พลระห่ำสงครามนรก

ภาพยนตร์ ปี 2548 กำกับโดยแซม เมนเดส

พลระห่ำสงครามนรก (อังกฤษ: Jarhead) เป็นภาพยนตร์ดรามาชีวประวัติและสงครามของอเมริกันในปี พ.ศ. 2548 สร้างขึ้นมาจากบันทึกความทรงจำในชื่อจาร์เฮด เช่นเดียวกับชื่อหนังเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดย แอนโทนี สวอฟฟอร์ด เล่าเกี่ยวกับเรื่องราวของการรับราชการทหารในเหล่านาวิกโยธินสหรัฐ ระหว่างช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งกำกับโดย แซม เมนเดส นำแสดงโดย เจค จิลเลินฮาล รับบทเป็น สวอฟฟอร์ด ร่วมกับ เจมี ฟ็อกซ์, ปีเตอร์ ซาร์สการ์ด, ลูคัส แบล็ค และ คริส คูเปอร์

พลระห่ำสงครามนรก
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับแซม เมนเดส
บทภาพยนตร์วิลเลียม บรอยส์เลส จูเนียร์
สร้างจากจาร์เฮด
โดย แอนโทนี สวอฟฟอร์ด
อำนวยการสร้างดักลาส วิค
ลูซี่ ฟิชเชอร์
นักแสดงนำ
กำกับภาพโรเจอร์ ดีกิ้นส์
ตัดต่อวอลเตอร์ เมิร์ช
ดนตรีประกอบโธมัส นิวแมน
บริษัทผู้สร้าง
เรดวากอน โปรดักชั่นส์
นีล สตรีท โปรดักชั่นส์
ผู้จัดจำหน่ายยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์
วันฉาย
  • 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 (2005-11-04)
ความยาว123 นาที
ประเทศสหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง72 ล้านดอลลาร์
ทำเงิน97.1 ล้านดอลลาร์[1]

ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์ เปิดตัวภาพยนตร์เรื่องนี้เมื่อวันที่ 4 พฤษจิกายน พ.ศ. 2548 โดยได้รับคำวิจารณ์ที่หลากหลายและทำรายได้ในบ็อกออฟฟิศที่ค่อนข้างน่าผิดหวัง เนื่องจากทำรายได้เพียง 97 ล้านดอลลาร์สหรัฐเทียบกับ 72 ล้านดอลดาร์สหรัฐ

ชื่อของเรื่องตั้งมาจากคำแสลงทางการทหารในหมูนาวิกโยธินสหรัฐ แปลว่าพวกไอเณร หรือพวกทหารหัวเกรียน[2] และท้ายที่สุดภาพยนตร์ชุดนี้ได้ถูกบรรจุลงแพลตฟอร์มซีดี กลายเป็นหนังแผ่น โดยมีเรื่องราวเพิ่มเติมอีก 3 ภาค กลายเป็น 3 เรื่องที่ใช้ชื่อชุดเดียวกันแต่ไม่มีความเชื่อมโยงกันเลย

โครงเรื่อง

แก้

ในปี พ.ศ. 2532 แอนโธนี "สวอฟฟ์" สวอฟฟอร์ด ซึ่งมีบิดาเป็นทหารผ่านศึกในสงครามเวียดนาม (พ.ศ. 2504–2518) มาก่อน เขาได้เข้าร่วมการคัดเลือกและฝึกเป็นนาวิกโยธินสหรัฐ และเข้าประจำการที่ค่ายเพนเดิลตัน รัฐแคลิฟอร์เนีย สวอฟฟอร์ดอ้างว่าเขาสมัครเข้าร่วมนาวิกโยธินเพราะ "เดินหลงทางระหว่างไปมหาวิทยาลัย" เขาใช้ชีวิตอย่างยากลำบากในช่วงเวลาที่ผ่านพ้นไปทั้งเรื่องการพยายามเข้าสังคมและการปรับตัว แม้ว่าเขาจะชอบแกล้งป่วยเพื่อหลีกเลี่ยงหน้าที่รับผิดชอบของเขาบ่อยๆ ก็ตาม แต่จ่าสิบเอกไซค์ส ได้มองเห็นศักยภาพในตัวของเขาและยื่นโอกาสให้กับเขาในการเข้าร่วมหลักสูตรพลแม่นปืน

