ฟาโรห์เซอังค์เอนเร เมนทูโฮเทปิ

(เปลี่ยนทางจาก ฟาโรห์เมนทูโฮเทไป)

เซอังค์เอนเร เมนทูโฮเทปิ (อังกฤษ: Seankhenre Mentuhotepi) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณในสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สอง ตามข้อสันนิษฐานของนักไอยคุปต์วิทยา คิม รีฮอล์ต และดาร์เรล เบเกอร์ พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่ห้าแห่งราชวงศ์ที่สิบหกที่มีอำนาจครอบคลุมพื้นที่ธีบส์ในอียิปต์บน[2] หรืออีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง โดยเยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราธได้มองว่าพระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่ห้าแห่งราชวงศ์ที่สิบเจ็ด[4][5]

หลักฐานยืนยัน

แก้

ปรากฏหลักฐานยืนยันที่เกี่ยวข้องกับฟาโรห์เมนทูโฮเทปิ คือ จารึกศิลจากคาร์นัก[2] และตราประทับแมลงสคารับที่ไม่ทราบที่มา ซึ่งปรากฏพระนามครองพระราชบัลลังก์ที่สามารถอ่านได้หลากหลาย เช่น เซวาเอนเร, เซวัดจ์เอนเร และเซอังค์เอนเร นอกจากนี้ ค้นพบสฟิงซ์สลักหินปูนของฟาโรห์เมนทูโฮเทปิจำนวนสองชิ้น ซึ่งถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1924 ในซากปรักหักพังของศาสนวิหารแห่งฮอรัสในเอ็ฎฟู โดยชิ้นหนึ่งปรากฏพระนาม เซอังค์เอนเร และอีกชิ้นหนึ่งปรากฏพระนาม เมนทูโฮเทปิ[6][7] และพระนามของฟาโรห์เมนทูโฮเทปิปรากฏอยู่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินในพระนาม เซอังค์เอนเร[7]

พระนาม

แก้

การระบุตัวตนของฟาโรห์เมนทูโฮเทปิมีการพัฒนาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยที่เยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราธ ได้ระบุว่า พระองค์เป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบเจ็ดในพระนาม เมนทูโฮเทปที่ 7 และวอล์ฟกัง เฮล์ก ได้ระบุว่าทรงพระนาม เมนทูโฮเทปที่ 6 แทน ส่วนการตีความใหม่ของบันทึกพระนามแห่งตูรินโดยรีฮอล์ต โดยให้พระองค์มีพระนามว่า เซอังค์เอนเร เมนทูโฮเทปิ[7]

เหตุการณ์ภายในรัชสมัย

แก้

หากการระบุตัวตนของฟาโรห์เมนทูโฮเทปิตามการตีความบันทึกพระนามแห่งตูรินใหม่ของรีฮอล์ตนั้นถูกต้อง มันจะทำให้พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ต่อมาจากฟาโรห์เซคเอมเร สอังค์ทาวี เนเฟอร์โฮเทปที่ 3 และทรงครองราชย์เป็นระยะเวลาเพียงแค่ 1 ปี รัชสมัยอันสั้น ๆ ของฟาโรห์เมนทูโฮเทปินั้น อาจจะมีการเกิดความขัดแย้งอย่างต่อเนื่องกับราชอาณาจักรชาวฮิกซอส ซึ่งปกครองโดยของราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์ โดยในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นราชวงศ์ที่สิบหกตกอยู่ในตำแหน่งที่อ่อนแอลงและปกครองมากกว่าอาณาเขตเมืองธีบส์เล็กน้อย ในจารึกศิลาของพระองค์จาก ศาสนวิหารแห่งคาร์นัก พระองค์ได้ทรงกล่าวอย่างเน้นย้ำว่า: "ข้าพเจ้าเป็นฟาโรห์ในธีบส์ นี่คือเมืองของข้าพเจ้า"[2] และเรียกเมืองธีบส์ว่า "นายหญิงแห่งแผ่นดินทั้งปวง นครแห่งชัยชนะ" พระองค์ทรงพูดถึงการขับไล่กลับไปยัง "ดินแดนต่างประเทศ" อาจเป็นคำสละสลวยสำหรับชาวฮิกซอสหรือสำหรับชาวนิวเบีย[7] อำนาจทางทหารของฟาโรห์เมนทูโฮเทปิถูกเน้นย้ำ โดยฟาโรห์ทรงเปรียบพระองค์เองได้กับเทพีเซคเมตที่สังหารศัตรูด้วยลมปราณแห่งเพลิง[7] ต่อมาฟาโรห์เนบิไรรอที่ 1 ได้ทรงขึ้นมาครองราชย์ต่อจากพระองค์ โดยปกครองเหนืออาณาเขตอียิปต์บนนานกว่า 25 ปี

อ้างอิง

แก้
  1. Henri Gauthier (1931), "Deux sphinx du Moyen Empire originaires d'Edfou", ASAE 31
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Kim Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period c.1800-1550 B.C, Museum Tusculanum Press, (1997), pp. 154, 160, 202
  3. Darell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300 - 1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 233
  4. Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der Zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt, 1964
  5. Jürgen von Beckerath: Chronologie des pharaonischen Ägyptens, Münchner Ägyptologische Studien 46, Mainz am Rhein, 1997
  6. Henri Gauthier (1931), "Deux sphinx du Moyen Empire originaires d'Edfou", ASAE 31
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 Darell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300 - 1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 233