พรานบูรพ์

(เปลี่ยนทางจาก พรานบูรณ์)

พรานบูรพ์ หรือ จวงจันทร์ จันทร์คณา (29 มีนาคม พ.ศ. 2444 - 6 มกราคม พ.ศ. 2519) นักแต่งเพลงไทย เป็นคนแรกผู้ปฏิรูปรูปแบบเพลงไทยประกอบละครร้อง จากท่วงทำนองเพลงไทยเดิมที่มีลูกเอื้อนให้มีลักษณะสากลยิ่งขึ้น อาจกล่าวว่า พรานบูรพ์คือผู้ริเริ่มเพลงไทยสากลก็ได้ มีผลงานสร้างชื่อเสียงคือ ละครร้องเรื่อง "จันทร์เจ้าขา" และ "โรสิตา"

พรานบูรพ์

วัยต้น

แก้

จวงจันทร์ จันทร์คณาเป็นบุตรของหลวงราชสมบัติ (จันทน์) นายอำเภอเมือง และนางสร้อย เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2444 ที่ อ.เมือง จังหวัดเพชรบุรีมีน้องสาวร่วมบิดา มารดา 1 คน คือ "นางสังวาลย์ มณิปันตี" (ถึงแก่กรรม) เนื่องจากบิดาเป็นข้าราชการ ซึ่งต้องโยกย้ายไปรับราชการตามต่างจังหวัดต่าง ๆ เมื่อเติบวัยที่จะเข้าศึกษาได้ บิดาได้ย้ายมาจังหวัดราชบุรี จึงได้เข้าเรียนหนังสือที่"วัดสัตนาถ" จังหวัดราชบุรี เรียนอยู่ได้ไม่นานบิดาก็ถึงแก่กรรม ขณะนั้นมีอายุได้ 7 ปี มารดาได้พากลับบ้านเดิมที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้เรียนหนังสือต่อจนอายุได้ 11 ปี จึงได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบนั้น นอกจากจะได้รับเลือกเข้าเล่นฟุตบอลในทีมโรงเรียนแล้ว ยังสามารถเล่นยูโด และไวโอลินได้ดีอีกด้วย

เมื่อจบชั้น ม.8 จากโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ได้เข้าศึกษาต่อที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นนายอำเภอ แต่อาจารย์เห็นว่าตัวเล็กจะเป็นนายอำเภอคงไม่เหมาะ จึงย้ายคณะไปเรียนวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อเรียนถึงปี 2 มารดาถึงแก่กรรม และไม่มีทุนเรียนต่อ จึงออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วัยหนุ่ม

แก้

เมื่อออกจากมหาวิทยาลัย กำลังเป็นระยะที่คณะละครราตรีพัฒนา เดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา จึงได้เริ่มชีวิตละครด้วยการบอกบทหลังฉาก ขณะเดียวกันก็เขียนบทกวีในนาม "อำแดงขำ" เรื่องอ่านเล่นในนามปากกา "รักร้อย" และเริ่มแต่งบทละครเรื่อง "ทะแกล้วทหารสามเกลอ" ขึ้นเป็นเรื่องแรก ได้รับผลสำเร็จอย่างดี จนได้เป็นผู้แต่งบทละครและกำกับการแสดงเอง เริ่มใช้นามปากกา "พรานบูรพ์" ครั้งแรก เมื่อเขียนเรื่อง "เหยี่ยวทะเล"

จวงจันทร์ จันทร์คณาเป็นผู้ริเริ่มดัดแปลงเพลงในละครร้องที่มีลูกคู่ร้องรับ มาสู่แบบสากล เนื่องจากยุคนั้นมีลูกคู่ยืดยาดเกินควร จึงใส่เนื้อร้องเต็มหรือตัดให้กระชับแทนลูกคู่ ใช้ดนตรีคลอ และใช้เครื่องดนตรีฝรั่งบรรเลงแทนเครื่องพิณพาทย์ลาดตะโพนฉับแกระ จนเป็นที่นิยมกันมาก

เมื่อคณะละครราตรีพัฒนาระงับการแสดงเพราะเจ้าของมีภารกิจทางด้านโรงภาพยนตร์เพิ่มขึ้น จึงเข้าทำงาน น.ส.พ.ประจำกองบรรณาธิการเดลิเมล์รายวัน เขียนเรื่องสั้น เรื่องยาว และบทพากย์การ์ตูนใน "น.ส.พ.เดลิเมล์วันจันทร์"