หลังจากการฝึกฝนอย่างหนัก ทหารจำนวนแปดนายได้สำเร็จการฝึกหลักสูตรพลแม่นปืน โดยหนึ่งในนั้นคือสวอฟฟอร์ด ซึ่งอยู่ในตำแหน่งพลยิง และสิบโท อลัน ทรอย เพื่อนร่วมห้องของเขาได้มาเป็นพลชี้เป้าให้กับเขา ต่อมาเมื่อคูเวตถูกรุกรานโดยอิรัก หน่วยของสวอฟฟอร์ดก็ถูกส่งเข้าไปประจำการในพื้นที่คาบสมุทรอาหรับโดยเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการดีเซิร์ทชีลด์ ในสงครามอ่าว (พ.ศ. 2533–2534) ด้วยความกระหายในการรบ เหล่านาวิกโยธินพบว่าตนเองกลับต้องเบื่อหน่ายอยู่กับการฝึกซ้อม การฝึกยุทธวิธีเสริม ภารกิจประจำวัน และงานในความรับผิดชอบอยู่เป็นประจำจนเกิดความเบื่อหน่าย ทำให้หลายคนพูดถึงเรื่องแฟนสาวและภรรยาของพวกตนที่รออยู่ที่บ้าน พวกเขายังสร้างบอร์ดข่าวที่มีรูปถ่ายพร้อมกับคำอธิบายความผิดและการนอกใจต่าง ๆ ของพวกเธอที่พวกเขาจับได้หรือรับรู้ (รู้จักกันในคำสแลงทางทหารว่า กำแพงโจดี้)

สวอฟฟอร์ดได้ลักลอบนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาจัดปาร์ตี้คริสต์มาส และให้เฟอร์กัสดูต้นทางเพื่อเฉลิมฉลอง ฟอร์กัสจุดไฟเผาเต็นท์โดยไม่ได้ตั้งใจในขณะปรุงไส้กรอกทำให้พลุไฟระเบิดขึ้น ปลุกคนทั้งค่ายให้ตื่นขึ้น ซึ่งทำให้จ่าสิบเอกไซค์สโกรธมาก แทนที่เขาจะโยนความผิดให้ฟอร์กัส เขากลับรับความผิดไว้ด้วยตัวเอง เขาจึงถูกลดตำแหน่งลงจากสิบตรีเป็นพลทหาร และได้รับหน้าที่ในการเผาเศษของอุจาระจากห้องน้ำเพื่อทำลายของเสีย ผลจากการถูกลงโทษ ความเบื่อหน่าย ความเครียด และความสงสัยในใจของเขาว่าแฟนของเขาได้นอกใจไปเช่นกัน ทำให้เขาสติแตกจนไปขู่ฟอร์กัสด้วยปืนไรเฟิลแล้วขอให้ยิงเขาด้วยไรเฟิลนั้น

