ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตาลิส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Oliver (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: right|280px [[File:Thalys train number 4346 in Cologne on Hohenzollernbrücke 2013 PD 4.JPG|right|280px]...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:32, 5 มิถุนายน 2556

ทาลีส (Thalys) เป็นขบวนรถไฟความเร็วสูงระหว่างประเทศ วิ่งระหว่างปารีส และบรัสเซลส์ ใช้ระบบรางร่วมกับรถไฟยูโรสตาร์ และรถไฟ TGV รถไฟทาลีสให้บริการถึงอัมสเตอร์ดัม และโคโลญด้วย รถไฟทาลีสบริหารงานโดยทาลีส อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นการร่วมทุนกันของบริษัทระหว่างประเทศ 4 ประเทศคือ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี

ไฟล์:โลโก้รถไฟทาลีส.gif

ประวัติการสร้าง

เส้นทางรถไฟทาลีส
อัมสเตอร์ดัม เซ็นทรัล
amsterdam
ท่าอากาศยานอัมสเตอร์ดัม ชิพโปล  
รอตเทอร์ดัม เซ็นทรัล
Rotterdam
พรมแดน เนเธอร์แลนด์-เบลเยี่ยม
แอนต์เวิร์ป
antwerp
อูสเตน
Ostend
Bruges
Ghent
เอสเซิน เซ็นทรัล
Essen
ดุยส์บูร์กเซ็นทรัล
Duisburg
ท่าอากาศยานดึสเซลดอร์ฟ  
ดึสเซลดอร์ฟ เซ็นทรัล
Düsseldorf
โคโลญ เซ็นทรัล
Cologne
อาเคินเซ็นทรัล
Aachen
พรมแดน เยอรมนี-เบลเยี่ยม
ลีแยฌ-กวิลเลมินส์
Liège
ท่าอากาศยานนานาชาติบรัสเซลล์  
บรัสเซลล์ เซาท์
Brussels
นาเมอร์
Namur
Charleroi
Mons
พรมแดน เบลเยี่ยม-ฝรั่งเศส
ปารีส นอร์ท
Paris

การตัดสินใจก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงระหว่างปารีส บรัสเซลส์ โคโลญ และอัมสเตอร์ดัมเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1993 เมื่อการรถไฟแห่งชาติฝรั่งเศส (NSCF), การรถไฟแห่งชาติเบลเยี่ยม (NMBS/SNCB), การรถไฟเนเธอแลนด์ (Dutch Railway) และบริษัทรถไฟแห่งชาติเยอรมนี (Deutsche Bahn) ได้ทำข้อตกลงที่จะให้บริการรถไฟความเร็วสูงร่วมกันในชื่อทาลีส [1] ปี ค.ศ. 1995 ได้มีการจัดตั้งบริษัท Westrail International โดยการรถไฟแห่งชาติฝรั่งเศสร่วมกันกับการรถไฟแห่งชาติเบลเยี่ยม ให้เป็นผู้ดูแลและให้บริการรถไฟทาลีส และเริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดยขบวนรถขบวนแรกวิ่งออกจากปารีส โดยใช้รางสาย LGV Nord ของฝรั่งเศสไป ถึงกรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 7 นาที และถึงสถานีอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ใช้เวลา 4 ชั่วโมง 47 นาที[2]

ปี ค.ศ. 1997 เส้นทางรถไฟ HLS 1 (Hight-Speed line 1 ) ของเบลเยี่ยม ซึ่งเป็นระบบรางที่เชื่อมต่อระหว่างบรัสเซลล์กับเส้นทางรถไฟ LGV Nord (Lignes à Grande Vitesse-Nord) ของฝรั่งเศสได้เปิดให้บริการ ด้วยระบบของรางเส้นทาง HLS 1 ที่อนุญาตให้รถไฟวิ่งได้ 300 กม./ชม. ทำให้่ย่นระยะเวลาการเดินทางจากปารีสถึงบรัสเซลล์เหลือ 1 ชั่วโมง 25 นาที ในช่วงเวลาไกล้เคียงกันนั่้นก็ได้เปิดให้บริการไปยัง โคโลญ ในเยอรมนี ไปยัง บรูช (Brugge) ชาร์เลอรัว (Charleroi) เกนต์ (Ghent) มงส์ (Mons) นาเมอร์ (Namur) และอูสเตนด์ (Oostend) ในเบลเยี่ยม

ปี ค.ศ. 1999 ได้เปิดให้บริการจากท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ตรงไปยังบรัสเซลล์ รวมถึงได้มีการทำ Code sharing กับสายการบินแอร์ฟรานซ์, อเมริกัน แอร์ไลน์ และสายการบินนอร์ทเวสท์ แอร์ไลน์ และในปีเดียวกันนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น ทาลีส อินเตอร์เนชั่นเนล