ต่อมาได้จัดตั้งคณะละครชื่อ "ศรีโอภาส" ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "จันทโรภาส" ละครที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือเรื่อง "จันทร์เจ้าขา" ซึ่งถ่ายทำเป็นภาพยนตร์ เมื่อ พ.ศ. 2499 แสดงนำโดย "เจือ จักษุรักษ์", "สายสนม นางงามเพชรบุรี" และ "น้อย จันทร์คณา"

 
หุ่นขี้ผึ้งพรานบูรพ์ จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย

ผลงานบทภาพยนตร์

แก้
  • ในสวนรัก (2481) สร้างโดย บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง
  • อ้ายค่อม (2481) สร้างโดย บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง
  • ค่ายบางระจัน (2482) สร้างโดย บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง
  • สนิมในใจ (2482) สร้างโดย บูรพาศิลป์ภาพยนตร์
  • สามหัวใจ (2482) สร้างโดย บูรพาศิลป์ภาพยนตร์
  • แผลเก่า (2483) สร้างโดย บูรพาศิลป์ภาพยนตร์
  • ไม่เคยรัก (2483) สร้างโดย บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง
  • วังหลวงวังหลัง (2493)

ผลงานกำกับภาพยนตร์

แก้

ผลงานประพันธ์เพลง

แก้
  • กุหลาบร่วง (2476) ขับร้อง รุจี อุทัยกร
  • กล้วยไม้ ขับร้อง องุ่น เครือพันธุ์
  • กระแจะจันทร์
  • อยากจะรักสักครั้ง
  • ชื่นใจ ขับร้อง พรานบูรพ์
  • ในสวนรัก (ภาพยนตร์ ในสวนรัก 2481)
  • ลอยคอ (ภาพยนตร์ ในสวนรัก 2481)
  • ข้างบ้านเรือนเคียง ขับร้อง พรานบูรพ์ (ภาพยนตร์ ใครผิดใครถูก 2482)
  • ขวัญของเรียม (ภาพยนตร์ แผลเก่า 2483) ขับร้อง ส่งศรี จันทรประภา
  • หัวใจและความรัก (ภาพยนตร์ ไม่เคยรัก 2483)
  • บุปผากับภมร (ภาพยนตร์ ไม่เคยรัก 2483)
  • สายสวาท (ภาพยนตร์ ไม่เคยรัก 2483)
  • จันทร์เจ้าขา (ภาพยนตร์ จันทร์เจ้าขา 2499)
  • นารีต้องมีผัว (ภาพยนตร์ เกาะสวาทหาดสวรรค์ 2512)
  • กล้วยไม้ลืมดอย (2477)
  • กระแจะจันทร์
  • อยากจะรักสักครั้ง
  • นารีต้องมีผัว (ภาพยนตร์เรื่อง เกาะสวาทหาดสวรรค์ 2512)
  • ลาชั่วคืน ขับร้อง ศรีสุดา รัชตะวรรณ มาริษา อมาตยกุล วรนุช อารีย์
  • จันทร์สวาท ขับร้อง ชรินทร์ นันทนาคร
  • จันทร์จากฟ้า ขับร้อง เพ็ญศรี พุ่มชูศรี
  • จันทร์ลอย ขับร้อง เพ็ญศรี พุ่มชูศรี
  • ทะวายต็ม ขับร้อง เพ็ญศรี พุ่มชูศรี
  • น้ำผึ้งรวง ขับร้อง เพ็ญศรี พุ่มชูศรี
  • เคียงเรียม ขับร้อง ชรินทร์ นันทนาคร
  • สั่งเรียม ขับร้อง ชรินทร์ นันทนาคร
  • ช้ำ ช้ำ ขับร้อง ชรินทร์ นันทนาคร
  • ต้นข้าวคอยฝน ขับร้อง ชรินทร์ นันทนาคร/เพ็ญศรี พุ่มชูศรี
  • เดือนดวงเดืยว ขับร้อง สุเทพ วงศ์กำแหง
  • หวลให้ใจหาย ขับร้อง สุเทพ วงศ์กำแหง
  • คนเห็นคน ขับร้อง สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์/เพ็ญศรี พุ่มชูศรี
  • สูงสุดสอย ขับร้อง สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์/เพ็ญศรี พุ่มชูศรี
  • ฉันรักเธอ ขับร้อง สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์/เพ็ญศรี พุ่มชูศรี
  • ต้นรักดอกโศก ขับร้อง สวลี ผกาพันธุ์

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้