ต่อมา ปฏิบัติการพายุทะเลทรายได้เริ่มขึ้น หน่วยนาวิกโยธินได้ถูกส่งกำลังไปยังพรมแดนซาอุดิอาระเบียและคูเวต สวอฟฟอร์ดได้รู้ข้อมูลจากจ่าไซค์สว่าทรอยปกปิตประวัติอาชญากรรมของเขาก่อนสมัครเข้ามาเป็นทหาร ทำให้เมื่อเดินทางกลับไปจะต้องถูกปลดประจำการ โดยทรอยเริ่มทำตัวเหินห่างจากเพื่อน ๆ ในหน่วย เมื่อทุกคนรู้ว่าทรอยจะสมัครเข้ามาประจำการใหม่อีกไม่ได้แล้ว เพื่อนนาวิกจึงจู่โจมใส่เขาและประทับตรา USMC เหล็กร้อนแดงลงบนตัวของทรอย เพื่อประทับตราว่าทรอยก็เป็นหนึ่งในพวกเขาเหล่านาวิกโยธินแล้ว จากนั้นหลังจากเหตุการณ์โจมตีทางอากาศในพวกเดียวกันเอง นาวิกโยธินได้เคลื่อนพลรุกคืบผ่านดินแดนของทะเลทราย โดยไม่พบกับกองกำลังของศัตรูบนภาคพื้นดินเลย จนกระทั่งเคลื่อนพลผ่าน "ทางหลวงแห่งความตาย" อันโด่งดัง (ถนนที่ทางเหนือมุ่งหน้าไปยังอิรักจากเมืองหลวงของคูเวต) ซึ่งเต็มไปด้วยซากของยานพาหนะที่ถูกไฟไหม้และศพของทหารอิรักที่กำลังล่าถอยที่ไหม้เกรียม ซึ่งเป็นผลมาจากการทิ้งระเบิด ต่อมาหน่วยนาวิกโยธิได้เคลื่อนพลไปจนเห็นบ่อน้ำมันของคูเวตซึ่งกำลังลุกไหม้อยู่ไกล ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการล่าถอยของอิรัก พวกเขาพยามขุดหลุมเพื่อหลับพักผ่อนในขณะที่มีฝนน้ำมันดิบตกลงมาจากท้องฟ้าซึ่งมาจากการเผาบ่อน้ำมัน โดยก่อนพวกเขาจะขุดเสร็จ จ่าไซค์ได้สั่งให้ทีมของพวกเขาเคลื่อนที่ไปต่อให้พ้นจากแนวฝนน้ำมันดิบเนื่องจากลมเปลี่ยนทิศ

ในช่วงท้ายของสงคราม ในที่สุดสวอฟฟอร์ทและทรอยได้รับภารกิจในการลอบสังหาร โดยพันโทคาซินสกี้ ผู้บังคับกองพันของเขาสั่งการให้ลอบสังหารเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยรีพับลิกกันการ์ดอย่างน้อยหนึ่งหรือสองคนในสนามบินบริเวณใกล้เคียงหน่วยของเขา ในวินาทีสุดท้ายที่สวอฟฟอร์ดจะยิง พันตรีลินคอล์นก็ขัดจังหว่ะเขา และเปลี่ยนไปใช้การโจมตีทางอากาศแทน ทรอยขอร้องที่จะสังหารเป้าหมายนี้ แต่ถูกปฏิเสธ และสั่งให้โจมตีทางอากาศ ทำให้สวอฟฟอร์ดและทรอยผิดหวังอย่างมาก และเขาไม่ได้ใช้ไรเฟิลของเขายิงใครเลยตลอดสงครามจนสิ้นสุด เขาพูดกับตัวเองว่าการฝึกของเขาทั้งหมดเพื่อที่จะได้จบหลักสูตรมาเป็นพลแม่นปืนนี้แทบไม่มีความหมายเลยในสงครามสมัยใหม่นี้

