ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัชชี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Series King (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:46, 12 ตุลาคม 2563


ในพระไตรปิฎก อังคุตตรนิกาย และคัมภีร์ในศาสนาเชน ภควัตตีสูตร ได้รวมแคว้นวัชชีเป็นหนึ่งใน มหาชนบท 16 แคว้น[2] ชื่อของมหาชนบทแคว้นนี้ได้มาจากหนึ่งในตระกูลที่ปกครองเมืองคือ ตระกูลวัชชี รัฐวัชชีถูกระบุว่าเป็น สาธารณรัฐ เผ่านี้ถูกกล่าวถึงโดย Pāṇini, จาณักยะ และ พระถังซัมจั๋ง[3] ในบันทึกของ พระถังซัมจั๋ง สองตระกูลเชื่อมโยงกับแคว้นวัชชี/ แคว้นมิถิลาโดย เวสาลี และวริชชี โดยเมืองเสาลี นับถือทั้งศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูในขณะที่ วริชชี ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดูและเป็นเมืองหลวงคือ Zhanshuna [4]

วัชชี
Vajji

c. 700 BCE–c. 400 BCE
แคว้นวัชชีกับแคว้นอื่นๆ ในยุคพระเวทตอนปลาย
แคว้นวัชชีกับแคว้นอื่นๆ ในยุคพระเวทตอนปลาย
เมืองหลวงเวสาลี[1]
ภาษาทั่วไปภาษาไมถิลี, ภาษาปรากฤต
ศาสนา
ศาสนาเชน
ศาสนาฮินดู
พระพุทธศาสนา
การปกครองสาธารณรัฐ[1]
กษัตริย์ (มหาราชา) 
ยุคประวัติศาสตร์ยุคโลหะ, ยุคหิน
• ก่อตั้ง
c. 700 BCE
• ถูกพิชิตโดย พระเจ้าอชาตศัตรู แห่งแคว้นมคธ
c. 400 BCE
ถัดไป
ราชวงศ์หรายังกะ
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ อินเดีย
 เนปาล

แคว้นวัชชี (อักษรโรมัน: Vajji สันสกฤต: Vṛji ฮินดี: वज्जि ) หรือ วริชชี เป็นอาณาจักรโบราณของอินเดีย เป็นของพระเจ้าลิจฉวี และเป็นหนึ่งในอาณาจักรของ มหาชนบท 16 แคว้น ตั้งอยู่ทางเหนือของแคว้นมคธ มีแม่น้ำคงคาเป็นแดนแบ่งเขตแคว้นทั้งสองเมืองหลวงของแคว้นชื่อ เวสาลี[1] เทียบ กับปัจจุบัน แคว้นวัชชีได้แก่รัฐพิหารตอนเหนือ หรือประมาณคร่าว ๆ ได้แก่เนื้อที่บริเวณจังหวัด มุซัฟฟาร์ปูร์ ดรภังคะ จัมปารัน และไวศาลีรายละเอียดเกี่ยวกับอาณาเขต นอกจากที่บอกว่าทาง ทิศใต้ จดแม่น้ำคงคาดังกล่าวแล้ว ทางทิศอื่นไม่มีหลักฐานบอกให้ทราบแน่ชัด นักประวัติศาสตร์และโบราณคดีลงความเห็นว่า ทางทิศ ตะวันออก เขตของแคว้นวัชชี คงจะจดแม่น้ำโกสี หรือเกาสิกี ในปัจจุบัน ตะวันออกแม่น้ำนี้เป็นเขตที่เรียกในสมัยพุทธกาลว่า อังคุตตราปะ ทางทิศเหนือ จดทิวเขาหิมาลัยซึ่ง เวลานี้อยู่ในเขตประเทศเนปาลและทางตะวันตกจดแม่น้ำคัณฑักใหญ่ อันน่าจะเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างแคว้นวัชชีกับแคว้นมัลละ ในสมัยนั้น แม่น้ำคัณฑักนี้เรียกกันว่า คัณฑกะ หรือคัณฑกีอีกบ้าง ผู้รู้ลงความเห็นว่า ได้แก่แม่น้ำที่ทางอินเดียสมัยโน้นเรียกว่าสทานีรา แต่บางท่านให้ความเห็นว่าได้แก่แม่น้ำมหี ที่ปรากฏชื่อในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาว่า เป็นหนึ่งใน ปัญจมหานที หรือแม่น้ำใหญ่ 5 สายของอินเดียเหนือในพุทธสมัย

