ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์

นักวิชาการชาวไทย

ศาสตราจารย์ ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ (เกิด 4 มีนาคม พ.ศ. 2514) เป็นนักวิชาการ นักเขียน นักรัฐศาสตร์และอดีตนักการทูตชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555[1] อดีตนักวิจัยและนักวิชาการ สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์[2][3] ปัจจุบันเป็นผู้ลี้ภัยการเมืองซึ่งพำนักอยู่ที่ นครเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น


ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์

ปวินใน พ.ศ. 2555
เกิด4 มีนาคม พ.ศ. 2514 (53 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศิษย์เก่าโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน (ปร.ด.)
อาชีพนักวิชาการ  • นักการทูต  • นักเขียน  • อาจารย์
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2537 – ปัจจุบัน​
นายจ้างมหาวิทยาลัยเกียวโต
มีชื่อเสียงจากผู้รณรงค์การปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และผู้ลี้ภัยการเมือง
ผลงานเด่นชาติพลาสติก: ความจอมปลอมของความเป็นไทย
คู่สมรสอเล็กซานเดอร์ ไฟนส์-สมิธ (สมรส 2565)

ประวัติ แก้

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ เกิดวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2514 ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีจากภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอกจากวิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน

ปวินเริ่มทำงานครั้งแรกในฐานะสื่อมวลชนของจส.100 และเป็นสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล หลังจากนั้นจึงลาออกและสอบคัดเลือกเพื่อเข้ารับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศเมื่อพ.ศ. 2537 และเมื่อสอบได้แล้วจึงเลือกสังกัดกรมเอเชียตะวันออกตามคำชวนของดอน ปรมัตถ์วินัย อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก ปวินเลือกอยู่หน่วยประเทศญี่ปุ่น จึงย้ายไปอาศัยอยู่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลาสั้นๆ จากนั้นในพ.ศ. 2540 เขาลาราชการไปศึกษาต่อที่สหราชอาณาจักรในระดับปริญญาโทและเอก ต่อมาในพ.ศ. 2545 เขาเดินทางกลับไทยมาทำงานที่กระทรวงช่วงหนึ่ง ก่อนที่จะย้ายไปประจำประเทศสิงคโปร์

ปวินลาออกจากราชการเมื่อพ.ศ. 2553 แล้วผันตัวเป็นนักวิชาการของสถาบันแห่งหนึ่งในประเทศสิงคโปร์ ต่อมาในพ.ศ. 2555 เขาย้ายไปทำงานในฐานะอาจารย์ประจำศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น จนถึงปัจจุบัน

เคลื่อนไหวทางการเมือง แก้

เขาเป็นที่รู้จักจากการเป็นหนึ่งในนักวิชาการที่รณรงค์เรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์และเรียกร้องให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยเขาเห็นว่าการใช้มาตรา 112 เป็นการที่ทำให้สถาบันกษัตริย์อ่อนแอลง และเป็นการนำมาใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของฝ่ายอนุรักษนิยม[4]

เขาได้เป็นวิทยากรในหัวข้อ สถาบันกษัตริย์กับการเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. 2556 ที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐ[5] ต่อมาศาลทหารออกหมายจับเขาฐานขัดคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 5/2557[6] แต่เขาไม่ไปรายงานตัว

วันที่ 4 สิงหาคม 2566 มีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 431/2566 ห้ามนำเข้าหนังสือที่ปวินเขียน[7]ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2566

การแสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์ แก้

เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561 เขาได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เฌอปราง อารีย์กุล สมาชิกวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต จากกรณีที่เฌอปรางได้เป็นพิธีกรรับเชิญรายการเดินหน้าประเทศไทยเมื่อวันที่ 4 กันยายน ปีเดียวกัน[8] ซึ่งเขาวิจารณ์ว่าเฌอปรางคือ "ผงซักฟอกเผด็จการ" และอาจเป็นการเลือกข้างทางการเมืองได้[9] และมีบุคคลที่แสดงความคิดเห็นในทางเดียวกันกับเขา เช่น รังสิมันต์ โรม, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ศรัณย์ ฉุยฉาย, สมบัติ บุญงามอนงค์[10] ทั้งนี้เขายังมีความขัดแย้งกับพรรคอนาคตใหม่เนื่องมาจากการที่พรรคแถลงว่าเฌอปรางมีสิทธิ์ที่จะเลือกข้างทางการเมือง[11][12] ปัจจุบัน ปวิน ได้เกิดความขัดแย้งกับ อดีตผู้ร่วมอุดมการณ์มากมายเช่น ศรัณย์ ฉุยฉาย ณัฏฐา มหัทธนา เนื่องจากมีการออกมาโจมตีกัน

นอกจากนี้ ปวินยังเป็นผู้จัดตั้งกลุ่ม "รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส" ในเฟซบุ๊ก[13]

กลุ่มรอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส - ตลาดหลวง แก้

 
ป้ายแบนเนอร์ “รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส” ในการชุมนุมแห่งหนึ่ง

