม่พร้อมอยู่ดี เหมือนทำไป คิดไป เช่นการทำทางเชื่อมกับระบบรถไฟฟ้าอื่นที่จอดรถก็จัดทำไว้ที่สถานีมักกะสันจำนวน 300 คัน แต่สถานีอื่นยังไม่ปรากฏ คงจะทำให้การ "จอดแล้วจร" (Park and ride)เหมือนรถไฟฟ้าระบบอื่นเป็นไปได้ลำบากแต่ก็อาจทำให้เอกชนที่มีอาคารจอดรถใกล้ๆ สถานีได้รับอานิสงส์ไปเต็มๆ ที่สำคัญใครจะเป็นผู้บริหารโครงการนี้เมื่อเปิดเชิงพาณิชย์ก็ยังไม่มีความชัดเจนแต่ที่แน่ๆ ร.ฟ.ท.จ้างบริษัทรถไฟจากเยอรมนีในวงเงิน 85 ล้านบาทให้มาเป็นที่ปรึกษาและบริหารจัดการเดินรถ มีสัญญาคราวละ 3 ปีแทนการก่อตั้งบริษัทลูกที่ยังตกลงกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจไม่ได้และยังต้องรออนุมัติจาก รมต.คมนาคม


แม้จะมีการคาดการณ์ว่าระยะเวลาคืนทุนของโครงการนี้จะยาว (ไปมาก) ถึง 15 ปี โดยคาดว่าปีแรกที่เปิดบริการจะขาดทุนและจะเริ่มชำระคืนเงินต้นได้บางส่วนในปีที่ 5 ทั้งนี้คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 2,000 ล้านบาทหลังจากปีที่ 10 ขึ้นไป แต่โครงการนี้เป็นรถไฟฟ้าสายแรกที่วิ่งออกชานเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่ทำงานในสนามบินสุวรรณภูมิและตามเส้นทางรถไฟ หรือผู้ที่อยู่ชานเมืองเข้าไปทำธุระหรือทำงานในเมืองสามารถเดินทางได้รวดเร็วและกำหนดเวลาได้ อันจะทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้นรถติดน้อยลง นอกจากนี้ยังทำให้นักท่องเที่ยวสามารถยืดเวลาท่องเที่ยวในกรุงเทพฯได้นานขึ้น (อีกหน่อย) โดยสามารถไปเช็กอินกระเป๋าที่สถานีมักกะสันก่อน แล้วค่อยไปขึ้นเครื่องทีหลังได้ และนักท่องเที่ยว หรือคนไทยสามารถเดินทางออกจากสนามบินได้สะดวกมากขึ้นไม่ต้องง้อแท็กซี่ (ที่ชอบทำหน้าผิดหวังเวลาได้ลูกค้าคนไทย) แล้วล่ะ

แยกบทความ แก้

ควรแยกส่วนที่เป็นรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มาเป็นบทความต่างหาก เพื่อไม่ให้ผู้อ่านเกิดความสับสน เนื่องจากเป็นชื่อสายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ส่วนการต่อขยายที่จะไปรวมกับรถไฟความเร็วสูงนั้นยังเป็นเพียงโครงการ ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างด้วยซ้ำ --Portalian (คุย) 22:52, 27 กันยายน 2561 (ICT)

ส่วนที่นำออกจากบทความ แก้

เนื่องจากการประมูลได้เสร็จสิ้นลงอย่างเป็นทางการ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติสัญญาสัมปทานระหว่างกลุ่ม CPH รฟท. และ EECO แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเก็บส่วนนี้ไว้ในบทความอีกต่อไป--Magnamonkun (คุย) 16:10, 28 พฤษภาคม 2562 (ICT)

ผู้เข้าร่วมยื่นข้อเสนอการลงทุน แก้

การรถไฟแห่งประเทศไทยได้เปิดให้เอกชนที่สนใจเข้าซื้อเอกสารประกวดราคาสำหรับเข้าร่วมประมูลโครงการตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน - 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 โดยมีเอกชนสนใจเข้าร่วมประมูลโครงการทั้งหมด 31 ราย และได้ยื่นเอกสารเข้าร่วมการประมูลในนามกิจการร่วมค้าทั้งหมด 2 ราย จากเอกชน 8 รายดังต่อไปนี้