แคว้นวัชชีในสมัยพุทธกาล เป็นแคว้นที่รุ่งเรืองมากแคว้นหนึ่ง มีการปกครองแบบคณราชย์ หรือสามัคคีธรรม ซึ่งอาจเรียก ได้ว่าเป็นประชาธิปไตยในลักษณะหนึ่ง คือปกครองแบบไม่มี กษัตริย์เป็นประมุขทรงอำนาจสิทธิ์ขาด มีแต่ผู้ได้รับเลือกให้ทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐ แล้วบริหารงานโดยการปรึกษาหารือกับสภาซึ่งประกอบด้วยเจ้าหรือกษัตริย์วงศ์ต่าง ๆ รวมถึง 8 วงศ์ด้วยกัน และในจำนวนนี้วงศ์สิจฉวีแห่งเวสาลี และวงศ์วิเทหะแห่งมิถิลา เป็นวงศ์ที่มีอิทธิพลมากที่สุด

เวสาลี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นวัชชีในสมัยนั้น ปัจจุบันเป็นซากอยู่ที่ตำบลสาร์ท หรือเบสาร์ท แห่งจังหวัดไวศาลี ที่เขตติดต่อของอำเภอ สดาร์ กับ หชิปูร์ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการจังหวัด ห่างจากหชิปูร์ 35 กิโลเมตร หรือ 22 ไมล์ และห่างจากเมืองมุซัฟฟาร์ปูร์ 37 กิโลเมตร หรือ 23 ไมล์ โดยอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมุซัฟฟาปูร์เดิมเขตของเวสาลีขึ้นกับจังหวัดมุซัฟฟาร์ปูร์ แต่พร้อมกันกับการจัดตั้งจังหวัดนาลันทาและอื่น ๆ ในปี 2515 ดังกล่าวข้างต้น ทางการก็ได้จัดตั้งจังหวัดไวศาลีขึ้นด้วย โดยมีหชิปูร์เป็นที่ตั้งที่ทำการจังหวัด ผลการจัดตั้งจังหวัดขึ้นใหม่ดังกล่าวทำให้เขตที่ตั้งของเวสาลีเดิมมาขึ้นกับจังหวัดใหม่คือไวศาลี

เวสาลี นครหลวงของวัชชี เป็นจุดศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในสมัยของพระพุทธองค์ พระพุทธองค์เสด็จเยี่ยมเวสาลีครั้งแรก ในปีที่ 5 นับแต่ตรัสรู้ ตามการกราบทูลเชิญของคณะผู้ครองแคว้น เมื่อเวสาลีประสพทุพภิกขภัยและฉาตกภัยร้ายแรง ผู้คนล้มตายนับจำนวนไม่ได้ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จถึงด้วยอำนาจพุทธานุภาพทำให้ภัยทั้งหลายสงบลง และหมดสิ้นไปในระยะเวลาอันรวดเร็วและที่ป่ามหาวันนี้ พระนางมหาปชาบดีโคตมีกับเหล่านางสากิยานี 500 ได้พร้อมกันปลงผมและครองเพศนักบวช เดินทางจากกบิลพัสดุ์มาเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อกราบทูลขอบวชในพระศาสนา อันมีผลทำให้พระพุทธองค์ทรงมีพระพุทธานุญาตให้มีภิกษุสงฆ์ หรือให้สตรีบวชเป็นภิกษุณีในพระศาสนาได้

พระพุทธองค์ทรงแสดงพระสูตรสำคัญ ๆ หลายสูตรที่เวสาลี อาทิเช่น รตนสูตร มหาลิสูตร มหาสีหนาทสูตร จูลสัจจกะ และมหาสัจจกะสูตร เตวิชชสูตรสุนักขัตตสูตร และสารันททสูตร ซึ่งทรงแสดงอปริหานิยธรรม 7 ประการ แก่เจ้าลิจฉวีจำนวนมาก ซึ่งได้พากันมาเฝ้าพระพุทธองค์ ณ สารันททเจดีย์ อันเป็นที่ทรงแสดงพระสูตรดังกล่าว

ในการเสด็จเวสาลีครั้งสุดท้ายก่อนปรินิพพาน พระพุทธองค์ทรงรับสวนมะม่วงของนางอัมพปาลีคณิกา หญิงงามเมืองแห่งเวสาลี ซึ่งนางได้อุทิศถวายให้เป็นสังฆารามในพระศาสนาพระพุทธองค์ทรงจำพรรษาสุดท้ายที่เวฬุวคาม ทรงปลงอายุสังขารที่ปาวาลเจดีย์และเมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้วได้ 100 ปี ได้มีการทำสังคายนา ครั้งที่สอง ณ วาลุการาม ซึ่งสถานที่ทั้งหมดเหล่านี้อยู่ในเวสาลีแห่งแคว้นวัชชี.