เหล่านาวิกโยธินเดินทางกลับมาบ้านด้วยรถบัสซึ่งมีนาวิกโยธินยุคสงครามเวียดนามมายินดีกับพวกเขา ซึ่งพวกเขารู้สึกได้ถึงความอึดอัดบางอย่างของชายคนนั้นและขอติดรถไปด้วย พร้อมทั้งมีขบวนแห่ไปทั่วทั้งเมืองเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะ สวอฟฟอร์ดกลับบ้านไปหาครอบครัวและแฟนสาวของเขา และพบว่าเธอมีแฟนใหม่ไปแล้ว ฟาวเลอร์อยู่กับโสเภณีในบาร์ ซึ่งปัจจุบันมียศสิบตรี ครูเกอร์ในห้องประชุมของบริษัท เอสโกบาร์เป็นพนักงานในซุปเปอร์มาร์เก็ต คอร์เทซเป็นพ่อของลูกสามคน และไซค์สยังคงรับราชการทหารเป็นพันจ่าโทในสงครามอิรัก จนกระทั่งเฟอร์กัสได้มาแจ้งข่าวการจากไปของทรอยอย่างไม่คาดคิด ในงานศพของทรอย เพื่อน ๆ ที่ร่วมรบกันในครั้งนั้นได้กลับมาพบกันอีกครั้งและได้รำลึกถึงผลกระทบของสงครามที่เกิดกับพวกเขา

นักแสดง

แก้
  • เจค จิลเลินฮาล รับบทเป็น สิบตรี / พลทหาร / สิบโท แอนโธนี สวอฟฟอร์ด
  • สก็อตต์ แม็กโดนัลด์ รับบทเป็น ครูฝึก ฟิทช์
  • ปีเตอร์ ซาร์สการ์ด รับบทเป็น สิบโท อลัน ทรอย
  • เจมี ฟ็อกซ์ รับบทเป็น จ่าสิบตรี ไซค์ส
  • ลูคัส แบล็ค รับบทเป็น สิบตรี คริส ครูเกอร์
  • ไบรอัน เจอรักตี้ รับบทเป็น สิบตรี เฟอร์กัส โอ'ดอนเนลล์
  • เจคอบ วาร์กัส รับบทเป็น สิบตรี ฮวน คอร์เตซ
  • ลาซ อาลอนโซ่ รับบทเป็น สิบตรี รามอน เอสโกบาร์
  • จอคโกะ ซิมส์ รับบทเป็น จูเลียส
  • อีวาน โจนส์ รับบทเป็น สิบตรี เดฟ ฟาวเลอร์
  • คริส คูเปอร์ รับบทเป็น พันโท คาซินสกี้
  • เดนนิส เฮย์สเบิร์ท รับบทเป็น พันตรี ลินคอล์น
  • จอห์น คราซินสกี รับบทเป็น สิบโท แฮร์ริแกน
  • เจมี มาร์ตซ์ รับบทเป็น ฟอสเตอร์
  • รินี เบลล์ รับบทเป็น น้องสาวของสวอฟฟ์
  • บริแอนน์ เดวิส รับบทเป็น คริสตินา

ลีโอนาร์โด ดิแคพรีโอ และ โทบีย์ แมไกวร์ เคยได้รับการพิจารณาให้มารับบทของแอนโทนี่ สวอฟฟอร์ด[3]

กระแสตอบรับ

แก้

สำหรับ รอตเทนโทเมโทส์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้คะแนน 61% จากผู้วิจารณ์ 201 ราย โดยมีเรตติ้งเฉลี่ย 6.40/10 โดยข้อสรุปของเว็บไซต์ระบุว่า "เรื่องราวมุมมองบุคลคที่หนึ่งของสงครามอ่าวนี้ ได้คะแนนในด้านของการแสดงและการถ่ายทำภาพยนตร์ แต่ขาดแรงผลักดันร่วมทางอารมณ์"[4] ในขณะที่ โรเจอร์ อีเบิร์ต ให้คะแนนภาพยนตร์เรื่องนี้สามดาวครึ่งจากสี่ดาว โดยให้เครดิตในส่วนของการถ่ายทอดภาพของนาวิกโยธินในสงครามอ่าวที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวในส่วนของการต่อสู้กับความเบื่อหน่ายและความโดดเดี่ยว มากกว่าการต่อสู้กับศัตรูในสงคราม[5] ส่วนเอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี ให้คะแนนภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ B+ และ โอเวน เกลเบอร์แมน ได้เขียนว่า