ปี ค.ศ. 2002 ได้ขยายการให้บริการไปถึงเมืองมาร์แซย์ (Marseille) และอาวีญง (Avignon) ในประเทศฝรั่งเศส ในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้น เส้นเส้นทางรถไฟ HLS 2 ของเบลเยี่ยมได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ทำให้ขบวนรถระหว่างบรัสเซลล์ และโคโลญได้เปลี่ยนไปใช้เส้นทางนี้แทน ปี ค.ศ. 2003 เปิดให้บริการไปยังท่าอากาศยานนานาชาติบรัสเซลล์ ปี ค.ศ 2007 การก่อสร้างเส้นทางรถไฟสาย HSL 3 ช่วงระหว่างเมืองลีแยฌ (Liège) และอาเคิน (Aachen) แล้วเสร็จ แต่ขบวนรถทาลีสยังไม่รองรับกับระบบให้สัญญาน ETCS (European Train Control System)

ปี ค.ศ. 2009 หลังจากปรับปรุงระบบรับสัญญานและทดสอบระบบให้เข้ากับ ETCS แล้ว ขบวนรถไฟทาลีสก็วิ่งอย่างสมบูรณ์แบบบนราง HSL 3 ทำให้ขบวนรถระหว่างบรัสเซลล์ และโคโลญ ย่นระยะเวลาเดินทางอีก 19 นาที และในปีเดียวกันนี้รถไฟทาลีส ก็ได้เริ่มให้บริการบนราง HSL4 หรือ HSL-South ซึ่งเป็นรางระหว่างเมืองแอนต์เวิร์ป (Antwerp) และอัมสเตอร์ดัม ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2011 เป็นต้นมาขบวนรถเดิมที่วิ่งระหว่างบรัสเซลล์ และโคโลญ ได้วิ่งไปถึงเมืองดุยส์บูร์ก (Duisburg) เอสเซิน (Essen) ในเยอรมนี[3]และวิ่งถึงท่าอากาศยานนานาชาติบรัสเซลล์ในเบลเยี่ยม[4] ปี ค.ศ. 2013 เริ่มให้บริการที่สถานีท่าอากาศยานดึสเซลดอร์ฟ (Düsseldorf) [5]

เส้นทางรถไฟของทาลีส

นอกจากบรัสเซลล์แล้ว เมืองใหญ่ที่ทาลีสให้บริการคือ แอนต์เวิร์ป รอตเทอร์ดัม อัมสเตอร์ดัม ลีแยฌ บรูช เกนต์ ชาเลอรัว อาเคิน และโคโลญ รถไฟทาลีสวิ่งบนระบบรางสำหรับรถไฟความเร็วสูงโดยเฉพาะด้วยความเร็ว 300 กม./ชม. แต่ก็มีบางช่วงที่วิ่งบนกับรางรถไฟเดิมร่วมกับรถไฟธรรมดาด้วยความเร็ว 160-200 กม./ชม. เส้นทางรถไฟหลักที่ทาลีสใช้คือ

  • HSL 1 ระหว่างปารีส และบรัสเซลล์
  • HSL 4/HSL-Zuid ระหว่างแอนต์เวิร์ป และอัมสเตอร์ดัม
  • HSL 2 และ HSL 3 ระหว่างบรัสเซลล์และอาเคิน และใช้ระบบรางของฝรั่งเศสการในบริการตามช่วงฤดูกาล

ได้มีแผนการให้บริการจากโคโลญ ถึงแฟรงค์เฟริต แต่ก็ล้มเลิกไปเนื่องจากรถไฟทาลีสไม่มีประสิทธิภาพพอ สำหรับระบบไฟฟ้า 15 กิโลโวลต์ (kV) ของเยอรมนี ดังนั้นจึงทำให้รถไฟทาลีสไม่สามารถวิ่งบนเส้นทางนี้[6][7]

สำหรับการเดินทางจากปารีสถึงบรัสเซลล์ ระยะทางประมาณ 300 กม. ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 22 นาที ด้วยความเร็วสูงสุด 300 กม./ชม. บนรางสำหรับรถไฟความเร็วสูงโดยเฉพาะ

 
โครงข่ายรางรถไฟในทวีปยุโรป

การเชื่อมต่อกับระบบรางของฝรั่งเศสไปยังท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ทำให้สายการบินแอร์ฟรานซ์ เปลี่ยนการให้บริการการบินระหว่างปารีสและบรัสเซลล์ มาร่วมให้บริการกับรถไฟทาลีสแทน[8] รถไฟทาลีสได้รับรหัสสายการบิน (IATA) คือ 2H นอกจากนี้ยังให้บริการร่วมกับสายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ และเดลต้า แอร์ไลน์ สายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ได้ร่วมทำสัญญา Code sharing กับรถไฟทาลีสในการให้บริการทางรางจากท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล สู่สถานีบรัสเซลล์ เซาท์ (Brussels-South) กลุ่มพันธมิตรสายการบินสกายทีม ยังได้ร่วมทำสัญญา Code sharing กับรถไฟทาลีสในการบริการทางรางจากศูนย์กลางการบิน (Hub) คือท่าอากาศยานอัมสเตอร์ดัม ชิพโปล ไปสถานีแอนต์เวิร์ป เซ็นทรัล และสถานีบรัสเซลล์ และล่าสุดคือสายการบินเจ็ท แอร์เวย์ ของอินเดียได้ทำ Code sharing กับรถไฟทาลีสในการให้บริการระหว่างปารีสและบรัสเซลล์ [9]