พระโบราณจารย์ทั้งหลาย พรรณนาไว้นับแต่เรื่องกรุงเวสาลีดังได้สดับมา พระอัครมเหสีของพระเจ้ากรุงพาราณสีทรงพระครรภ์. พระนางทรงทราบแล้วก็ได้กราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ. พระราชาก็พระราชทานเครื่องบริหารพระครรภ์. พระนางได้รับบริหารพระครรภ์มาเป็นอย่างดี ก็เสด็จเข้าสู่เรือนประสูติ ในเวลาพระครรภ์แก่. เหล่าท่านผู้มีบุญย่อมออกจากครรภ์ในเวลาใกล้รุ่ง. ก็ในบรรดาท่านผู้มีบุญเหล่านั้น พระอัครมเหสีพระองค์นั้น ก็เป็นผู้มีบุญพระองค์หนึ่ง ด้วยเหตุนั้น เวลาใกล้รุ่ง พระนางก็ประสูติชิ้นเนื้อ เสมือนดอกชะบามีพื้นกลีบสีแดงดังครั่ง ต่อจากนั้น พระเทวีพระองค์อื่นๆ ก็ประสูติพระโอรสเสมือนรูปทอง, พระอัครมเหสีประสูติชิ้นเนื้อ

ดังนั้นพระนางทรงดำริว่า “เสียงติเตียนจะพึงเกิดแก่เรา ต่อเบื้องพระพักตร์ของพระราชา” เพราะทรงกลัวการติเตียนนั้น จึงทรงสั่งให้ใส่ชิ้นเนื้อนั้นลงในภาชนะใบหนึ่ง เอาภาชนะอีกใบหนึ่งครอบปิดไว้ ประทับตราพระราชลัญจกรแล้ว ให้ลอยไปตามกระแสแม่จ้ำคงคา พอเจ้าหน้าที่ทั้งหลายทิ้งไป เทวดาทั้งหลายก็จัดการอารักขา ทั้งเอายางมหาหิงคุ์จารึกแผ่นทองผูกติดไว้ที่ภาชนะนั้นว่า พระราชโอรสธิดาของพระอัครมเหสีแห่งพระเจ้ากรุงพาราณสี. ต่อนั้นภาชนะนั้น มิได้ถูกภัยคือคลื่นรบกวน ก็ลอยไปตามกระแสแม่น้ำคงคา.

สมัยนั้น ดาบสรูปหนึ่งอาศัยครอบครัวของคนเลี้ยงโค อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา. เช้าตรู่ ดาบสรูปนั้นก็ลงสู่แม่น้ำคงคา แลเห็นภาชนะนั้นลอยมา ก็ถือเอาด้วยบังสุกุลสัญญา ด้วยเข้าในว่าเป้นของที่เขาทิ้งแล้ว. ต่อนั้น ก็แลเห็นแผ่นจารึกอักษรและตราพระราชลัญจกร ก็แก้ออกเห็นชิ้นเนื้อนั้น ครั้นเห็นแล้ว ดาบสรูปนั้นก็คิดว่า เห็นทีจะเป็นสัตว์เกิดในครรภ์ ดังนั้น จึงไม่เน่าเหม็น ก็นำชิ้นเนื้อนั้นไปยังอาศรม ว่าไว้ในที่สะอาด. ล่วงไปครึ่งเดือนชิ้นเนื้อก็แยกเป็น 2 ชิ้น ดาบสเห็นแล้ว ก็วางไว้อย่างดี. ต่อจากนั้น ล่วงไปอีกครึ่งเดือน ชิ้นเนื้อแต่ละชิ้นก็เกิดปมชิ้นละ 5 สาขา เพื่อเป็นมือ เท้าและศีรษะ ดาบสก็บรรจงวางไว้เป้นอย่างดีอีก. ต่อนั้น อีกครึ่งเดือน ชิ้นเนื้อ ชิ้นหนึ่งก็เป็นทารก เสมือนรูปทอง อีกชิ้นหนึ่งก็เป็นทาริกา ดาบส เกิดความรักดังบุตรในทารกทั้งสองนั้น. น้ำนมก็บังเกิดจากหัวนิ้ว แม่มือของดาบสนั้นตั้งแต่นั้นมา ดาบสได้น้ำนมและอาหารมา ก็บริโภคอาหาร หยอกน้ำนมในปากของทารกทั้งสอง. สิ่งใดๆ เข้าไปในท้องของทารกนั้น สิ่งนั้นๆทั้งหมดก็จะแลเห็นเหมือนเขาไปในภาชนะทำด้วยแก้วมณี. ทารกทั้งสอง ไม่มีผิวอย่างนี้. แต่อาจารย์พวกอื่นๆกล่าวว่า ผิวของทารกทั้งสองนั้น ใสถึงกันและกันเหมือนถูกร้อยด้ายว่างไว้. ทารกเหล่านั้น จึงปรากฏชื่อว่า ลิจฉวี เพราะไม่มีผิว หรือเพราะมีผิวใส ด้วยประการฉะนี้.