พลระห่ำสงครามนรก ไม่ได้เป็นภาพยนตร์การเมืองอย่างโจ่งแจ้ง แต่เป็นด้วยการปลุกเร้าความไร้ประโยชน์ที่เกือบจะเหนือความเป็นจริงของผู้ชายที่มีความปรารถนาในชัยชนะผ่านการปฏิบัติ แต่ถูกกลบบังด้วยยุทธวิธี ภูมิประเทศ และศีลธรรมของสงครามของสงครามที่พวกเขาต้องเผชิญ ซึ่งมันสร้างเสียงสะท้อนที่ทรงพลังและยังเป็นอยู่ในทุกวันนี้[6]

สำหรับบทวิจารณ์ของสตีเฟน ฮันเตอร์ ใน เดอะวอชิงตันโพสต์ ยกย่องการแสดงของเจค จิลเลินฮาล ที่ไม่ได้โชวออฟมากไปต่อหน้ากล้อง และไม่ได้รู้สึกอิจฉาเวลาคนอื่นได้อยู่หน้ากล้องแทนเขา เขาพอใจในบทบาทที่เป็นและทำหน้าที่เป็นเหมือนปริซึมที่คอยสะท้อนภาพของชายหนุ่มคนอื่น ๆ ที่คอยเฝ้ามองสิ่งเหล่านั้น[7] เลสลี เฟลเพริน จาก นิตยสาร Sight and Sound เขียนว่า ถ้าไม่มีอะไรอย่างอื่น พลระห่ำสงครามนรกก็เป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอเกี่ยวกับสงครามที่เรายังไม่เข้าใจถึงผลที่ตามมา สงครามที่ตอนนี้กลายเป็นประวัติศาสตร์ด้วยภาคต่อหลังจากนั้นที่ยังคงโหมกระหน่ำไฟสงครามนั้นอยู่[8] ยูเอสเอทูเดย์ ให้ภาพยนตร์เรื่องนี้สามดาวจากสี่ดาวและเขียนว่า สิ่งที่เราเหลือไว้ที่นั่นนั้นแข็งแกร่ง แต่ไม่ได้มีอะไรพิเศษมากนัก แม้ว่าจะเป็นเรื่องดีที่เมนเดสได้เติบโตขึ้นในฐานะผู้สร้างภาพยนตร์[9] ริชาร์ด ชิกเกล ใน ไทม์ เขียนว่า แต่ภาพยนตร์ที่ดีที่สุด—และเรื่องนี้ แม้ว่าเรื่องราวมันจะเกิดขึ้นอย่างยาวนานและซ้ำซากในหมู่ของพวกเขา—ให้ถือว่าชายเหล่านั้นได้ต่อสู้ (หรือในกรณีที่พร้อมที่จะต่อสู้) ไม่ใช่เพื่อเหตุผลหรืออุดมการณ์ แต่เพื่อความอยู่รอด[10]

อย่างไรก็ตาม เอ. โอ. สก็อตต์ ใน เดอะนิวยอร์กไทมส์ เขารู้สึกว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ เต็มไปด้วยความเข้มข้นของหนังแต่ไม่มีผลกระทบกับร่างกายผู้ดูเลย และเรียกมันว่า ภาพยนตร์รองเกี่ยวกับสงครามรอง ที่ให้ความรู้สึกขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง[11] เคนเน็ธ ทูราน ได้เขียนบทวิจารณ์ใน ลอสแอนเจลิสไทมส์ ว่า

มันคือพื้นผิวที่ขัดเงาและสไตล์ระดับมืออาชีพของมัน ยังไม่สามารถแข่งได้กับความเป็นจริงที่กล้าหาญที่ถ่ายทอดผ่านสารคดี เช่น Gunner Palace และ Occupation: Dreamland — หรือที่ดีกว่านั้น ในภาพยนตร์ตลกร้ายแนวเหนือจริงของ เดวิด โอ. รัสเซล เรื่อง ฉกขุมทรัพย์มหาภัยขุมทอง — ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเป็นทหารในอิรักเป็นอย่างไร[12]

