พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี

(เปลี่ยนทางจาก พระนางมหาปชาบดีโคตมี)

พระมหาปชาบดีโคตมี[2] (บาลี: Mahāpajāpatī Gotamī มหาปชาปตี โคตมี; สันสกฤต: Mahāprajāpatī Gautamī มหาปฺรชาปตี เคาตมี) เป็นพระราชธิดาแห่งโกลิยะ เป็นพระมาตุจฉาของพระโคตมพุทธเจ้า เพราะเป็นพระขนิษฐภคินีของพระนางสิริมหามายา พุทธมารดา และเป็นภิกษุณีรูปแรก ทรงได้เรียนกรรมฐานและทรงปฏิบัติอย่างจริงจัง จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าทรงยกย่องท่านว่าเป็นเอตทัคคะ คือเลิศกว่าผู้อื่นในทางรัตตัญญู (คือผู้มีรู้ราตรีนาน)

มหาปชาบดีโคตมีเถรี
พระมหาปชาบดีโคตมีประทับอยู่บนอาสนะ
พระมหาปชาบดีโคตมีประทับอยู่บนอาสนะ
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ประสูติเทวทหะ แคว้นโกลิยะ
สถานที่บรรลุธรรมกูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน[1][2]
เอตทัคคะรัตตัญญู (ผู้รู้ราตรีนาน)[3][4]
อาจารย์พระโคตมพุทธเจ้า
นิพพาน(120 พรรษา)
สถานที่นิพพานภิกขุณูปัสสยาราม[1]
ฐานะเดิม
ชาวเมืองเทวทหะ
พระบิดาพระเจ้าอัญชนะ
พระมารดาพระนางยโสธรา[5]
วรรณะเดิมกษัตริย์
ราชวงศ์โกลิยะ[6]
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พระประวัติ

แก้
 
พระนางปชาบดีโคตมี (ซ้าย) ในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับพระเจ้าสุทโธทนะ

เมื่อพระนางสิริมหามายาสวรรคตแล้ว หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ 7 วัน ในกาลต่อมาพระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงตั้งพระนางมหาปชาบดีโคตมีไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี ซึ่งพระนางได้ทรงถวายการอภิบาลเจ้าชายสิทธัตถะ เสมือนเป็นพระราชโอรสของพระองค์เอง พระนางมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งพระนามว่า เจ้าชายนันทะ และมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่งพระนามว่า เจ้าหญิงรูปนันทา

พระนางได้ทรงแสดงความประสงค์จะบวชต่อพระพุทธเจ้าในคราวที่พระองค์เสด็จไปโปรดพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ แต่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงอนุญาตให้พระนางผนวช เนื่องจากยังไม่เคยทรงอนุญาตให้สตรีอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองเวสาลีและประทับอยู่ที่ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน พระนางปชาบดีโคตมีพร้อมด้วยเหล่านางสากิยานีจำนวนมาก จึงได้ปลงพระเกศา ห่มผ้ากาสายะ เป็นการแสดงเจตนาที่จะบวชอย่างแรงกล้า โดยเสด็จไปยังกูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เมืองเวสาลี เพื่อทรงทูลขออุปสมบท โดยพระนางได้ทรงแจ้งพระประสงค์ต่อพระอานนท์ให้นำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า ขอให้พระนางพร้อมทั้งเหล่านางสากิยานีได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระอานนท์ใช้ความพยายามอยู่หลายหน พระพุทธเจ้าจึงทรงออกหลัก ปฏิบัติเป็นพิเศษสำหรับสตรีผู้ที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา คือครุธรรม 8 ซึ่งพระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงยินดีปฏิบัติตามครุธรรม ทั้ง 8 ประการ จึงได้รับการอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเหล่านางสากิยานี

หลังจากการอุปสมบท พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีได้ทรงเรียนกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าทรงประทานและปฏิบัติอย่างจริงจัง จนได้บรรลุพระอรหันต์ แม้ภิกษุณีเหล่าสากิยานีที่อุปสมบทพร้อมกับท่านก็ได้บรรลุพระอรหันต์เหมือนกัน

พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีนิพพานขณะมีพระชนมายุได้ 120 พรรษา[7]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "พระปชาบดีโคตมีเถรี เอตทัคคะมหาเถรีผู้รู้ราตรีนาน (ต่อ)". ประตูสู่ธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-25. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน". พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี". ภิกษุณี เอตทัคคะ 84000. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "พระปชาบดีโคตมีเถรี เอตทัคคะมหาเถรีผู้รู้ราตรีนาน". ประตูสู่ธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-11. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "พระญาติฝ่ายพระพุทธบิดาและพระพุทธมารดา". พุทธะ. 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-05. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ. "ศากยวงศ์". ประตูสู่ธรรม. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  7. Dhammadharini: Going Forth & Going Out ~ the Parinibbana of Mahapajapati Gotami - Dhammadharini เก็บถาวร 2013-02-21 ที่ archive.today

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้