ดาบสเลี้ยงทารก พอตะวันขึ้นก็เข้าบ้านแสวงหาอาหาร ตอนสายๆก็กลับ. คนเลี้ยงโคทั้งหลาย รู้ถึงการขวนขวายนั้นของดาบสนั้น ก็กล่าวว่าท่านเจ้าข้า การเลี้ยงทารกเป็นกังวลห่วงใยของเหล่านักบวช ขอท่านโปรดให้ทารกแก่พวกเราเถิด พวกเราจะช่วยกันเลี้ยง ขอท่านโปรดทำกิจกรรมของท่านเถิด ดาบสก็ยอมรับ วันรุ่งขึ้น พวกคนเลี้ยงโค ก็ช่วยกันทำหนทาง ให้เรียบแล้วโรยทราย ยกธง มีดนตรีบรรเลงพากันมายังอาศรม. ดาบสกล่าวว่าทารกทั้งสองมีบุญมาก พวกท่านจงช่วยกันเลี้ยงให้เจริญวัย ด้วยความไม่ประมาท ครั้นให้เจริญวัยแล้ว จงจัดการอาวาหวิวาหกันและกัน ให้พระราชาทรงยินดีด้วยปัญจโครส จงเลือกหาภูมิประเทศช่วยกันสร้างพระนครขึ้น จงอภิเษกพระกุมารเสีย ณ ที่นั้น แล้วมอบทารกให้. พวกคนเลี้ยงโครับคำแล้วก็นำทารกไปเลี้ยงดู.ทารกทั้งสอง เจริญเติบโตก็เล่นการเล่น ใช้มือบ้าง เท้าบ้าง ทุบถีบพวกเด็กลูกของคนเลี้ยงโคอื่นๆ ในที่ทะเลาะกัน เด็กลูกคนเลี้ยงโคเหล่านั้นก็ร้องไห้ ถูกมารดาบิดาถามว่าร้องไห้ทำไม ก็บอกว่า เจ้าเด็กไม่มีพ่อแม่ที่ดาบสเลี้ยงเหล่านี้ ข่มเหงเรา. แต่นั้น มารดาบิดาของเด็กเหล่านั้นก็กล่าวว่าทารกสองคนนี้ชอบข่มเหงให้เด็กอื่นๆ เดือดร้อน จะไม่สงเคราะห์มัน ละเว้นมันเสีย. เขาว่าตั้งแต่นั้นมา ประเทศที่นั้น จึงถูกเรียกว่า วัชชี ขนาด 300 โยชน์ ครั้งนั้น พวกคนเลี้ยงโคทำพระราชาให้ยินดีแล้ว เลือกเอาประเทศที่นั้นสร้างพระนครลงในประเทศนั้น แล้วอภิเษกพระกุมาร ซึ่งพระชนม์ได้ 16 พรรษา ตั้งเป็นพระราชา ได้ทำการวิวาหมงคลกับทาริกาของพระองค์ ได้วางกติกากฎเกณฑ์ ไว้ว่า จะไม่นำทาริกามาจากภายนอก และไม่ให้ทาริกาจากที่นี้แก่ใคร ๆ โดยการอยู่ร่วมกันครั้งแรกของพระกุมารกุมารีนั้น ก็เกิดทารกคู่ หนึ่ง เป็นธิดา 1 โอรส 1 โดยอาการอย่างนี้ ก็เกิดเป็นคู่ ๆ ถึง 16 ครั้ง แต่นั้น เมื่อทารกเหล่านั้นเจริญวัยโดยลำดับ นครนั้นก็ไม่พอที่จะบรรจุอารามอุทยาน สถานที่อยู่ บริวารและสมบัติ จึงล้อมรอบด้วยประการ 3 ชั้น ระหว่างคาวุต หนึ่ง ๆ เพราะนครนั้นถูกขยายกว้างออกบ่อย ๆ จึงเกิดนามว่าเวสาลีนี้แล. นี้เรื่องกรุงเวสาลี[5]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 Patrick Olivelle (13 July 2006). Between the Empires: Society in India 300 BCE to 400 CE. Oxford University Press. pp. 15–. ISBN 978-0-19-977507-1.
  2. Raychaudhuri Hemchandra (1972), Political History of Ancient India, Calcutta: University of Calcutta, pp.85-6
  3. Raychaudhuri Hemchandra (1972), Political History of Ancient India, Calcutta: University of Calcutta, p.107
  4. ISBN 9789867332677 page 485
  5. มหาชนบท 16 แคว้น แคว้นสำคัญในชมพูทวีปสมัยพุทธกาล จากเว็บ ข้vichadham.com