การเข้าถึงบริการของรถไฟทาลีส

รถไฟทาลีสให้บริการสำหรับผู้ที่ใช้วีลแชร์ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ของรถไฟทาลีสคอยช่วยเหลือ รถไฟทาลีสไม่อนุญาตให้นำจักรยานขึ้นบนรถไฟ ยกเว้นจะถอดแยกชิ้นส่วน หรือห่อให้เรียบร้อยก่อน จักรยานที่ทำการห่อเรียบร้อยแล้วสามารถนำขึ้นรถได้[10]

แบบของขบวนรถไฟทาลีส

รถไฟทาลีสใช้รถไฟ 2 แบบ ทั้งสองแบบเป็นชนิดเดียวกับรถไฟ TGV ผลิตโดยบริษัทอัลสทอม (Alstom) ในฝรั่งเศส

 แบบรถ  รูปภาพ  ชนิด   ความเร็วสูงสุด   จำนวน (ขบวน)   สร้างเมื่อปี   อื่นๆ 
 mph   km/h 
PBA   พ่วงหลายโบกี้โดยใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงาน 186 300[11] 9 1996 ใช้กระแสไฟฟ้า Tri-current, ให้บริการในเส้นทาง ปารีส-บรัสเซลส์-อัมสเตอร์์ดัม เท่านั้น
PBKA   พ่วงหลายโบกี้โดยใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงาน 186 300 17 1997 ใช้กระแสไฟฟ้า Quadri-current, ให้บริการจากปารีส-บรัสเซลส์-โคโลญ-อัมสเตอร์ดัม เท่านั้น

อุบัติการณ์และอุบัติเหตุ

วันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 ได้มีรถบรรทุกขวางทางขบวนรถไฟทาลีส PBKA บนทางข้ามที่ไม่มีที่กั้น รถบรรทุกพยายามที่จะข้ามรางรถไฟตอนที่รถไฟมาถึง คนขับรถบรรทุกเสียชีวิตจากการชน อุปกรณ์แปลงไฟของรถ 1 ใน 2 อันได้รับความเสียหาย ขบวนรถไฟได้รับความเสียหายอย่างหนัก ผู้โดยสาร 6 คนได้รับบาดเจ็บ รางและระบบส่งไฟได้รับความเสียหาย รถพ่วง R1 และ R2 เสียหายและไม่สามารถซ่อมได้จึงต้องทิ้งไป ส่วนที่เหลือได้รับการซ่อมแซม และนำขบวนรถพ่วง R1 และ R2 จากรถไฟ TGV มาพ่วงต่อ

วันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2008 ขบวนรถไฟทาลีส PBA ที่มุ่งหน้าไปอัมสเตอร์ดัม ได้ชนกับขบวนรถท้องถิ่น ICM ที่สถานีเกาด้า (Gouda Railway station) ในเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากรถไฟทาลีสได้ถูกสับรางที่สถานีเกาด้าเพราะการซ่อมรางหลัก ไม่มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บรุนแรง แต่ขบวนรถไฟทั้งสองขบวนเสียหายอย่างหนัก ภายหลังการสืบสวนสรุปว่า เจ้าหน้าที่ของขบวนรถท้องถิ่น ICM ผิดเพราะวิ่งออกจากชานชาลาในขณะที่ยังไม่ได้สัญญานไฟเขียว [12][13]


อ้างอิง

  1. Thalys (1976-1995)train: economic development drive
  2. | ประวัติของทาลีส
  3. เฮิรมเซน,สเตฟาน (ภาษาเยอรมัน)connects the Ruhr area with Paris
  4. หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นประเทศเบลเยี่ยม[http://www.lalibre.be/economie/actualite/article/685230/brussels-airport-a-1h47-de-paris-via-thalys.html%7CBrussels Airport 1h47 away from Paris with Thalys
  5. ตารางเดินรถไฟทาลีส ฤดูหนาวปี 2013 [1]
  6. http://www.railfaneurope.net/list/germany/germany_db_fv.html%7Crailfaneurope.net (7 มีนาคม 2009)]
  7. อเลน จูเนสส์,มิเชล โรลลิน (ภาษาฝรั่งเศส)motorisation du TGV POS วันที่2004-03
  8. หนังสือของสำนักงานความรับผิดชอบรัฐบาลสหรัฐอเมริกา,สนพ.DIANE,1994 หัวข้อ Intermodal Transportation หน้า 27 isbn = 1-4289-3337-9
  9. http://in.news.yahoo.com/jet-airways-forms-air-rail-code-share-thalys-124248337.html
  10. Thalys Trains, European Trains | Rail Europe
  11. Gazette: Manufacturers must share the risk
  12. เว็บไซต์ nu.nl,accident [2]
  13. Goudaivwrapport[3]