จาณักยะ
จาณักยะ (375–283 ก่อนคริสตกาล) เป็นผู้รู้รอบด้านชาวอินเดียโบราณที่ทำหน้าที่เป็นครู นักเขียน นักยุทธศาสตร์ นักปราชญ์ นักเศรษฐศาสตร์ นักกฎหมาย และนักการเมือง ตามธรรมเนียมระบุตัวตนเป็น เกาฏิลยะ หรือ วิษณุคุปต์ ที่เป็นผู้เขียนตำราการเมืองอินเดียโบราณชื่อ อรรถศาสตร์[3] ตำรานี้มีอายุคร่าว ๆ ระหว่างศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 3[4] ทำให้เขาถือเป็นผู้บุกเบิกศาสตร์ในด้านรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ในอินเดีย และผลงานของเขาถือเป็นงานก่อนหน้าที่สำคัญต่อเศรษฐศาสตร์คลาสสิก[5][6][7][8] ผลงานของเขาสูญหายในช่วงเกือบสิ้นสุดสมัยจักรวรรดิคุปตะเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 6 และไม่มีผู้ค้นพบใหม่จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประมาณ 321 ปีก่อน ค.ศ. จาณักยะช่วยให้พระเจ้าจันทรคุปต์ จักรพรรดิเมารยะองค์แรก ขึ้นมามีอำนาจ และได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่ามีบทบาทสำคัญต่อการสถาปนาจักรวรรดิเมารยะ จาณักยะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าที่ปรึกษาให้แก่ทั้งพระเจ้าจันทรคุปต์กับพระเจ้าพินทุสาร พระราชโอรส[9]
จาณักยะ | |
---|---|
จาณักยะบนหน้าปกคำแปล อรรถศาสตร์ ใน ค.ศ. 1915 โดย R. Shamasastry | |
เกิด | 375 ปีก่อน ค.ศ. ที่หมู่บ้าน Chanaka ในภูมิภาค Golla อินเดียใต้ (ตำนานเชน);[1] หรือที่ตักศิลา (ตำนานพุทธ)[2] |
เสียชีวิต | 283 ปีก่อน ค.ศ. ปาฏลีบุตร จักรวรรดิเมารยะ |
อาชีพ | อาจารย์, นักปราชญ์, นักเศรษฐศาสตร์, นักกฎหมาย, ผู้ให้คำปรึกษาของพระเจ้าจันทรคุปต์ |
มีชื่อเสียงจาก | มีส่วนสำคัญในการก่อตั้งจักรวรรดิเมารยะ อรรถศาสตร์ จาณักยนีติ |
สำนักงาน | อำมาตย์แห่งจักรวรรดิเมารยะ |
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อน | สถาปนาตำแหน่ง |
ภูมิหลัง
แก้แหล่งที่มาข้อมูล
แก้ข้อมูลประวัติศาสตร์ที่มีการบับทึกของจาณักยะมีน้อยมาก: สิ่งที่นักประวัติศาสตร์รู้เกี่ยวกับเขาส่วนใหญ่มาจากข้อมูลกึ่งตำนาน Thomas Trautmann ระบุข้อมูลจำเพาะของจาณักยะ-จันทรคุปต์กถา (ตำนาน) โบราณ 4 แหล่ง:[10]
ฉบับตำนาน | ตัวอย่างตำรา |
---|---|
ฉบับพุทธ | มหาวงศ์ และอรรถาธิบาย Vamsatthappakasini (ภาษาบาลี) |
ฉบับเชน | Parishishtaparvan โดย Hemachandra |
ฉบับกัศมีร์ | กถาสริตสาคร โดยโสมเทวะ, Brihat-Katha-Manjari โดย Ksemendra |
ฉบับ Vishakhadatta | Mudrarakshasa, บทละครสันสกฤตโดย Vishakhadatta |
สิ่งที่ปรากฏในทั้ง 4 ฉบับคือ จาณักยะรู้สึกถูกเหยียดหยามจากกษัตริย์นันทะ และสาบานว่าจะทำลายพระองค์ หลังโค่นกษัตริย์นันทะได้แล้ว เขาก็แต่งตั้งจันทรคุปต์เป็นกษัตริย์องค์ใหม่
ฉบับพุทธ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
แก้- ↑ Trautmann 1971, p. 21.
- ↑ Trautmann 1971, p. 12.
- ↑ Mabbett, I. W. (1964). "The Date of the Arthaśāstra". Journal of the American Oriental Society. American Oriental Society. 84 (2): 162–169. doi:10.2307/597102. ISSN 0003-0279. JSTOR 597102.
- ↑ Transaction and Hierarchy. Routledge. 9 August 2017. p. 56. ISBN 978-1351393966.
- ↑ L. K. Jha, K. N. Jha (1998). "Chanakya: the pioneer economist of the world", International Journal of Social Economics 25 (2–4), p. 267–282.
- ↑ Waldauer, C., Zahka, W.J. and Pal, S. 1996. Kauṭilya's Arthashastra: A neglected precursor to classical economics. Indian Economic Review, Vol. XXXI, No. 1, pp. 101–108.
- ↑ Tisdell, C. 2003. A Western perspective of Kauṭilya's Arthashastra: does it provide a basis for economic science? Economic Theory, Applications and Issues Working Paper No. 18. Brisbane: School of Economics, The University of Queensland.
- ↑ Sihag, B.S. 2007. Kauṭilya on institutions, governance, knowledge, ethics and prosperity. Humanomics 23 (1): 5–28.
- ↑ "Mauryan Empire". National Geographic Society (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-20. สืบค้นเมื่อ 2022-01-20.
- ↑ Namita Sanjay Sugandhi (2008). Between the Patterns of History: Rethinking Mauryan Imperial Interaction in the Southern Deccan. pp. 88–89. ISBN 978-0-549-74441-2. สืบค้นเมื่อ 2012-06-06.[ลิงก์เสีย]
บรรณานุกรม
แก้- {{ไม่ผ่านแว็บอ้างอิงหลอกหลวงประสงร้ายละเมิดแฮ็กเฟสแฮ็กเบอร์โทรศัพร์แฮ็กสัณณาณชิ้ม
- {{ไม่ผ่านแว็บอ้างอิงหลอกหลวงประสงร้ายละเมิดแฮ็กเฟสแฮ็กเบอร์โทรศัพร์แฮ็กสัณณาณชิ้ม
- {{ไม่ผ่านแว็บอ้างอิงหลอกหลวงประสงร้ายละเมิดแฮ็กเฟสแฮ็กเบอร์โทรศัพร์แฮ็กสัณณาณชิ้ม
- {{ไม่ผ่านแว็บอ้างอิงหลอกหลวงประสงร้ายละเมิดแฮ็กเฟสแฮ็กเบอร์โทรศัพร์แฮ็กสัณณาณชิ้ม
- {{ไม่ผ่านแว็บอ้างอิงหลอกหลวงประสงร้ายละเมิดแฮ็กเฟสแฮ็กเบอร์โทรศัพร์แฮ็กสัณณาณชิ้ม
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Kautilya Arthashastra English translation by R. Shamasastry 1956 (revised edition with IAST diacritics and interwoven glossary)
- Chanakya Nitishastra: English translation by Miles Davis.