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ปวินได้สร้างกลุ่มส่วนตัวในเฟซบุ๊กโดยใช้ชื่อว่า "รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส" เพื่อให้เป็นเวทีสำหรับการอภิปรายเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื้อหามีการผสมผสานตั้งแต่โฆษณาธุรกิจ วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ ไปจนถึงการล้อเลียนเสียดสี[14] โดยในกลุ่มมีสมาชิกกว่า 1 ล้านบัญชี เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563 กลุ่มถูกปิดกั้นการเข้าถึงในประเทศไทย โดยที่หน้ากรุ๊ปเพจปรากฏข้อความว่า "กลุ่มนี้ถูกจำกัดการเข้าถึงในประเทศไทยสืบเนื่องจากคำร้องขอทางกฎหมายจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" ซึ่งก่อนหน้าที่จะไม่สามารถเข้าถึงได้ในประเทศไทย ปวินได้สร้างกลุ่มขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับสมาชิกจากกลุ่มเดิม โดยใช้ชื่อว่า "รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส-ตลาดหลวง"[15] เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ซีเอ็นเอ็น รายงานว่าทางเฟซบุ๊กเตรียมดำเนินการทางกฎหมายกับรัฐบาลไทย ระบุว่าการจำกัดการเข้าถึงดังกล่าวขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนและกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความเห็น ทั้งนี้ โฆษกของเฟซบุ๊กกล่าวกับสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นว่า “เฟซบุ๊กทำงานเพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกคน และกำลังเตรียมการดำเนินกฎหมายกับคำร้องขอนี้”[16][17]

ผลงาน แก้

ผลงานทางวิชาการที่โดดเด่น แก้

ปวินมีผลงานทางวิชาการเป็นจำนวนมาก แต่ผลงานทางวิชาการที่โดดเด่นที่สุด อาทิ

  • ชาติพลาสติก: ความสัมพันธ์ไทย - พม่า ผ่าน "ความเป็นไทย"[18]
  • การทูตทักษิณ

หนังสืออัตชีวประวัติ แก้

  • มนุษย์/ต่าง/ด้าว : เรามาอย่างสันติ[19]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Curriculum Vitae Pavin Chachavalpongpun, website:ie.univie.ac.at สืบค้น 01-09-2563
  2. นักวิชาการ เก็บถาวร 2019-09-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, website:bbc07.net สืบค้น 01-09-2563
  3. สัมภาษณ์พิเศษ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ เรื่องหนังสือ "ก้าวข้ามความกลัว", website:voicetv.co.th/ สืบค้น 01-09-2563
  4. ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์: พิพากษา “อากง” หนึ่งปีผ่านไป
  5. ทำความรู้จักกับ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ผู้ก่อตั้ง รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส Brighttv สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2020
  6. ศาลทหาร ออกหมายจับ อีก17คน ฐานขัดคำสั่ง คสช.ไม่มารายงานตัว ไทยรัฐ สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2557
  7. คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่431/2566
  8. ""เฌอปราง" งงใจ! ออกรายการ "เดินหน้าประเทศไทย" ถูกโยงเรื่องการเมือง บอกขอบคุณที่ให้เกียรติ". mgronline.com. MGR Online. 2018-09-15. สืบค้นเมื่อ 2019-06-16.
  9. "ปวิน แขวะเฌอปราง BNK48 เป็นผงซักฟอกเผด็จการ แต่หลักการประชาธิปไตยยังไร้เดียงสา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-15. สืบค้นเมื่อ 2020-06-15.
  10. "ดราม่าไม่จบ!! "เฌอปราง BNK48" ร่วมเป็นพิธีกรใน รายการเดินหน้าประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-15. สืบค้นเมื่อ 2020-06-15.
  11. ตบตีกันแล้ว!‘ปวิน’เดือดจัดประกาศเปิดศึก‘อนาคตใหม่’หลังโดนด่าไร้วุฒิภาวะ
  12. พรรคอนาคตใหม่ กับ เฌอปราง และ “พรรคลุงกำนัน” กับ “คืนนกหวีด” เผชิญ หลุมพรางโลกโซเชียล
  13. กมธ.ยุติธรรมรับตรวจสอบล่าแม่มดชาว "รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส"
  14. "The Royalists Marketplace: the supply and demand for dissent in Thailand". 4 พฤษภาคม 2563. 28 สิงหาคม 2563.
  15. "รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส: เฟซบุ๊กเตรียมดำเนินทางการกฎหมายกับรัฐบาลไทย หลังบังคับบล็อกการเข้าถึงกลุ่มปิดที่พูดคุยเกี่ยวกับราชวงศ์" BBC. 25 สิงหาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2563.
  16. "Facebook prepares legal action against Thai government's order to block group". 25 สิงหาคม 2563. 28 สิงหาคม 2563.
  17. "สื่อนอกตีข่าว "เฟซบุ๊ก" จ่อฟ้องร้องรัฐบาลไทย อ้างถูกบังคับให้บล็อกกลุ่มสุ่มเสี่ยง" 25 สิงหาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2563
  18. ชาติพลาสติก: ความจอมปลอมของความเป็นไทย
  19. adaymagazine.com มนุษย์/ต่าง/ด้าว โดย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ หนังสือที่ใช้ภาพคอลลาจบอกเล่าการเดินทางของชีวิตอย่างจัดจ้านและสนุกที่สุด
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๑๖๔, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๑
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๘๙, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗

แหล่งข้อมูลอื่น แก้