ข้อถกเถียง

แก้

บทความของ เดอะนิวยอร์กไทมส์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เดวิด คารร์ นักเขียนและทหารผ่านศึกได้ตั้งข้อสังเกตว่าบางส่วนของโครงเรื่องภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ถูกนำมาจากหนังสือของเขาเมื่อปี พ.ศ. 2545 ที่ชื่อว่า Baghdad Express: A Gulf War Memoir โดยไม่ได้รับการยินยอมจากเขา ในขณะที่ผู้เขียนบทภาพยนตร์ วิลเลียม บรอยส์เลส จูเนียร์ ได้ออกมาโต้ตอบข้อกล่าวหานั้นว่าเรื่องเล่านั้นอาจจะมีความกล้ายคลึงกันอันเนื่องมาจากประสบการณ์ร่วมกันของการประจำการเป็นนาวิกโยธินเหมือนกัน[13]

รางวัลที่เข้าชิง

แก้
ปี พ.ศ. รางวัล สาขา ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผล
2558 10th Satellite Awards นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม - ดรามา เจค จิลเลินฮาล เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม – ดราม่า ปีเตอร์ ซาร์สการ์ด เสนอชื่อเข้าชิง
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม – ดัดแปลง วิลเลียม บรอยส์เลส จูเนียร์ เสนอชื่อเข้าชิง
ลำดับภาพยอดเยี่ยม วอลเตอร์ เมิร์ช เสนอชื่อเข้าชิง
Washington D.C. Area Film Critics Association Awards 2005 นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ปีเตอร์ ซาร์สการ์ด เสนอชื่อเข้าชิง

ภาคต่อ

แก้

ภาพยนตร์เรื่องนี้ประกอบด้วยภาคต่อแบบหนังแผ่น จำนวน 3 ภาคได้แก่ จาร์เฮด พลระห่ำสงครามนรก 2 (Field of Fire) (พ.ศ. 2557), จาร์เฮด พลระห่ำสงครามนรก 3 (The Siege) (พ.ศ. 2559) และ จาร์เฮด: Law of Return (พ.ศ. 2562) โดยทั้งสามภาคนั้นแตกต่างจากภาคแรกโดยสิ้นเชิง และเนื้อเรื่องไม่เกี่ยวข้องกับต้นฉบับแต่อย่างใด[14]

อ้างอิง

แก้
  1. "Jarhead (2005)". Box Office Mojo. IMDb. Retrieved 2020-09-29.
  2. "Jarhead - มีอะไรในหัว "ไอ้เณร"". ประชาไท.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "Jarhead". EW.com.
  4. "Jarhead". Rotten Tomatoes. Fandango. สืบค้นเมื่อ July 24, 2021.
  5. Ebert, Roger (2005-11-04). "Jarhead :: rogerebert.com :: Reviews". Chicago Sun-Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-24. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
  6. Gleiberman, Owen (2005-11-02). "'Jarhead' Review". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-18. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
  7. Hunter, Stephen (2005-11-04). "'Jarhead': A Platoon Full of Sand And Grit". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
  8. Felperin, Leslie (January 2006). "The Longest Days". Sight and Sound. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-11. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
  9. Clark, Mike (2005-11-04). "A few good men give 'Jarhead' a solid feel". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
  10. Schickel, Richard (2005-11-02). "In the Eye of Desert Storm". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 6, 2005. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
  11. Scott, A.O. (2005-11-04). "Soldiers in the Desert, Antsy and Apolitical". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
  12. Turan, Kenneth (2005-11-04). "Jarhead". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29. [ลิงก์เสีย]
  13. Carr, David (2005-11-09). "Jarhead: Whose Stories Are They?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2010-05-05.
  14. "A Look at the Jarhead Series (2005-2019)". The Action Elite (ภาษาอังกฤษ). 12 November 2019. สืบค้นเมื่อ 29 September 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้