เซคเอมเร เซเมนทาวี ดเจฮูติ (อังกฤษ: Djehuti) อาจจะเป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์ที่สอง[4][5]จากราชวงศ์ที่สิบหก โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองธีบส์ ซึ่งมีอำนาจครอบคลุมบางส่วนของอียิปต์บนในสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่ 2 หรืออีกข้อสันนิษฐาน พระองค์อาจจะเป็นฟาโรห์จากช่วงปลายของราชวงศ์ที่สิบสาม[6] หรือเป็นฟาโรห์พระองค์ที่สี่แห่งราชวงศ์ที่สิบเจ็ด[7] ในบันทึกพระนามแห่งตูรินได้ระบุระยะเวลาของรัชสมัยของพระองค์เป็นระยะเวลา 3 ปี ตามที่ปรากฏในบรรทัดแรกของคอลัมน์ที่ 11 ตามที่นักไอยคุปต์วิทยา คิม รีฮอล์ต และดาร์เรล เบเกอร์ กล่าวว่า ฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 8 ทรงขึ้นครองราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์[4][5]

ตำแหน่งตามลำดับเวลา แก้

ยังคงถกเถียงกันอยู่เกี่ยวกับราชวงศ์ของฟาโรห์ดเจฮูติ ในประเด็นนี้บันทึกพระนามแห่งตูรินได้เปิดให้ตีความ ปรากฏว่ามีฟาโรห์หลายพระองค์ที่มีพระนามว่า "เซคเอมเร[...]" และเอกสารต้นฉบับที่เสียหายไม่สามารถหลงเหลือพระนามที่สมบูรณ์ได้ เป็นผลให้พระองค์มีพระนามว่า เซคเอมเร เซเมนทาวี โดยหลักการแล้วอาจสอดคล้องกับพระนาม "เซคเอมเร[...]" ใด ๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในบันทึกพระนามดังกล่าว เช่น พระองค์อาจจะเป็นผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบสาม, สิบหก และแม้แต่ราชวงศ์ที่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์

นักไอยคุปต์วิทยา คิม รีฮอล์ต และดาร์เรล เบเกอร์ ได้เชื่อว่าพระองค์เป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบหก ซึ่งมีอำนาจควบคุมบริเวณเมืองธีบส์หลังช่วง 1650 ปีก่อนคริสตกาล[5] หรืออีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง การศึกษาสองชิ้นโดยโคลด แวนเดอร์สลีเยน และคริสตินา ไกเซน ได้กล่าวถึงการครองราชย์ของฟาโรห์ดเจฮูติจนถึงจุดสิ้นสุดของราชวงศ์ที่สิบสาม ซึ่งมีอำนาจการปกครองอยู่ที่เมืองเมมฟิส[6][8] โดยข้อมูลของไกเซนมีพื้นฐานมาจากตีความด้านรูปแบบเกี่ยวกับโลงศพของพระมเหสีของพระองค์ ซึ่งสตีเฟน เควิร์กได้โต้แย้งว่าเป็นการใช้ข้อสมมติฐานที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์[9] ทฤษฎีเก่ากว่าของเยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราธ ซึ่งฮานส์ สต็อค เป็นผู้สรุปร่วมกัน เชื่อว่า พระองค์เป็นผู้ปกครองในช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบเจ็ด ซึ่งสถาปนาขึ้นในบริเวณอียิปต์บนหลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ที่สิบหก หลังจากการพิชิตเมืองธีบส์ของชาวฮิกซอส ในช่วงสั้นๆ ทฤษฎีนี้ได้รับการสนับสนุนโดยการค้นพบหลุมฝังพระศพของพระนางเมนทูโฮเทป ซึ่งเป็นพระมเหสีของพระองค์ ซึ่งตั้งอยู่ใน ดรา 'อาบู เอล-นากา' ซึ่งเป็นหลุมฝังพระศพที่ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ที่สิบเจ็ด นักวิชาการ เช่น คริส เบ็นเน็ต ได้ชี้ให้เห็นว่านี่ไม่ได้หมายความว่าฟาโรห์ดเจฮูติจะทรงถูกฝังอยู่ในดรา 'อาบู เอล-นากา'เช่นกัน[6]

นักไอยคุปต์วิทยาบางคนเสนอว่า พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับหลานสาวของราชมนตรีนามว่า อิบิอาว ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์วาอิบเร อิบิอาอู แห่งราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ ซึ่งปกครองระหว่าง 1712–1701 ปีก่อนคริสตกาล และเป็นไปได้มากว่าสองชั่วอายุคนจะหายไปจากรัชสมัยของฟาโรห์พระองค์นี้[10][11] อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่นานมานี้ มีการชี้ให้เห็นว่าความเกี่ยวข้องระหว่าง อิบิอาว และพระนางเมนทูโฮเทป ซึ่งเป็นพระมเหสีของฟาโรห์ดเจฮูติแต่ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ และความสัมพันธ์ทางช่วงเวลาที่เสนอระหว่างฟาโรห์วาอิบเร อิบิอาอู และพระองค์นั้นยังคงเป็นการคาดเดา[12]