ชื่อบริษัทฯ ประเทศ ผลการยื่นข้อเสนอ
คุณสมบัติทั่วไป ข้อเสนอทางเทคนิค ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน
(เงินที่รัฐฯ ร่วมลงทุนในโครงการ)
(ล้านบาท)
ข้อเสนอพิเศษเพิ่มเติม
กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ผ่าน ผ่าน 169,934
(+50,509)
  • ก่อสร้างส่วนต่อขยายระยะที่ 1 จากท่าอากาศยานอู่ตะเภา ถึง เมืองระยอง ระยะทาง 40 กิโลเมตร
  • ปรับสถานีพญาไทของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
    ให้เป็นสถานีสำหรับรถไฟความเร็วสูง
บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)   ไทย
บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)   ไทย
บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)   ไทย
กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตรร่วมค้า ผ่าน ผ่าน 117,227
(-2,198)

ข้อเสนอที่ผ่านการพิจารณา

  • ตั้งโรงงานประกอบขบวนรถไฟในประเทศ
  • พัฒนาโครงการร่วมกับชุมชน
  • พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางระบบรางในประเทศไทย
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด   ไทย
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)   ไทย
บริษัท ไชน่า เรลเวยส์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชัน จำกัด   จีน
บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)   ไทย
บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)   ไทย

แผนการปฏิบัติงาน แก้

  • ประกาศเชิญชวนนักลงทุน : 30 พฤษภาคม - 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561
  • ขายเอกสารประกวดราคาแก่นักลงทุน : 18 มิถุนายน - 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
  • เปิดรับคำถามและข้อสงสัยเกี่ยวกับการลงทุนจากเอกชน : 10 กรกฎาคม - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2561
  • จัดการประชุมชี้แจงเงื่อนไขการประมูลแก่เอกชนที่สนใจ ครั้งที่ 1 : 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
  • พาเอกชนที่สนใจลงพื้นที่สำรวจโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสำรวจแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก : 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
  • จัดการประชุมชี้แจงเงื่อนไขการประมูลแก่เอกชนที่สนใจ ครั้งที่ 2 : 24 กันยายน พ.ศ. 2561
  • ให้เอกชนยื่นข้อเสนอการลงทุน : 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
  • พิจารณาข้อเสนอการลงทุน
    • เอกชนยื่นข้อเสนอการลงทุน : 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
    • ประเมินซองที่ 1 (คุณสมบัติทั่วไป) : 13 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
    • ประเมินซองที่ 2 (ข้อเสนอทางเทคนิค) : 20 พฤศจิกายน - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561
    • ประเมินซองที่ 3 (ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน) : 12 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2561
    • ประกาศผลผู้ได้รับคัดเลือกเบื้องต้น : 18 ธันวาคม - 1 มกราคม พ.ศ. 2562
    • อัยการสูงสุด ตรวจร่างสัญญาสัมปทาน : 2 - 14 มกราคม พ.ศ. 2562
    • นำเสนอผลการคัดเลือกต่อ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) : 15 - 17 มกราคม พ.ศ. 2562
    • สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) นำเสนอผลการคัดเลือกต่อ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) : 18 - 28 มกราคม พ.ศ. 2562
    • นำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ : 28 - 31 มกราคม พ.ศ. 2562
  • ลงนามในสัญญาสัมปทาน : 31 มกราคม พ.ศ. 2562
  • เริ่มก่อสร้าง : พ.ศ. 2562
  • เปลี่ยนถ่ายผู้ให้บริการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ : พ.ศ. 2564 - พ.ศ. 2565
  • เปิดให้บริการเต็มรูปแบบ : ภายใน พ.ศ. 2567 --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Magnamonkun (พูดคุยหน้าที่เขียน) 16:10, 28 พฤษภาคม 2562 (ICT)
กลับไปที่หน้า "รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน"