ธนบัตร 1000 บาท (อังกฤษ: 1000 Baht Banknotes) เป็นธนบัตรหมุนเวียนในสกุลเงินบาท เริ่มออกใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2445 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ธนบัตร 1000 บาทที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นธนบัตรไทยแบบที่ 15, 16 และ 17

1000 บาท
(ประเทศไทย)
มูลค่า1000.00 บาท
ความกว้าง162 มม.
ความสูง72 มม.
องค์ประกอบเพื่อความปลอดภัยลายน้ำ, ลายเส้นนูน, ภาพซ้อนทับ, ตัวเลขแฝง, อักษรเบรลล์, หมึกพิมพ์พิเศษ, แถบสี, แถบฟอยล์ภาพ 3 มิติ, หมึกพิมพ์พิเศษเรืองแสง, กลุ่มดาวยูไรอัน
วัสดุที่ใช้กระดาษใยฝ้าย
ปีที่พิมพ์2445 – 2486, 2535 – ปัจจุบัน
ด้านหน้า
การออกแบบพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารอากาศ
วันที่ออกแบบ2560
ด้านหลัง
การออกแบบพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ครั้นเสด็จพระราชดำเนินเยือนจังหวัดนครพนมทรงรับดอกบัวจากหญิงชรา ตุ้ม จันทนิตย์ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ครั้นเสด็จพระราชดำเนินทรงงาน ณ จังหวัดนราธิวาส
วันที่ออกแบบ2560

ธนบัตรรุ่นปัจจุบันและรายละเอียด แก้

ธนบัตรที่มีการใช้หมุนเวียนในปัจจุบันประกอบด้วย ธนบัตรรูปแบบ 15, 16, 17 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

แบบ 17 แก้

แบบ 16 แก้

ธนบัตรไทยชนิดราคา 1,000 บาทแบบ 16 [1] ประกาศออกใช้ ณ วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558 [2]

สพหรับธนบัตรแบบ 16 รุ่นที่ 3 นั้นวันประกาศออกใช้คือ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559 และ วันจ่ายแลก : 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แบบ 15 แก้

ธนบัตรไทยชนิดราคา 1000 บาทแบบ 15 รุ่นที่ 1[3] ประกาศออกใช้ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542[4]

สำหรับธนบัตรแบบ 15 รุ่นที่หนึ่ง วันประกาศออกใช้คือ 1 กันยายน พ.ศ. 2542และ วันจ่ายแลกคือ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

และสำหรับธนบัตรไทยชนิดราคา 1000 บาทแบบ 15 รุ่นที่ 2 แบบปรับปรุง เพิ่มฟอยล์สีเงินด้านหน้าธนบัตร[5] ประกาศออกใช้ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548[6]

รุ่นที่สอง แบบปรับปรุง เพิ่มฟอยล์สีเงินด้านหน้าธนบัตร
  • วันประกาศออกใช้ : 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
  • วันจ่ายแลก : 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548

แบบ 14 แก้

แบบ 6 ถึง 13 แก้

ไม่มีการออกธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท สำหรับธนบัตรแบบ 6 ถึง 13 มาใช้

ธนบัตร 1000 แบบ 9 ได้ถูกสั่งพิมพ์ขึ้นในปี 2492 โดยกระทรวงการคลังอนุมัติให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการจ้างบริษัทโทมัสเดอลารู ประเทศอังกฤษให้ดำเนินการพิมพ์ และบริษัทฯ ได้จัดส่งธนบัตรมายังประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน 2495 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้เสนอเรื่องการออกประกาศใช้ไปยังกระทรวงการคลัง แต่เนื่องจากมีกระแสคัดค้านจากหลายฝ่ายซึ่งเกรงว่าอาจจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ และพ่อค้าจะฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า อันอาจจะส่งผลต่อค่าครองชีพของประชาชน ในที่สุดกระทรวงการคลังจึงมิได้นำธนบัตรชนิดราคา 1000 บาทนี้ออกใช้และได้ทำลายไปเป็นส่วนใหญ่ในภายหลัง

ธนบัตร 1000 บาทนี้เท่าที่พบจะเป็นธนบัตรตัวอย่าง หรือเป็นธนบัตรตัวอย่างทดลองสีซึ่งไม่มีลายเซ็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย แต่มีพบบางฉบับที่มีลายเซ็น พลเอก เภา ฯ และ นายเสริม วินิจฉัยกุล จึงถือว่าธนบัตรนี้ก็เป็นธนบัตรตัวอย่างเช่นกัน

แบบ 5 แก้

แบบ 4 (กรมแผนที่) แก้

ไม่มีการออกธนบัตรชนิดราคา 1000 บาท สำหรับธนบัตรแบบ 4 มาใช้

แบบ 4 (โทมัส) แก้

แบบ 3 แก้

ไม่มีการออกธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท สำหรับธนบัตรแบบ 3 มาใช้

แบบ 2 แก้

  • ด้านหน้า : ภาพลายเฟื่องประกอบรัศมี 12 แฉก
  • ด้านหลัง : ภาพพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
  • เริ่มออกใช้ : สมัยรัชกาลที่ 6

แบบ 1 แก้

  • ด้านหน้า : เป็นธนบัตรที่พิมพ์ด้านหน้าด้านเดียว
  • ด้านหลัง : เป็นธนบัตรที่พิมพ์ด้านหน้าด้านเดียว
  • เริ่มออกใช้ : สมัยรัชกาลที่ 5

ธนบัตรปัจจุบัน แก้

ธนบัตรไทยชนิดราคา 1000 บาทแบบ 17

ธนบัตรที่ระลึก แก้

แบบที่ระลึก แก้

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-08-30.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-02.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-02-26.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-02.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-02-26.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-02.