โสดาบัน
(เปลี่ยนทางจาก พระโสดาบัน)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
โสดาบัน (บาลี: Sotāpanna, โสตาปนฺน) แปลว่า ผู้แรกถึงกระแสธรรม (แห่งพระนิพพาน) ถือเป็นอริยบุคคลระดับแรกใน 4 ระดับ คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์[1]
การละสังโยชน์แก้ไข
โสดาบัน ละสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ประการคือ
- สักกายทิฏฐิ (กา-ยะ-) คือ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตนเป็นอัตตาทิฎฐิ เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน
- วิจิกิจฉา (กิด-) คือ ความสงสัยในพระรัตนตรัย และในกุศลธรรมทั้งหลาย
- สีลัพพตปรามาส (ลับ-พะ-ตะ-ปะ-รา-มาด) คือ ความยึดมั่นในข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ที่เข้าใจว่าเป็นข้อปฏิบัติที่บริสุทธิ์หลุดพ้น เป็นมิจฉาทิฏฐิ เช่น การประพฤติวัตรอย่างโค การนอนบนหนามของพวกโยคี เป็นต้น
การบรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลมิได้จำกัดอยู่เฉพาะเพศบรรพชิต (นักบวช) เท่านั้น แม้แต่คฤหัสถ์ก็สามารถบรรลุเป็นอริยบุคคลได้ ผู้บรรลุโสดาบันที่มีชื่อเสียงก็มีจำนวนมากได้แก่ นางวิสาขามหาอุบาสิกา อนาถบิณฑิกเศรษฐี พระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น
ประเภทแก้ไข
โสดาบัน แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้[1]
- เอกพีชี (เอ-กะ-) ผู้มีพืชคืออัตตภาพอันเดียว ก็จะบรรลุเป็นอรหันต์
- โกลังโกละ ผู้ไปจากสกุลสู่สกุล คือจะมาเกิดอีกเพียง 2-3 ชาติเท่านั้น แล้วจะได้สำเร็จเป็นอรหันต์
- สัตตักขัตตุงปรมะ (ปะ-ระ-) ผู้มีเจ็ดครั้งเป็นอย่างยิ่ง คือจะต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอีกไม่เกิน 7 ชาติ ก็จะได้บรรลุธรรมเป็นอรหันต์ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
การที่โสดาบันแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังที่เพราะว่าอินทรีย์ 5 ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สมาธิ สติ และปัญญา แก่กล้าแตกต่างกัน ผู้ที่อินทรีย์ 5 ถึงความแก่รอบสม่ำเสมอ ก็สามารถบรรลุผลได้อย่างรวดเร็ว โสดาบันประเภทนี้เอกพีชีโสดาบัน
ตัวอย่างบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลในพุทธกาลแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด, วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร, กรุงเทพฯ: 2548
- ↑ 1.0 1.1 "โสดาบัน 3". พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. 4 มกราคม 2548. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)