หลักฐานยืนยัน แก้

 
กล่องเครื่องสำอางของพระนางเมนทูโฮเทป ซึ่งเป็นพระมเหสีในฟาโรห์ดเจฮูติ เดิมแล้ว กล่องนี้อาจตั้งใจให้เป็นหีบคาโนปิกของฟาโรห์ดเจฮูติ

ปรากฏพระนามของฟาโรห์ดเจฮูติทั้งในบันทึกพระนามแห่งตูรินและบันทึกพระนามแห่งคาร์นัก และหลักฐานยืนยันร่วมสมัยของพระองค์ทั้งหมดมาจากจากหุบเขาแม่น้ำไนล์ที่ทอดยาวประมาณ 145 กิโลเมตร (90 ไมล์) จากเดียร์ เอล-บัลลาส ซึ่งอยู่ทางทางเหนือจนถึงเมืองเอ็ดฟู ซึ่งอยู่ทางทางใต้[4] สิ่งนี้สอดคล้องกับอาณาเขตในขอบเขตอิทธิพลของผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบหกอย่างคร่าว ๆ[4] พระนามครองพระราชบัลลังก์และพระนามส่วนพระองค์ของฟาโรห์ดเจฮูติปรากฏอยู่บล็อกศิลาชิ้นเดียวที่ค้นพบโดย ฟลินเดอรส์ เพตรี ในเดียร์ เอล-บัลลาส โดยเป็นบล็อกศิลาทาสีที่มีภาพวาดของฟาโรห์ดเจฮูติทรงสวมมงกุฎสีแดงแห่งอียิปต์ล่าง ซึ่งอยู่นอกขอบเขตอิทธิพลของพระองค์ ซึ่งค้นพบที่เมืองเอ็ดฟู[6] และนอกจากนี้ ปรากฏหลักฐานยืนยันเกี่ยวกับฟาโรห์ดเจฮูติที่มาจากหลุมฝังพระศพของพระมเหสีของพระองค์พระนามว่า เมนทูโฮเทป ซึ่งถูกค้นพบในสภาพสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1822 และโลงพระศพของพระองค์ (ปัจจุบันสูญหายไปแล้ว) โดยจารึกไว้ด้วยหนึ่งในส่วนแรกสุดของข้อความจากคัมภีร์มรณะ บนกล่องเครื่องสำอางของพระนางเมนทูโฮเทปปรากฏพระนามครองพระราชบัลลังก์และพระนามส่วนพระองค์และคาร์ทูธของฟาโรห์ดเจฮูติ พร้อมด้วยจารึกกัลปนางานพระศพและคำจารึกที่ระบุว่ากล่องเครื่องสำอางนี้เป็นของพระราชทานจากฟาโรห์[4]

มีการเสนอความเห็นที่ว่าอาจมีการสร้างพีระมิดทางใต้แห่งซักกอเราะห์ใต้เพื่อสำหรับฟาโรห์ดเจฮูติ ข้อสมมติฐานนี้มีพื้นฐานมาจากจารึกที่อยู่สภาพที่ไม่สมบูรณ์ในปิรามิดและอ่านว่า "เวเซอร์คา..." ซึ่งอาจเป็นพระนาม เวเซอร์คาอู ซึ่งเป็นพระนามฮอรัสทองคำของฟาโรห์ดเจฮูติ[13]

อ้างอิง แก้

  1. M. von Falck, S. Klie, A. Schulz: Neufunde ergänzen Königsnamen eines Herrschers der 2. Zwischenzeit. In: Göttinger Miszellen 87, 1985, p. 15–23
  2. 2.0 2.1 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, pp. 90-91
  3. K.S.B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, pp. 90-91
  5. 5.0 5.1 5.2 K.S.B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Christina Geisen, Zur zeitlichen Einordnung des Königs Djehuti an das Ende der 13. Dynastie, Studien zur Altägyptischen Kultur, Bd. 32, (2004), pp. 149-157
  7. Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien, Heft 49, Mainz : P. von Zabern, 1999, ISBN 3-8053-2591-6, see p. 126–127.
  8. Claude Vandersleyen: Rahotep, Sébekemsaf 1er et Djéhouty, Rois de la 13e Dynastie. In: Revue de l'égyptologie (RdE) 44, 1993, p. 189–191.
  9. S. Quirke, Review von Geisen: Die Totentexte…. In: Journal of Ancient Near Eastern Religions. Nr. 5, 2005, p. 228–238.
  10. Labib Habachi: "The Family of Vizier Ibiˁ and His Place Among the Viziers of the Thirteenth Dynasty", in Studien zur altägyptischen Kultur 11 (1984), pp. 113-126.
  11. Ryholt, Note 555 page 152
  12. W. Grajetzki, Court Officials of the Egyptian Middle Kingdom, London 2009, p. 40.
  13. Christoffer Theis, "Zum Eigentümer der Pyramide Lepsius XLVI / SAK S 6 im Süden von Sakkara", Göttinger Miszellen 218 (2008), pp. 101–105